| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 63 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-11-2549    อ่าน 11283
 เปิดแผนการลงทุนรถไฟฟ้า 5 สาย ไมตรี ศรีนราวัฒน์

"ไมตรี ศรีนราวัฒน์" ข้ามห้วยจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มารับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา ช่วงจังหวะเดียวกันกับที่เพื่อนร่วมรุ่นวิศวะจุฬาฯ "พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล" นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพอดิบพอดี

พร้อมๆ กับได้รับความไว้วางใจให้ปรับแผนการลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ จากแผนแม่บทเดิม 7 สาย ระยะทาง 291 กิโลเมตร วงเงินลงทุนกว่า 5.5 แสนล้านบาท เหลือ 3 สาย คือ สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สีแดง ช่วงพญาไท-ยมราช-บางซื่อ-รังสิต และสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 82 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1.61 แสนล้านบาท

ฤดูโยกย้ายเพิ่งผ่านมาหยกๆ แม้การเมืองจะเปลี่ยนขั้ว แต่ "ไมตรี" ยังคงรั้งเก้าอี้ ผอ.สนข. ตามเดิม เพื่อสานต่อแผนการลงทุนรถไฟฟ้าที่ปรับใหม่ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพิ่มเป็น 5 สาย ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1.65 แสนล้านบาท

และนี่คือพิมพ์เขียวแผนการดำเนินการโครง การรถไฟฟ้า ที่ สนข.ในฐานะแม่งานจะผลักดันให้ฝันกลายเป็นจริงขึ้นมา

- ทำไมเป็น 5 สาย ใช้หลักเกณฑ์

เมื่อรัฐบาลเปลี่ยน รมช.คมนาคม (นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม) ซึ่งกำกับดูแลงานส่วนนี้อยู่ มอบหมายให้ สนข.ไปพิจารณาสิ่งที่จะต้องดำเนินการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเดินทาง ช่วยประหยัดน้ำมัน แก้ปัญหาการจราจร ลดมลพิษ และได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม

ให้ไปทบทวนโครงการโดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง เป“นความพอเพียงอย่างมีเหตุผล ซึ่งเราเห็นว่าโครงการรถไฟฟ้าตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา ทั้ง 3 สาย วงเงินลงทุน 1.63 แสนล้านบาท สามารถทำใหม่ได้เป็น 5 สาย

หลักคิดใหญ่ๆ คือ มุ่งแก้ปัญหาใหญ่การจราจรติดขัด และน้ำมันที่แพงขึ้น โดยใช้หลักการรัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน รัฐลงทุนงานโยธาและราง ส่วนรถไฟฟ้าและระบบอาณัติสัญญาณให้เอกชนลงทุน นั่นคือความคิดที่เปลี่ยนไป 1 เรื่อง

อีกเรื่องคือ รถไฟของการรถไฟฯ จะเชื่อมต่อกับสนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-รังสิต เป็นรถไฟในเมือง และมี express ที่สถานีมักกะสัน โดยวิ่งไม่หยุดไปจนถึงดอนเมือง เชื่อม 2 สนามบิน คือ สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองได้สะดวกยิ่งขึ้น ปัญหาคือ รถไฟไทยที่เดินทางจากภาคเหนือ อีสาน เมื่อเข้ามากรุงเทพฯแล้ว จะเข้ามาในส่วนของรังสิตและหัวลำโพง ต้องใช้เวลานาน 2-3 ชั่วโมง เพราะติดรถที่วิ่งอยู่

รัฐบาลเดิมไม่ได้แก้ปัญหานี้ แม้โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เสร็จ ก็ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มที่ตั้งใจ เพราะดอนเมืองยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ แนวคิดใหม่รัฐบาลชุดนี้จะยกระดับรางที่เป็น มิเตอร์เกตไว้ข้างบน มีทั้งระบบรถไฟดีเซลราง และรถไฟฟ้า เมื่อยกขึ้นแล้ว ทำให้รถไฟชานเมือง รถไฟทางไกลวิ่งเข้าในเมืองมากขึ้น เป็นประโยชน์กับประชาชนที่เดินทางมาจากภาคเหนือและอีสาน

- จะใช้โครงสร้างโฮปเวลล์เดิม

ใช้ด้วยครับ ทำให้ลงทุนน้อยลง และจากที่ให้เอกชนร่วมลงทุนระบบรถไฟฟ้า ประหยัดงบประมาณได้ 4 หมื่นล้านบาท จะนำเงินที่เหลือลงทุนเพิ่ม 2 สาย คือ สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สำโรง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่

- รัฐบาลชุดนี้จะก่อสร้างได้ทุกสายไหม

คงจะไม่ทุกสายหรอก จะทันก่อสร้างได้บางเส้น เพราะระยะเวลาแค่ 1 ปี คงทันแค่เปิดประมูล หลังจากที่ทำประชาพิจารณ์ 2 เดือน และออกแบบรายละเอียด 4 เดือนแล้ว ตอนนี้กำลังประเมินค่าจ้างจ้างที่ปรึกษาที่จะมาออกแบบ 3 สายทาง คือ สีน้ำเงิน สีเขียวเข้ม และเขียวอ่อน เพราะ กทม.ยังไม่ได้ออกแบบรายละเอียด

- สายไหนที่จะเริ่มก่อน

จะทำก่อนหรือหลัง เรามองที่ความพร้อม คิดต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ชุดนี้เน้นความโปร่งใสชัดเจนทั้ง 5 สาย สายไหนเป็นทางวิ่งยกระดับไม่มีปัญหาด้านเทคนิค ให้ออกแบบรายละเอียดเลย และให้ผู้รับเหมาสู้ราคากัน จะประหยัดเงินได้อีก

สายที่จะเริ่มประมูลก่อน คือ สีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เพราะมีแบบรายละเอียดอยู่แล้ว ก่อสร้างได้เลย ไม่ต้องรอให้จบกระบวนการกฎหมายร่วมทุน ส่วนการเดินรถที่ต้องให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบสัมปทาน คาดว่าน่าจะใช้เวลา 3 เดือน ให้ ครม.เห็นชอบในหลักการ ซึ่ง รฟม.จะต้องทำเรื่องกฎหมายร่วมทุนเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบตั้งคณะทำงานขึ้นมา ทำควบคู่กันไประหว่างงานโยธากับสัมปทานเดินรถ ซึ่งจะพอดีกับที่งานก่อสร้างเสร็จ เพราะตามขั้นตอนของกฎหมายร่วมทุนใช้เวลา 1-2 ปี การก่อสร้างใช้เวลา 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี

- ใช้วิธีการร่วมทุนจะเอื้อกับเอกชนรายเดิม

ไม่เอื้อหรอก เราจะเสนอให้เอกชนเข้ามาแข่งขันกันอย่างเต็มที่ เป็นการเสนอเงื่อนไขที่ดีในการให้สัมปทาน ขึ้นอยู่กับว่าใครเสนอดี เจ้าเดิมมีสิทธิ์เข้าประมูลได้ ไม่ได้ตัดสิทธิ์ ไม่มีทางว่าจะเอื้อให้รายหนึ่งรายใด การตัดสินทุกเรื่องเปิดเผยให้คนเข้ามารับรู้

- เอกชนดูแล้วมีบางสายไม่คุ้มลงทุน

ถ้าไม่มีคนมาเสนอการเดินรถไฟฟ้า รัฐก็ไม่ ฝืน เมื่อเขาคิดว่าลงทุนแล้วไม่คุ้ม เพราะเกรง ว่าคนจะมาใช้บริการไม่มาก ก็ชะลอสายนั้น ออกไปได้

- วิธีการประกวดราคา

จะทยอยแต่ละสายตามความพร้อม คงจะไม่ประกวดราคาทีเดียว 5 สาย และใน การเปิดประกวดราคาก่อสร้าง ทั้งสายสัญญาเดียวจะไม่มีการแบ่งย่อย เพราะการก่อสร้างจะวุ่นวาย และไม่ต่อเนื่อง ส่วนรูปแบบประกวดราคาจะเป็นแบบ อินเตอร์บิด เปิดกว้างทั้งผู้รับเหมาไทยและต่างประเทศ จะไม่ใช้อีออกชั่นเพราะเป็นเงินกู้

- ต้องทำประชาพิจารณ์อีก ทั้งที่เคยทำมาแล้ว

ที่ต้องกลับไปทำประชาพิจารณ์ถามความคิดเห็นประชาชนอีก เพราะท่านนายกรัฐมนตรีอยากขอความเห็นอีกทีให้แน่ใจ และชัดเจนว่าเห็นดีด้วยที่จะให้ทำ เพราะรัฐบาลชุดที่แล้วดูจะเร่งรัด ซึ่งไม่น่าจะล่าช้า และเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

- แหล่งเงินมาจากไหนบ้าง

เป็นเงินกู้จากเจบิกเป็นหลัก ถ้าจำเป็นก็มีแหล่งอื่นๆ ซึ่ง ครม.ให‰กระทรวงการคลังจัดทำแผนการเงิน แต่รัฐบาลชุดที่แล้วรถไฟฟ้าซื้อต่างประเทศ อาจจะใช้เงินกู้มากกว่าเงินไทย งานโยธาส่วนใหญ่ใช้วัสดุในประเทศ เงินกู้และในประเทศ 50 : 50

- สายอื่น เช่น สีชมพู เหลือง ส้ม สีม่วง ส่วนที่ไปราษฎร์บูรณะ

สายที่เหลือจะเริ่มได้ช้า เพราะยังไม่มีการศึกษาและออกแบบ และส่วนใหญ่ผ่านชุมชน ต้องทำใต้ดิน ใช้เงินก่อสร้างสูง กำลังจะคุยกับ กทม.ให้ทำเป็นรถเมล์ด่วนบีอาร์ทวิ่งไปก่อน เช่น สายสีชมพู เพราะมีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะอยู่

- งานที่จะเร่งรัดต่อไป

จะเป็นลอจิสติก เพราะเป็นเรื่องใหญ่มากกระทบขีดความสามารถของประเทศ โดยเฉพาะต้นทุนของภาคเอกชน เมื่อเร็วๆ นี้รมช.สรรเสริญเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม มาหารือร่วมกัน กำลังจะเข้าไปดูให้เห็นชัดๆ ว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้างในรัฐบาลชุดนี้ รวมทั้งปูพื้นฐานในรัฐบาลชุดต่อไป

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 13-11-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.