| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 108 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-10-2549    อ่าน 11290
 ลุ้นระทึกรอบใหม่ "รถไฟฟ้า 3 สาย" เดินหน้าต่อ-แท้งยกแผง ?

"สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ผมขอเวลาดู รายละเอียดนิดหนึ่ง เพราะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ยังตอบไม่ได้ว่า จะใช้เวลาเท่าไร เรื่องนี้เป็นงานใหญ่ เราต้องมาระดมความคิด ทบทวนกัน คงต้องรอสักระยะหนึ่ง ถ้าดีมีประโยชน์ โปร่งใส เงินก่อสร้างถ้ามีทุนสนับสนุนเพียงพอ ก็พร้อมที่จะดำเนินการ เพราะรู้ดีว่ามีประโยชน์ต่อประชาชนมาก และ มีความต้องการสูง"

"ผมขอทบทวนข้อมูลก่อน จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาหารือ ที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้ ต้องมาดูว่ามีปัญหาอะไร เหมาะสมหรือไม่ มีปัญหาก็แก้ไขให้เรียบร้อย"

"โครงการใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูง ต้องกู้เงิน เขามาทำ ใช้เวลาชำระหนี้หลายปี บางอย่างเราพูดยาก จะบุกเปรี้ยง โดยไม่ดูอะไรเลย ผมก็เสียคน ต้องค่อยๆ ดู และดูนโยบายรวมจากรัฐบาลด้วย"

เป็นคำชี้แจงสั้นๆ แต่ได้ใจความ ของ "พลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ยุครัฐบาล "สุรยุทธ์ 1" ในวันที่เดินทางเข้าร่วมประชุมกับหัวหน้าหน่วยงานในกระทรวงวันแรก เมื่อ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา

แม้จะไม่ฟันธงเสียทีเดียวว่า การลงทุนรถไฟฟ้าทั้งหมด และการดำเนินการในช่วงก่อนหน้านี้ ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ แต่ฟังดูแล้วน่าจะมีนัยที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

เนื่องจากสิ่งที่เจ้ากระทรวงหูกวางกล่าว เหมือนกับย้ำว่าจะนำทุกอย่างที่รัฐบาลชุดที่แล้ว สั่งเดินหน้าจนถึงขั้นเตรียมเปิดขายแบบเอกสารประกวดราคาแล้ว มาทบทวนใหม่ทั้งหมด ถ้าพบว่ามีอะไรที่อาจจะไม่ชอบมาพากล ก็จะสั่งให้ติดเบรกไว้ก่อน

ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้ช่วงเวลาที่กำหนดกรอบไว้ 1 ปีนี้หมดไปกับการศึกษาข้อมูลหรือไม่ เพราะไม่มีเงื่อนเวลาศึกษาทบทวนที่ชัดเจน ทำเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แต่หวังว่าคงจะไม่ถึงกับรื้อทิ้งใหม่ทั้งหมด

จะว่าไปแล้ว โครงการรถไฟฟ้ามีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนหัวขบวนฝ่ายบริหาร อย่างสมัย "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" จะลงทุน 7 สายทาง วงเงิน 5 แสนกว่าล้านบาท และกำลังจะเปิดประมูลสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่การดำเนินงานถึงขั้นพีคิวผู้รับเหมาแล้ว แต่เกิดมีการปรับเปลี่ยนเจ้ากระทรวงเสียก่อน เรื่องเลยสะดุด

มาถึงยุค "พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล" โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 7 สาย ถูกนำไปบรรจุไว้ในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาล พร้อมกับปรับโยกเส้นทางใหม่ กลับไปกลับมาจนเกิดความสับสน นอกจากนี้ในส่วนของเส้นทางก็งอกขึ้นมาอีก 3 สาย รวมเป็น 10 สาย ระยะทาง 371 กิโลเมตร มูลค่าลงทุนเกือบ 6 แสนล้านบาท

ประกอบด้วย สายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย) ระยะทาง 65 กิโลเมตร สีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50 กิโลเมตร สีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ระยะทาง 27 กิโลเมตร สีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 43 กิโลเมตร สีส้ม (บางกะปิ-บางบำหรุ) ระยะทาง 43 กิโลเมตร

สีเขียวอ่อน (สนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก และอ่อนนุช-สมุทรปราการ) ระยะทาง 24 กิโลเมตร สีเขียวเข้ม (สะพานตากสิน-บางหว้า และหมอชิต-สะพานใหม่) ระยะทาง 19 กิโลเมตร สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 32 กิโลเมตร สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 33 กิโลเมตร และสายสีน้ำตาล (บางกะปิ-มีนบุรี) ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร

แล้วมาสรุปสุดท้ายก่อนเกิดการปฏิวัติครั้งล่าสุดไม่นาน เหลือเพียงแค่ 3 สายทาง มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย สายสีแดง ช่วงพญาไท-บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 32 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 42,300 ล้านบาท ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบ สายสีน้ำเงิน ระยะทาง 27 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1.2 แสนล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ

โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในยุคไทยรักไทย มีมติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2549 อนุมัติให้จัดจ้างในลักษณะจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (lump sum turnkey) โดยให้ผู้รับเหมาออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างไปพร้อมๆ กัน (design&build) และให้ประกวดราคาแบบนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาไทยและต่างชาติแข่งขันกันเสนอตัวก่อสร้างเต็มรูปแบบ

ซึ่งในการคัดเลือกผู้รับเหมา จะพิจารณาภายใต้เงื่อนไขราคาค่าก่อสร้าง ระยะเวลาก่อสร้าง รูปแบบวิธีการก่อสร้าง และข้อเสนอด้านการเงิน

ขณะเดียวกันได้กำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการชัดเจน ซึ่งปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินทั้ง 2 ช่วง ส่วนสายสีม่วง หลังจากที่ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนไปแล้วเมื่อปี 2548 ปัจจุบันกำลังเข้าพื้นที่เวนคืนที่ดินแล้ว เพื่อให้ทันกับกำหนดเวลาก่อสร้างที่จะเริ่มตั้งแต่ปี 2550 และเปิดให้บริการปี 2553

สำหรับเงินที่จะนำมาลงทุนก่อสร้าง ก่อนที่จะเปลี่ยนขั้วการเมือง กระทรวงคมนาคมได้เจรจาขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) โดยอยู่ระหว่างพิจารณาในรายละเอียด และเจบิกเองก็ยังไม่ได้มีการตอบรับอย่างเป็นทางการ

มาถึงยุครัฐบาล "สุรยุทธ์ 1" ยังไม่รู้ว่าอนาคตโครงการรถไฟฟ้าที่คนกรุงเทพฯ และภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการอสังหาฯ กำลังแอบลุ้น และเฝ้ารอดูอย่างใจจดใจจ่อ จะเดินหน้าต่อหรือถอยหลัง ที่สำคัญเส้นทางไหนจะได้ฤกษ์ก่อสร้างก่อน หรือจะถูกเก็บเข้าลิ้นชักยกแผง

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 16-10-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.