| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 54 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 06-11-2549    อ่าน 12205
 กม.อ้อนทุนหมื่นเดียวตีตั๋วซิวงานไทย รับเหมาต่างชาติบุกเงียบปูพรมประมูล

รับเหมาต่างชาติเขย่าวงการรับเหมาไทย รุกเงียบยึดหัวหาดครองตลาดงานภาครัฐ-เอกชนแบบไม่ไว้หน้าเจ้าถิ่น เผยบางรายทำตัวเป็นนายหน้าอาศัยจุดแข็งทุนหนาเสนอตัวประมูลงานแล้วให้รับเหมาไทยซับงานต่อ วิศวกรรมสถานฯชี้ต้นเหตุมาจากรัฐบาล "ทักษิณ" ยกเลิก พ.ร.บ.วิชาชีพก่อสร้าง ต่างชาติเจียดเศษเงินแค่หมื่นเดียวจดทะเบียนตั้งบริษัทรับงานได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ ทำรับเหมาไทยโดนบี้หนัก จี้รัฐฟื้นกฎหมายคุมเข้มก่อนสายเกินแก้

ต่างชาติยังเคลื่อนไหวลงทุนธุรกิจหลากหลายสาขาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นอกจากจะมาถือหุ้นในบริษัทพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ ร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทย รวมทั้งแฝงตัวเข้ามาลงทุนโดยให้คนไทยเป็นผู้ถือหุ้นแทน (นอมินี) ที่เวลานี้กลายเป็นปมปัญหาที่หลายหน่วยงานกำลังหาทางแก้ไข ที่น่าจับตามองอีกกรณีหนึ่งคือการรุกคืบเข้ามาลงทุนในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของบริษัทรับเหมาต่างชาติรายกลางและรายเล็ก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ จากเดิมที่เข้ามาเฉพาะรายใหญ่ ส่งผลให้การแข่งขันรับงานในวงการรับเหมาก่อสร้างทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า สถิติการอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 แยกตามประเภทธุรกิจและประเทศที่เข้ามาลงทุน ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2543 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549 ของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า มีบริษัทต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจก่อสร้าง บริการทางวิศวกรรม และบริการเป็นที่ปรึกษาโครงการให้ภาครัฐ รวมทั้งสิ้น 348 บริษัท

แยกเป็น ญี่ปุ่น 170 บริษัท สิงคโปร์ 9 บริษัท เยอรมนี 30 บริษัท ฮ่องกง 3 บริษัท สหราชอาณาจักร 19 บริษัท สหรัฐอเมริกา 6 บริษัท เกาหลี 25 บริษัท ฝรั่งเศส 14 บริษัท สวิตเซอร์แลนด์ 2 บริษัท เนเธอร์แลนด์ 1 บริษัท และอื่นๆ คือ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน 69 บริษัท

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ บริษัทต่างชาติโดยเฉพาะรายกลางและรายเล็กเคลื่อนย้ายเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวนมาก ทั้งรับเหมาก่อสร้างโครงการของภาครัฐและงานเอกชน อย่างเช่น บริษัท เอส.ที.เอ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด รับงานก่อสร้างอาคารสำนักงานประกันสังคม จังหวัดสมุทรปราการ ขณะที่บางรายเสนอตัวประมูลงานแล้วให้ผู้รับเหมาไทยรายเล็กซับงานอีกทอดหนึ่ง เป็นต้น

นายไกร ตั้งสง่า อุปนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) กล่าวว่า การเข้ามาของกลุ่มผู้รับเหมาจากต่างชาติ อาทิ จีน มาเลเซีย ฯลฯ ทำให้การแข่งขันในธุรกิจรุนแรงมากขึ้น ประมาณการว่าปัจจุบันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 200 ราย โดยเฉพาะงานก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรส่วนใหญ่เป็นผู้รับเหมาต่างชาติแทบทั้งนั้น

ประเด็นก็คือ ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการยกเลิก พ.ร.บ.วิชาชีพก่อสร้าง พ.ศ.2522 ที่เป็นกฎหมายสำคัญในการจัดระเบียบผู้รับเหมาต่างชาติที่จะเข้ามา คือ ไม่มีการกำหนดทุนจดทะเบียน หรือบุคลากรว่าต้องมีวิศวกรคุมงานที่ได้รับใบอนุญาตกี่คน ทำให้ปัจจุบันผู้รับเหมาต่างชาติสามารถเข้ามารับงานได้ง่ายมาก เพียงแค่มีเงิน 10,000 บาท ว่าจ้างทนายดำเนินการจดทะเบียนโดยใช้บริคณห์สนธิก็สามารถดำเนินธุรกิจอะไรก็ได้ในประเทศไทย เท่ากับเพียงแค่ถือกระเป๋าเข้ามาใบเดียวและมีทีมงานอีกไม่กี่คน ต่างจากผู้รับเหมาไทยที่จะเข้าไปรับงานในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ต้องจดทะเบียนและทำตามเงื่อนไขที่กำหนดอย่างเข้มงวด

เมื่อไม่มีการควบคุมที่เข้มงวด ปัจจุบันผู้รับเหมาต่างชาติที่เข้ามาส่วนใหญ่จึงดำเนินธุรกิจในลักษณะ "นายหน้า" เท่านั้น และมาซับงานต่อให้กับผู้รับเหมาไทย เท่ากับผู้รับเหมาไทยต้องเสียโอกาสไปโดยปริยาย ขณะที่ผู้รับเหมาต่างชาติก็ได้ค่าหัวคิวและยังได้สิทธิ์คุมงานอีกด้วย

ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาเบื้องต้นจึงต้องมีการรื้อฟื้น พ.ร.บ.วิชาชีพก่อสร้าง พ.ศ.2522 หรือออกกฎหมายใหม่เข้ามาจัดระเบียบผู้รับเหมาต่างชาติ นอกจากนี้อยากเสนอให้มีการจัดตั้งกระทรวงก่อสร้างเพื่อเป็นเจ้าภาพในการดูแลนโยบายที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการก่อสร้างมากถึง 17 กรม อาทิ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง เป็นต้น คล้ายๆ กับหน่วยงาน "สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร" ที่เป็นหน่วยงานกลางดูแลเรื่องนโยบายการขนส่งทั้งหมด

"กรณีเรื่องทีโออาร์โครงการรถไฟฟ้า 3 สายที่มีแผนก่อสร้างก็เหมือนกัน ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่เอื้อประโยชน์กับผู้รับเหมาต่างชาติ เช่น กำหนดคุณสมบัติผู้รับเหมาจากต่างประเทศที่จะเข้ามาร่วมประมูลงานในลักษณะกิจการร่วมค้า สามารถเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้ ตรงนี้ผมมองว่าเป็นการเอื้อต่างชาติ ล่าสุดผมเพิ่งยื่นเรื่องในนามชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตยที่ผมเป็นรองประธานชมรมอยู่ ปัจจุบันมีสมาชิกเกือบ 300 ราย เพื่อให้ทบทวนร่างทีโออาร์ โดยเสนอให้ผู้รับเหมาต่างชาติต้องจดทะเบียนในประเทศไทยและต้องให้ผู้รับเหมาไทยเป็นผู้ถือหุ้นหลักด้วย"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลของบริษัทรับเหมาต่างด้าวในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีการยื่นขอจัดตั้งบริษัทใหม่กับกระทรวงพาณิชย์จำนวนมาก อาทิ บริษัท ไชน่า ไห่ปิน คอนสตรัคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ทุนจดทะเบียน 568 ล้านบาท มีนายไห่ เจียง เมิ่ง เป็นกรรมการ บริษัท เอส.ที.เอ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท นายเฉิน หนิง และนางสาวพรนภา ลาบา เป็นกรรมการ

บริษัท เอ็มอาร์ซีบี (ประเทศไทย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท นายโมห์ นอร์ บิน อับดุล การิม และนายโฮ กัท หมิง เป็นกรรมการ บริษัท บิลเลี่ยน ไทย กรุ๊ป จำกัด ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท นางสาริกา เฉิน และนายเฉิน ซื่อ ปิง เป็นกรรมการ บริษัท ไชน่า เทียนเฉิน เคมีคอล เอ็นจิเนียริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท นายซุ่น แย่, นายโจว หมิง เซิน, นายเกา เหยียน ตง เป็นกรรมการ

บริษัท คอนสตรัคชั่น เอ็มจีที. แอนด์ ดีอีวี. (ประเทศไทย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท นายเจมส์ เบอร์นาร์ด ซัลเตอร์ เป็นกรรมการ บริษัท ดับบลิวซีเค คอนซอร์เตียม (ไทยแลนด์) จำกัด ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท นายลี ไล พัง นายยอง ซูง ลอย นายโฮ ยิท ซิออง และนายวอง ตั๊ก เวย เป็นกรรมการ บริษัท ดีมาร่า (ไทยแลนด์) จำกัด ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท นายอัง เคียม ไชย นายโฮ ยิท ซิออง นายลี กัต ชอย นายตัน ชิน ฮวด และนายวอง ตั๊ก เวย เป็นกรรมการ

บริษัท เบลล์วอเตอร์ (เอเชีย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท นายโจนาธาน มาร์ค พริชาร์ด นายแอนโทนี่ จอห์น สลาตเตอร์

นายบรูซ ทราเวอร์ แมคแน็ป และนายจอห์น อเล็กซานเดอร์ เคลลี่ เป็นกรรมการ บริษัท แอล ดับบลิว ซี อัลลิแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท นายฟุง จอห์น จู-หนิง เป็นกรรมการ

บริษัท หัวซิน คอนสตรัคชั่น จำกัด ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท นายหวี้ หย่ง ซิง เป็นกรรมการ บริษัท ไชน่า ชิงหลง คอนสตรัคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาทนายเอดเวร์ด ชิง หัว หยู และนายสุวิเชียร ผ่องนัยเลิศ เป็นกรรมการ

บริษัท กว่างเซี่ย พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท นายจัง ชวน ฟัง นายสุวิเชียร ผ่องนัยเลิศ และนายพัน สิง หมิง เป็นกรรมการ

บริษัท ไชน่า จงต้า วิศวโยธา (ประเทศไทย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท นายจัง ชวน ฟัง นายหู เจีย ติ้ง นายหู ปิน และนายสุวิเชียร ผ่องนัยเลิศ เป็นกรรมการ

บริษัท ไทย เฉน หยู อินเตอร์เนชั่นแนล คอนสตรัคชั่น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท นางสาวสุภาวิดา คงสุข และนายดวน เลียน เป็นกรรมการ บริษัท คอนสตรัคชั่น เอ็มจีที. แอนด์ ดีอีวี. (ประเทศไทย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท นายเจมส์ เบอร์นาร์ด ซัลเตอร์ เป็นกรรมการ

แหล่งข่าวจากผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดเผยว่า ผู้รับเหมาจีนเริ่มเข้ามารับงานก่อสร้างในประเทศไทยนานหลายปีแล้วแต่เป็นเฉพาะรายใหญ่ๆ เช่น บริษัทไชน่าสเตท บริษัทไชน่าฮาเบอร์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะมารับงานขนาดใหญ่ของรัฐบาลและเอกชน โดยร่วมกับผู้รับเหมาไทย เช่น บริษัทกำแพงเพชรวิวัฒน์ฯ บริษัทซีวิลฯ เป็นต้น แต่มาในระยะหลังๆ นี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีบริษัทรับเหมาจีนรายเล็กๆ เข้ามารับงานก่อสร้างมากขึ้น

ส่วนใหญ่จะรับงานภาคเอกชนเป็นหลัก เป็นงานก่อสร้างอาคาร เช่น โรงเรียน จะร่วมกับผู้รับเหมาไทยหรือไม่ก็ซับงานจากผู้รับเหมาไทย ส่วนงานราชการจะเข้ายาก เพราะจะมีกฎเกณฑ์ในแง่กฎหมายเยอะ เช่น ต้องมีผู้รับเหมาไทยถือหุ้นด้วย 51% เป็นต้น

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้รับเหมาจีนเข้ามารับงานในประเทศไทยมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะว่าค่าแรงงานในประเทศจีนขณะนี้ค่อนข้างต่ำ และมีการแย่งงานกันมาก และบริษัทรับเหมาส่วนใหญ่เป็นบริษัทของรัฐบาล เพราะประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มีประชากรมากที่สุด ซึ่งในรูปแบบที่เข้ามามีทุกรูปแบบ จะมีทั้งที่เป็นกรรมกรและมาควบคุมงานก่อสร้าง แต่จะมีปัญหาคือ งานก่อสร้างจะไม่ได้มาตรฐาน

นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กล่าวว่า เท่าที่ทราบผู้รับเหมาจีนที่เข้ามารับงานในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็กๆ ส่วนใหญ่มารับงานจากภาคเอกชน ประเภทงานอาคาร ที่ผ่านมามีบางรายจะมาขอจดทะเบียนมาเป็นสมาชิกในสมาคม แต่ไม่ได้ เพราะเป็นบริษัทต่างชาติ

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อตลาดรับเหมาก่อสร้างไทยแต่อย่างใด แต่ถ้าหากยังมีเพิ่มขึ้นอีก คาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างแน่นอนในการมาแย่งงานของผู้รับเหมาไทย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 06-11-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.