| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 108 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 12-10-2549    อ่าน 12546
 บูมเมอแรง"ตึกสูง"ใจกลางเมืองพ่นพิษ ร้องกทม.-หมู่บ้านอยู่เจริญพังทั้งแถบ

บูมเมอแรงตึกสูงพ่นพิษ "หมู่บ้านอยู่เจริญ" น้ำตาตกใน เข้าชื่อร้องเรียน "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ผู้ว่าฯกทม. สะสางปัญหาโครงการอพาร์ตเมนต์ 8 ชั้นย่านรัชดาฯ-อโศก ทำบ้านทรุดบ้านพัง ต้องดามโครงเหล็กเกือบทั้งหลังแก้ขัด ร้องขอให้หยุดก่อสร้าง ผอ.เขตดินแดงบอกซื่อๆ "เขตคงทำอะไรไม่ได้" ยุชาวบ้านฟ้องศาล

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า จากกระแสการตอบรับของคอนโดมิเนียมและอพาร์ต เมนต์ โดยเฉพาะโครงการทำเลใจกลางเมืองตามแนวรถไฟฟ้านั้น แม้จะเป็นสัญญาณที่ดีแก่ผู้ประ กอบการในตลาดอสังหาริมทรัพย์

แต่อีกมุมมองหนึ่ง กลับปรากฏว่าผู้บริโภคหรือชาวบ้านในชุมชนละแวกใกล้เคียงที่มีที่พักอาศัยอยู่ติดกับโครงการ ต่างได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างโครงการเป็นอย่างมาก

ล่าสุด กรณีชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ ถนนอโศกดินแดง ซึ่งอยู่ติดกับถนนรัชดาภิเษก หลังสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน กำลังได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการก่อสร้างโครงการ อพาร์ตเมนต์ "ศิธาราเพลส" อาคารชุดพักอาศัยสูง 8 ชั้น และมีชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น ของบริษัท ซี ลักซ์ โฮลดิ้ง จำกัด โดยมีบริษัท ทีฆาก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้รับเหมาโครงการ

ผลกระทบดังกล่าวทำให้บ้านเรือนในหมู่บ้านซอยเลขคี่ ตั้งแต่ซอย 11-13 เกิดอาการบ้านร้าว พื้นทรุด และรั้วกำแพงพัง เนื่องจากอยู่ติดกับตัวโครงการ

นายประสงค์ สุนทรลิปิกร หนึ่งในเจ้าของบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนผู้ประสานงานกลุ่มผู้อยู่อาศัยในซอยอยู่เจริญ 11 และ 13 อยากขอร้องให้ผู้เกี่ยวข้องหยุดก่อสร้าง เพราะขณะนี้ทั้งบ้านของตนและของเพื่อนบ้านเริ่มเสียหายหนักมากขึ้น ยิ่งเห็นรอยร้าวยิ่งเจ็บปวดใจ ทำไมบ้านเราเป็นอย่างนี้

"ผมยอมรับว่าทุกข์ใจมาก ชุมชนที่นี่อยู่อาศัยมานานร่วม 20 ปี จากอยู่เย็นเป็นสุขก็เกิดทุกข์ ทุกข์จากความเจริญ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ชาวบ้านแถวนี้นอนตาไม่หลับ เพราะไม่รู้ว่าวันไหนบ้านจะพังลงมา" นายประสงค์กล่าวและว่า


"เราจึงขอให้เขาหยุดก่อสร้าง เราไม่อยากเสียหายหนักมากกว่านี้ ที่สำคัญเราไม่อยากฟ้องร้องเป็นคดีความ เราเป็นคนทำมาหากิน ไม่อยากขึ้นโรงขึ้นศาล แต่การก่อสร้างก็ยังดำเนินอยู่"

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549 ตัวแทนชุมชนในหมู่บ้านอยู่เจริญได้ทำหนังสือถึงนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อร้องเรียนกรณีได้รับความเดือดร้อนจากการก่อ สร้างอาคารสูง มีชาวบ้านผู้ได้รับความเสียหายลงชื่อรวมทั้งสิ้น 17 หลังคาเรือน

อาทิ นางสาววิไลลักษณ์ วงศ์จิระวุฑฒ์ เจ้าของบ้านเลขที่ 582/294 นางสาวฤดีรัตน์ สุริยาโรจน์ เจ้าของบ้านเลขที่ 582/272 นายก้องเกียรติ รัชดาทิตย์ เจ้าของบ้านเลขที่ 582/268 นางวรวรรณ ทองสวัสดิ์ เจ้าของบ้านเลขที่ 582/250 นางสาววลัยรัตน์ ซื่อตรงมั่นคง เจ้าของบ้านเลขที่ 582/263 เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการลงพื้นที่สำรวจ พบว่าหมู่บ้านอยู่เจริญเป็นโครงการจัดสรรประเภทบ้านแฝด แต่ละหลังมีพื้นที่ขนาด 50 ตารางวา ส่วนที่ได้รับความเสียหายมากสุดจะเป็นบ้านที่อยู่ติดกับตัวโครงการ "ศิธาราเพลส" ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากแรงสั่นสะเทือนของงานก่อสร้าง

ที่เสียหายหนักคือบ้านเลขที่ 582/291 ของนายมงคล เนื่องศรี พื้นเพเป็นชาวปราจีนบุรี และทำงานในกรุงเทพฯ ตัวบ้านได้รับความเสียหายถึงขนาดคานหัก เสาพัง และผนังแตกแยกจากกันยาว 7-8 เมตร จนเห็นเหล็กเส้นฝังในคอนกรีตโผล่ออกมา จนผู้รับผิดชอบต้องดามโครงเหล็กให้อยู่อาศัยไปก่อน

ขณะที่บ้านของนางสาวศิริพรรณ จิระพัฒน์พงศ์ เจ้าของบ้านเลขที่ 582/290 เพิ่งตกแต่งปรับปรุงบ้านเสร็จใหม่ๆ กลับต้องประสบปัญหาบ้านร้าว


เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ 582/288-9 ของนายประสงค์ สุนทรลิปิกร ที่เสียหายรวม 5 จุด เช่น กำแพงด้านหลัง ฝั่งที่ติดกับโครงการก่อสร้าง เกิดรอยร้าวเป็นทางยาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตกแยกออกจากกัน ส่วนพื้นอาคารด้านหลังทรุดตัวและเกิดรอยแยก ผนังด้านบนประตูบ้านเกิดรอยร้าวและมีรอยร้าวเกิดในบางจุดของพื้นด้านในตัวบ้านและมีน้ำซึมเมื่อเกิดฝนตก และประตูบริเวณชั้น 2 เปิด-ปิดลำบากขึ้นเพราะพื้นเกิดทรุดตัว

จากความหวั่นวิตกจากปัญหาบ้านทรุด บ้านพัง ชาวบ้านจึงขอให้ทางราชการและเอกชนพิจารณาระงับการก่อสร้างและหาวิธีการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

แต่เรื่องนี้นายวรภาส รุจิโภชน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตดินแดง กทม. กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้เข้าไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งเขตคงทำได้เท่านี้ เพราะจะไปสั่งให้บริษัทหยุดก่อสร้างคงไม่ได้ เพราะเกินกว่าอำนาจ กฎหมายควบคุมอาคาร เขตจะสั่งให้หยุดก่อสร้างได้ต่อเมื่อบริษัทก่อสร้างผิดแบบ ตอนนี้บริษัทยังไม่มีอะไรผิดไปจากแบบ ถ้าเราออก คำสั่ง บริษัทก็อาจจะฟ้องกลับได้ แต่ถ้าผู้เสียหายจะเรียกค่าเสียหายให้เจ้าของโครงการรับผิด ชอบ ผู้เสียหายก็ต้องไปฟ้องร้องเจ้าของบริษัทเองที่ศาล

"เราประชุมร่วมกับชาวบ้านและเจ้าของโครงการมาแล้ว 3 ครั้ง ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา สรุปว่าจะแก้ไขจนกว่าผู้ได้รับความเดือดร้อนจะพอใจ และจัดทำมาตรการเสริม คือ การติดตั้งค้ำยันเหล็กรูปพรรณ เพื่อเสริมความแข็งแรงของกำแพง ป้องกันดินพัง โดยรอบชั้นใต้ดินทุกทิศ ควบคู่ไปกับการทำค้ำยันโดยรอบทุกทิศ มีกำหนดแล้วเสร็จ 22 ตุลาคมนี้ ส่วนการซ่อมแซมจะทำที่เสียหายมากที่สุดก่อน ให้เสร็จในวันที่ 20 ธันวาคม และก่อสร้างฐานรากพื้นกำแพงชั้นใต้ดิน กำหนดเสร็จวันที่ 30 พฤศจิกายนปีนี้

นายสุนิล จิรธเนศวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี ลักซ์ โฮลดิ้ง จำกัด เจ้าของโครงการ "ศิธาราเพลส" กล่าวว่า บริษัทยินดีรับผิดชอบความเสียหาย โดยมอบหมายให้ทีฆาก่อสร้างเป็น ผู้ประสานงาน และเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่าน มาได้ทำหนังสือชี้แจงยืนยันความรับผิดชอบไป แล้ว

มีใจความว่าทางสำนักงานเขตดินแดงจะเป็นผู้ตรวจสอบและติดตามให้บริษัท ซี ลักซ์ โฮลดิ้ง จำกัด ดำเนินการชดใช้และซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และให้ทำรายงานชี้แจงความคืบหน้าทุกเดือน

นายศักดา ศักดิ์ศรีศิริสกุล ผู้จัดการโครงการ บริษัท ฑีฆาก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า ก่อนลงมืองานฐานรากอาคาร บริษัทได้ทำแนวป้องกันชั้นดินไม่ให้ทรุดตัวแล้ว แต่เจอปัญหาดินอ่อนกับตัวบ้านใช้เสาเข็มยาวเพียง 6 เมตรเท่านั้น จากปกติควรใช้เสาเข็มประมาณ 20 เมตร

ขณะนี้บริษัทได้แก้ไขปัญหาการแตกร้าวและดินทรุดตัว โดยเสริมเหล็กรูปพรรณความลึก 2.4 เมตรเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของแนวป้องกันชั้นดิน จากนั้นจะถมดินและทรายบริเวณช่องว่างตรงกลางระหว่างแนวป้องกัน-ผนังบ้าน คาดว่าจะเสร็จในสัปดาห์หน้า ส่วนการซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายนั้นจะเริ่มได้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปีนี้

อนึ่ง รศ.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.ในสายงานการโยธานั้น มีชื่อเป็นที่ปรึกษาโครงการอาคารสูงดังกล่าวด้วย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 12-10-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.