| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 89 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 30-10-2549    อ่าน 11647
 เปิดใจเจ้าพ่อโทลล์เวย์ สมบัติ พานิชชีวะ "วันนี้ผมยังรอเวลาและโอกาส"

ก่อนที่จะปิดฉากสนามบินดอนเมือง ในวันที่ 28 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา เพื่อย้ายไปที่ใหม่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ผู้บริหารบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานโทลล์เวย์ ได้คาดการณ์กันไว้ล่วงหน้าแล้วว่า บริษัทได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามากน้อยแค่ไหน ต้องรอให้สนามบินสุวรรณภูมิเปิดใช้อย่างเป็นทางการ

วันนี้เวลาผ่านไป 1 เดือนแล้ว สถานการณ์ของโทลล์เวย์เป็นยังไง "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "สมบัติ พานิชชีวะ" กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ในเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิและทิศทางของบริษัทที่จะก้าวเดินต่อไปในอนาคต

- รู้ล่วงหน้ามั้ยว่าสนามบินดอนเมืองจะย้าย

สมัยก่อนไม่มีใครรู้ รู้แต่ที่พูดกันว่าหนองงูเห่า พูดกันมา 40 ปี ไม่คิดว่าจะจริงจัง มารู้จะเกิดจริงๆ เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว ที่รัฐมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาว่าจะสร้างสนามบิน แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก ประเด็นหลักที่โทลล์เวย์ย่ำแย่เพราะรัฐทำอะไรไม่คิดถึงบริษัททำให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่ว่าจะสร้างทางแข่งขันขึ้นมาโดยไม่ต้องเสียเงิน เป็นการแข่งขันแบบไม่เป็นธรรม

- วันนี้สถานการณ์บริษัทเป็นยังไงบ้าง

รายได้ลดไปอย่างที่คิดไว้ ซึ่งลดมากจากที่คาดคะเนไว้ ก่อนที่ย้ายสนามบินดอนเมือง รายได้ของบริษัทอยู่ที่ 3.3 ล้านบาทต่อวัน เมื่อสนามบินย้ายไป วันนี้ตกเหลือ 2.4 ล้านบาทต่อวัน หายไปประมาณ 9 แสนบาทต่อวัน เฉลี่ย 27% หรือประมาณ 30,000 คันต่อวัน จากเดิมที่ปริมาณรถที่มาใช้โทลล์เวย์อยู่ที่ 129,000 คันต่อวัน

ผ่านมา 1 เดือน คิดแล้วรายได้หายไป 27 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นปี หายไป 324 ล้านบาท ถือว่าเยอะมาก หายไป 27% ตอนเริ่มต้นย้ายไปใหม่ๆ ไม่มากประมาณ 22% แต่ทุกวันรถก็หายไปเรื่อยๆ ที่หายไปเพราะรถไม่วิ่งบนโทลล์เวย์ ไปวิ่งข้างล่างแทน เพราะเมื่อสนามบินย้ายการจราจรข้างล่างก็โล่ง

ผมนะนั่งดูบัญชีรายได้ทุกวัน ตั้งแต่วันแรกที่สนามบินดอนเมืองย้ายไปสุวรรณภูมิ วันแรกรายได้หายไป 6 แสนบาท วันที่สองหายไป 7 แสนบาท วันที่สามหายไป 8 แสนบาท และมาล่าสุดหายไป 9 แสนบาท รายได้หายไปเรื่อยๆ ผมดูแล้วก็ใจหาย เพราะเป็นธุรกิจ คิดแต่ว่าแย่แล้ว แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่มีแผนรองรับและแก้ไขอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดค่าใช้จ่าย เพราะโทลล์เวย์ไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ ที่จะสามารถรัดเข็มขัดได้

- ประเมินดูแล้วสถานการณ์จะเป็นยังไงต่อไป

ยังไม่ได้ประเมินเลย ผมไม่รู้ว่า 1 เดือนที่ผ่านมานี้ ถือว่าอิ่มตัวหรือยัง ไม่รู้ว่าเดือนหน้านี้รถจะหายไปอีกเท่าไหร่ จะมากหรือน้อยกว่านี้หรือเปล่า ยังประเมินไม่ได้ แต่ดูแล้วถ้าหายคงจะไม่มากเท่าไหร่

- จะแก้ปัญหายังไง

ไม่มีอะไรที่ปรับได้ เพราะมันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ คงต้องดูต่อไป ผมไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน รอเวลาให้การจราจรเติบโตเองตามธรรมชาติ หวังว่าสนามบินดอนเมืองทางรัฐบาลจะนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งหนึ่ง

- เปิดดอนเมืองอีกครั้งสถานการณ์บริษัทจะกลับมาเหมือนเดิม

คงไม่เท่าเดิม แม้ว่าสนามบินดอนเมืองจะเปิดใช้อีกครั้ง จะทำอะไรก็ตาม ปริมาณรถคงไม่กลับมาเท่าเดิม ที่รัฐบอกว่าจะเป็นสนามบินของโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ซึ่งก็มีวันละไม่กี่ไฟลต์ รถคงไม่มากเท่าไหร่ เพราะดูแล้วคนมาใช้โทลล์เวย์คงไม่มาก

- แต่ช่วยให้บริษัทดีขึ้น

ใช่ แต่คงไม่มาก ขึ้นอยู่กับแผนการพัฒนาของรัฐด้วย จะใช้สนามบินดอนเมืองทำอะไรต่อไป ถ้าเป็นประโยชน์และสามารถดึงคงมาใช้บริการมากๆ จะทำให้รถที่มาใช้โทลล์เวย์มากขึ้นด้วย เราจะได้ผลพวงจากตรงนี้ ซึ่งตรงนี้อาจจะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสของเราได้ แต่ความหวังคงมีไม่มากนัก

- จะปรับแผนการตลาดบ้างมั้ย

ธุรกิจโทลล์เวย์คงไม่มีอะไร ไม่เหมือนธุรกิจขายของ มันอยู่เฉยๆ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ใช้บริการ คนอยากใช้ก็มา ไม่ใช้ก็ไม่ต้องมา คนที่มาใช้เพราะเดินทางไปทางเหนือ คนที่ไม่ไปแถมอะไรให้เขา เขาก็ไม่มาใช้ มันไม่เหมือนกับธุรกิจอื่น เป็นธุรกิจอยู่กับที่ บริการที่ตายตัว ยิ่งขณะนี้บริษัทย่ำแย่ คนที่มีทางเลือกจะลงใช้ข้างล่าง นอกจากคนที่อยากจะไปเร็ว ขับรถให้สบายใจ เพราะข้างบนขับเรียบ ขับสบายไม่เครียด กะเวลาที่แน่นอนได้ ตอนนี้ไม่มีแผนจะทำการตลาดอะไรได้ ต้องอยู่เฉยๆ รอโอกาส แต่ก็โชคดีที่มีศูนย์ราชการที่ถนนแจ้งวัฒนะเข้ามา คงจะช่วยได้บ้าง แต่ถ้าจะให้โชคดีมากกว่านี้ ถ้ามีการพัฒนาทางโซนเหนือมากขึ้น

- ผู้ถือหุ้นว่ายังไงและเสนอแนะอะไรบ้าง

ไม่ได้ว่าอะไร เขาก็ถาม ผมก็ตอบแบบนี้ เหมือนกับที่บอกกับสื่อมวลชน จะตอบอย่างอื่นได้ยังไง เพราะสถานภาพเป็นแบบนี้ ไม่มีการเสนอแนะอะไร เพราะมันทำอะไรไม่ได้จริงๆ

- มีใครจะขายหุ้นทิ้งบ้างเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้

มี แต่ไม่มีคนซื้อ ทุกคนอยากจะขาย ผมเองก็อยากขาย ถ้าได้ราคาที่เหมาะสม ตลอดเวลาที่คุยกันมา ผมอยากได้เงินทุนคืน จากที่ผมลงทุนไปแล้ว ปัจจุบันราคาหุ้นอยู่ที่ 3 บาท ก็ไม่มีคนซื้อ อาจจะเป็นเพราะโครงการไม่มีอนาคต

- คุณสมบัติอยากจะทิ้งธุรกิจนี้

ก็อยากทิ้ง แต่ไม่รู้จะสลัดทิ้งยังไง คิดไปไม่มีประโยชน์ จะขายให้รัฐ รัฐจะซื้อถูกๆ ไม่เป็นธรรม สมัยคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ราคา 6 บาท ตอนนี้ผมก็รอดูโอกาส ถ้าขายได้ราคาผมก็ขาย แต่ถ้ารัฐอนุมัติตามที่บริษัทได้ทำบันทึกข้อตกลงกับกรมทางหลวง ผมจะมีความหวังมากๆ เพราะจะได้ขยายอายุสัมปทานไปอีกเป็น 27 ปี จากเดิมที่เหลืออยู่ 16 ปี ซึ่งจะเป็นรายได้ระยะยาวเข้ามา กินถึงรุ่นหลาน เพราะต่อไปโดยธรรมชาติเศรษฐกิจโต คนเดินทางไปทางเหนือจะมากขึ้น แต่ต้องรอเวลา

แต่อย่างน้อย ผมก็ภูมิใจ ได้ทำประโยชน์ให้กับบ้านเมือง ประชาชน ในการสร้างทางให้คนเดินทางสะดวกขึ้น ไปไหนมาไหนไม่เครียด เมื่อก่อนถ้าไม่มีโทลล์เวย์ คนไปทางเหนือเป็นง่อยไปแล้ว เมื่อ 15 ปีก่อน ไปสนามบินดอนเมืองใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง ลำบากยากเข็ญแค่ไหน ผมนึกถึงวันนี้แล้ว ก็มีความภูมิใจ นักท่องเที่ยวมาลงดอนเมืองรำคาญมากกว่าจะถึงโรงแรม มีโทลล์เวย์ใช้เวลาเดินทางแค่ 30 นาที

- จะเซ็นเอ็มโอยูกับกรมทางหลวงเมื่อไหร่

ยังไม่รู้เลย ต้องรอให้รัฐบาลอนุมัติรายละเอียดที่ได้ทำร่วมกับกรมทางหลวงเสียก่อน ซึ่งขณะนี้ให้ทางอัยการตรวจร่างสัญญาอยู่ ในรายละเอียดกรมทางหลวงจะยืดอายุสัมปทานให้เป็น 27 ปี แลกกับที่บริษัทลดค่าผ่านทางให้ เรื่องการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่บริษัทเรียกร้องไปก็จะหมดไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นผลเสียหายจากการที่รัฐสร้างถนนโลคัลโรด ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด สะพานข้ามแยกลาดพร้าว เป็นต้น ทุกอย่างเป็นอันเลิกแล้วกันไปที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา มาเริ่มต้นกันใหม่

- ภาระหนี้ของบริษัท

ตอนนี้เรามีหนี้อยู่ประมาณ 10,500 กว่าล้านบาท ขาดทุนสะสม 5,000 กว่าล้านบาท ซึ่งเราได้ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว ชำระหนี้ใน 15 ปี นับจากปี 2549 เป็นต้นไป จ่ายดอกเบี้ยปีละ 600 ล้านบาท เงินต้นช่วงปีแรกจะค่อนข้างถูก ปีละ 50 ล้านบาท แต่ปัจจุบันรายได้ของบริษัทลดลงมาก จากผลกระทบการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ เหลือ 876 ล้านบาท จากเดิมที่เคยได้ 1,200 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ หมดแล้ว รวมถึงค่าเสื่อมปีละ 200 ล้านบาท จะเหลือเงินประมาณ 20 กว่าล้านบาทเท่านั้นในแต่ละปี ดูแล้วปีนี้ทั้งปีบริษัทจะขาดทุน

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 30-10-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.