| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 111 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-10-2549    อ่าน 11821
 สิรวัต จันทรัฐ บิ๊กกรมบังคับคดี "ยอดขายทอดตลาดทะลุเป้า 1.8 แสน ล.แล้ว"

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมหาศาล ถึงขณะนี้กระบวนการในการแก้ไขปัญหาหนี้ก็ยังไม่สิ้นสุด และอาจต้องใช้เวลาอีกนานหลายปี

กรมบังคับคดี เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยลดความสูญเสียอันเป็นผลพวงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ จนได้รับการยอมรับและกลายเป็นหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักของสาธารณชนในวงกว้างมากขึ้นตามลำดับ จากภาระหน้าที่หลักที่ต้องเร่งระบายทรัพย์สินที่ถูกยึดทรัพย์บังคับคดีคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท เพื่อประโยชน์ของทั้งลูกค้า เจ้าหนี้ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจโดยรวม

"สิรวัต จันทรัฐ" อธิบดีกรมบังคับคดี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ แผนงาน และนโยบายของกรมบังคับคดี ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

- นโยบายในการบริหารงานกรมบังคับคดี

จริงๆ แล้วภารกิจหลักเรามีหลายอย่าง ต้องบังคับคดีทั้งคดีแพ่ง คดีล้มละลาย ดูแลเรื่องเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การยึดทรัพย์บังคับคดี และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ที่ผ่านมาก็พยายามปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เน้นความโปร่งใส รวดเร็ว และเป็นธรรม หมายถึงว่าทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องได้รับความเป็นธรรม

ที่ผ่านมาเคยมีข่าวว่าเราทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เพราะถูกยึดทรัพย์บังคับคดี ทำให้ไม่มีที่อยู่อาศัย แต่ต้องเข้าใจว่าเราทำตามหน้าที่ และพยายามให้ทุกฝ่ายได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็เห็นว่ามีความจำเป็น

- ต้องพยายามทำความเข้าใจกับสาธารณชน

อย่างปีที่ผ่านมาเราจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนของการยึดทรัพย์บังคับคดี การขายทอดตลาดทรัพย์สิน และภารกิจต่างๆ ของกรมบังคับคดีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค คิดว่าสามารถสร้างความเข้าใจให้กับคนทั่วไปได้มาก และจะทำต่อไป เป้าหมายเพื่อให้กระบวนการที่ต้องดำเนินการไปตามกฎหมายมีความถูกต้อง และต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน

การขายทอดตลาดก็เช่นเดียวกัน เมื่อสาธารณชนรู้ข้อมูลข่าวสารในวงกว้าง ก็จะทำให้มีผู้สนใจเข้ามาประมูลซื้อมากขึ้น ช่วยให้สามารถขายทรัพย์สินได้ในราคาที่สูงขึ้น เป็นประโยชน์ทั้งกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ คือเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน ขณะที่ลูกหนี้ก็จะมีเงินเหลือหลังจากชำระหนี้แล้ว

- มีปัญหาร้องเรียนเรื่องการขายทอดตลาดมากน้อยแค่ไหน

ผมยืนยันได้ว่ามีน้อยมาก เท่าที่ทำงานที่กรมบังคับคดีมา 30 กว่าปี ปัญหาความไม่โปร่งใส ปัญหาคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นน้อยมาก เท่าที่จำได้มีไม่ถึง 10 รายด้วยซ้ำ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนิติกรที่เข้ามาทำงานที่กรมบังคับคดีส่วนใหญ่ต้องการไปอยู่ในสายงานผู้พิพากษา อัยการ ทำให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง และพยายามรักษาตัวไม่ให้มีปัญหา

- ผลการขายทอดตลาด

ที่ผ่านมาเรามีการปรับปรุงแนวทางและวิธีการในการขายทอดตลาดตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ และให้สามารถสนองความต้องการของผู้ซื้อทรัพย์สิน พร้อมๆ กับหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ เช่น ทรัพย์สินแต่ละรายการจะมีการกำหนดชัดเจนไปเลยว่า ราคาเท่าไหร่ขายได้ ราคาเท่าไหร่ไม่ขาย เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ปฏิบัติงานได้คล่องตัว เพราะมีมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่กำหนดไว้ชัดเจน

สำหรับยอดขายทรัพย์สินในรอบปีงบประมาณ 2549 เรามีเป้าหมายการขายที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) กำหนดตัวเลขไว้ให้ที่ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าขายได้ตามเป้า และเกินเป้าที่ตั้งไว้แล้ว ไม่รวมยอดขายในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ เพราะฉะนั้นถ้ารวมยอดขายทั้งปีเราน่าจะทำได้เกินเป้าพอสมควร ส่วนเป้าหมายยอดขายปี 2550 ขณะนี้ กพร.อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดให้

- เหลือทรัพย์สินรอขายอีกเยอะหรือเปล่า

ณ สิ้นเดือนสิงหาคมมีทรัพย์สินรอขายอยู่ประมาณ 1.94 แสนล้านบาท

- ภาวะเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน ดอกเบี้ยเป็นปัญหาต่อเป้า

ก็กระทบแน่นอน เพราะภายใต้สถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น คนซื้อส่วนใหญ่จะมีความระมัดระวัง บางส่วนก็ชะลอซื้อ นอกจากนี้ทรัพย์ดีๆ ก็เริ่มลดน้อยลงด้วย เพราะทรัพย์ที่คุณภาพดีๆ หรืออยู่ในทำเลดีๆ มักจะขายได้ก่อน สำหรับทรัพย์ที่สภาพไม่ค่อยดีและอยู่ในทำเลที่ไม่ดี ยอมรับว่ามีปัญหาในเรื่องของการขาย แต่ก็ต้องพยายามขายออกไป อาจจะได้ราคาต่ำบ้างก็ต้องยอม

- ร่วมมือกับสถาบันการเงินจัดขายทอดตลาดด้วย

เป็นอีกช่องทางหนึ่งครับ ปัจจุบันเราร่วมมือกับสถาบันการเงินหลายแห่ง แต่ละแห่งจะนำทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดขายทอดตลาดมาขาย โดยเสนอเงื่อนไขด้านการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ซื้อด้วย ก็ทยอยจัดเป็นระยะๆ หมุนเวียนกันไป ได้รับความสนใจจากลูกค้ามาก ถือเป็นการช่วยระบายทรัพย์สินรอการขายออกไป นอกจากนั้นเรายังจัดงานขายทอดตลาดในจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคด้วย

- ปัญหาการขายทอดตลาดห้องชุด

ก็ยังมีปัญหา เพราะห้องชุดที่ถูกยึดส่วนใหญ่มีปัญหาค้างค่าส่วนกลาง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดซื้อไปก็ต้องรับภาระจ่ายค่าส่วนกลาง แถมมีเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งบางครั้งวงเงินค่อนข้างสูง จริงๆ ผู้ซื้อไม่ยอมชำระก็โอนไม่ได้ จริงๆ เราพยายามทำความเข้าใจและให้นิติบุคคลอาคารชุดมายื่นขอชำระหนี้ก่อนจะขายทอดตลาด แต่ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือมากนัก

- ต้องแก้ไขระเบียบข้อกฎหมายส่วนไหนอีกบ้าง

อย่างการขอคืนภาษีของผู้ซื้อทรัพย์ เดิมเราจ่ายคืนภาษีค่อนข้างช้า เพราะต้องดำเนินการตามขั้นตอน เวลานี้กำลังหาทางแก้ไขโดยจะให้ผู้ซื้อไปเสียภาษีเงินได้เอง เช่น จะให้ราคา 10 บาทก็หักภาษีก่อน เป็นต้น จุดนี้กำลังหารือกันอยู่ จะเสนอแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ จากเดิมขายได้เฉพาะเวลาราชการ และต้องขออนุญาตเป็นรายกรณี ถ้าแก้ไขได้จะทำให้ขายทรัพย์สินได้เพิ่มขึ้น หรือหลังจากยึดทรัพย์ก็ต้องขออนุญาตขาย ก็เสนอแก้เป็นให้ขายได้เลยจะได้ช่วยลดขั้นตอน เป็นต้น

- ที่จะให้เอกชนมาช่วยขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือช่วยงานอื่น

ยังถูกคณะกรรมการกฤษฎีกาท้วงติงหลายอย่าง เช่น มอบหมายแล้วเอกชนอาจจะดำเนินการไม่โปร่งใส หรือไม่เป็นธรรม ซึ่งจะกระทบคู่ความในคดี หรือการให้เอกชนไปยึดทรัพย์ จะได้รับการยอมรับหรือเปล่า หรือขายทรัพย์ได้แล้วอาจหนีไปต่างประเทศ เป็นต้น ก็ต้องพิจารณากันอีก

- จัดเก็บค่าธรรมเนียมได้มากน้อยแค่ไหน

ปีนี้เราสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 3 พันกว่าล้านบาท สูงขึ้น จากปี 2548 ที่จัดเก็บได้ประมาณ 2.8 พันล้านบาท

- พื้นที่ไหนที่ขายทรัพย์ลำบาก

น่าจะเป็นต่างจังหวัด บางแห่งประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งแต่ไม่มีคนซื้อ สาเหตุที่พบ มีหลายอย่าง เช่น คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะรู้ว่าทรัพย์ที่ขายเป็นของใคร คือจะรู้จักกับลูกหนี้ และไม่อยากได้ชื่อว่าซื้อทรัพย์ของพรรคพวกหรือคนรู้จักกันในราคาถูก เลยไม่มีใครอยากซื้อ แต่จะรอให้เจ้าของเดิมคือลูกหนี้เป็นผู้ซื้อ จุดนี้ทำให้มีข้อจำกัด และไม่สามารถขายทรัพย์ได้ในราคาที่สูงมากนัก

ที่น่าห่วงอย่างมากคือพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เพราะหลังจากเกิดปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย ปรากฏว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลซื้อทรัพย์ขายทอดตลาดน้อยมาก ทำให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ประสบปัญหาด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะขายทรัพย์ได้ยาก กว่าจะเคลียร์หนี้สินทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยก็ต้องใช้เวลานาน

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 26-10-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.