| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 95 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-10-2549    อ่าน 11649
 งัดผังเมืองล้อมคอกชาวบ้านร้องเสียงดัง ทอท.ทุ่ม500ล.ซื้อจัดสรรยกโครงการ

ทอท.งัดมาตรการลดผลกระทบด้านเสียง จับมือกรมควบคุมมลพิษ-กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม-สายการบิน ส่งทีมลงสำรวจชุมชน รวมทั้งอาคารและสิ่งปลูกสร้างรอบ "สุวรรณภูมิ" สิ้นเดือนพฤศจิกายนประเมินผลกระทบทั้งพื้นที่ เล็งทุ่มงบฯ 500 ล้าน ซื้อบ้านจัดสรร-โรงงานในจุดที่เสียงดังเกินระดับ 40 เดซิเบล แบบยกโครงการ ยันพร้อมจ่ายชดเชย-ติดตั้งระบบป้องกันเพื่อแก้ปัญหา หลังชาวบ้านร้องเรียนถูกกระทบหนัก

แหล่งข่าวจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้น่าจะได้ข้อสรุปที่ ชัดเจนว่าจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลกระ ทบสิ่งแวดล้อมด้านเสียง และการจ่ายเงินชดเชยเพื่อซื้ออาคารและสิ่งปลูกสร้างในชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดใช้สนามบินแห่งใหม่เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง เพราะขณะนี้ ทอท. กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และบริษัทสายการบินต่างๆ กำลังอยู่ระหว่างประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น และปรับรูปแบบการขึ้นลงของเครื่องบินเพื่อลดมลพิษทางเสียงซึ่งต้องใช้เวลาทดลอง 2-3 สัปดาห์

ทั้งนี้ในส่วนของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง หาก บริเวณใดมีการประเมินแล้วเห็นว่าได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ก็จะให้ย้ายออกจากพื้นที่โดย ทอท. จะซื้อโดยจ่ายเงินชดเชยให้ เช่น ถ้าเป็นโครงการบ้านจัดสรรก็จะซื้อแบบยกโครงการ ยกเว้นกรณีเจ้าของอาคารไม่ยินยอมขายให้ แต่ถ้าได้รับผลกระทบไม่รุนแรงนัก ก็จะมีมาตรการช่วยเหลือ โดยหาทางลดระดับความดังของเสียง และจ่ายเงินชดเชยให้ตามหลักเกณฑ์ โดยเบื้องต้นได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้ 500 ล้านบาท

ในจำนวนนี้รวมถึงสถานที่ราชการ อาทิ อนามัย โรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ ทอท.จะซื้อหรือจ่ายเงินชดเชยให้ จะต้องปลูกสร้างก่อนปี 2544 ส่วนที่ปลูกสร้างหลังจากนั้นไม่อยู่ในข่ายจะซื้อหรือจ่ายค่าชดเชยให้

"เราต้องรอดูผลประเมินหลังจากทดลองรูปแบบการบินใหม่ก่อน ว่าสามารถลดผลกระทบได้มากน้อยแค่ไหน จากนั้นจะมาดูว่าควรจะชดเชยให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนอย่างไร ถ้าหากผลออกมายังมีเสียงดังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ทอท.จะต้องชดเชยด้วยการซื้อ แต่ถ้ายังสามารถอยู่ได้ และเจ้าของที่ดินไม่ต้องการขาย ก็จะแก้ไขปัญหาโดยจะให้ความช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการซื้ออาคารและสิ่งปลูกสร้างจากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จะซื้อคืนเฉพาะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือพื้นที่ในเขต NEF ที่ระดับเสียงมีความดังเกิน 40 เดซิเบล ส่วนพื้นที่อื่นๆ จะชดเชยในรูปแบบวิธีอื่นๆ เช่น ติดตั้งระบบผนังป้องกันเสียงหรือ hush house ซึ่งจะช่วยลดระดับความดังของเสียงได้ 30-60 เดซิเบล นอกจากนี้จะสร้างสวนสาธารณะ รณรงค์การปลูกต้นไม้ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานพยาบาลอีกทางหนึ่งด้วย

ตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวด ล้อม (อีไอเอ) ที่ก่อนนี้ ทอท.ได้จัดทำขึ้น มีการ ตั้งงบประมาณสำหรับการจ่ายค่าชดเชยในส่วนนี้ไว้แล้ว วงเงินประมาณ 500 ล้านบาท ประกอบด้วยวงเงินในการจ่ายค่าชดเชยด้วยการจัดซื้อและค่าโยกย้ายที่อยู่อาศัยให้กับชาวบ้านที่อยู่ในพื้น ที่เขต NEF เกิน 40 เดซิเบล วงเงิน 410 ล้านบาท กรณีในเขตพื้นที่ NEF 35-40 เดซิเบล วงเงิน 67.3 ล้านบาท โดยทาง ทอท.จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด (อ่านรายงานการสำรวจผลกระทบเพิ่มเติมหน้า 13)

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณที่ตั้งไว้ ขณะนี้ไม่มั่นใจว่าจะเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากสภาพปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก และในการจ่ายเงินชดเชยจะต้องให้ไม่น้อยกว่าต้นทุน และผลเกิดขึ้นกับผู้อยู่อาศัย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ใช้สอยด้วย ทั้งนี้จากการสำรวจเมื่อหลายปีก่อนพบว่าที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่มีมูลค่าประมาณ 1.8-2.4 ล้านบาท/หลัง แต่ปัจจุบันราคาน่าจะสูงขึ้น และอาจต้องประเมินราคาใหม่

สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวจะมีการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิใหม่ และนำมาตรการทางผังเมืองมาใช้ โดยไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากสนามบิน

"จริงๆ แล้วการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางเสียง ทอท.จะต้องดำเนินการก่อนสนามบินจะเปิดใช้ไม่น้อยกว่า 5 เดือน แต่ติดปัญหาไม่มีคนประสาน เพราะเดิมเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด หรือ บทม. เมื่อ บทม.ถูกโอนไปรวมกับ ทอท.ทำให้ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ทุกอย่างเลยล่าช้าจนถูกประชาชนร้องเรียน"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับรายงานอีไอเอ ที่เคยจัดทำขึ้น ระบุว่ามีอาคารสิ่งปลูกสร้างตั้ง อยู่ในพื้นที่เขต NEF เกิน 40 เดซิเบล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมาก มีอาคารอยู่อาศัย 49 อาคาร และอาคารโรงงาน 4 หลัง ในพื้นที่เขต NEF 35-40 เดซิเบล พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบปานกลางมีอาคารอยู่อาศัย 596 อาคาร โรงงาน 8 แห่ง ในพื้นที่เขต NEF น้อยกว่า 35 เดซิเบล มีที่อยู่อาศัย 1,731 อาคาร โรงงานและอาคารเก็บสินค้า 127 แห่ง

อาทิ หมู่บ้านมณสินี หมู่บ้านไต้ฮี้เพลส หมู่บ้านเคหะนคร 2 หมู่บ้านร่วมสุขวิลล่า หมู่บ้านร่มฤดี หมู่บ้านนครินทร์การ์เด้น หมู่บ้านจุลมาศวิลล่า หมู่บ้านสราญวงศ์ หมู่บ้านบางโฉลงหมู่ 6 หมู่บ้านกรีนวัลเลย์ หมู่บ้านพาราไดซ์การ์เด้น โครงการธนาซิตี้ คอนโดพูนเจริญ หมู่บ้านร่มสุขวิลเลจ 4 เป็นต้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 23-10-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.