| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 94 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-10-2549    อ่าน 12324
 ผ่าแผนรับมือ "น้ำท่วม" กทม. โซนตะวันออกแจ็กพอตจมบาดาล

นับวันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ถึงวันนี้คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ก็ยังทำใจยอมรับไม่ได้ จนทำให้ปัญหานี้กลายเป็นหนามยอกอกที่ ผู้ว่าฯ กทม.ทุกยุคทุกสมัยแก้ไม่ตก

เช่นเดียวกับปีนี้ ด้วยความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทำให้มีปริมาณฝนตกมากเป็นพิเศษทุกภูมิภาคของประเทศ เห็นได้จากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคใต้ ต่างประสบปัญหาน้ำท่วมกันถ้วนหน้าไม่เว้นแม้แต่ กทม.ที่เวลานี้น้ำเหนือที่ไหลบ่าลงมารวมกับปริมาณน้ำฝนที่ช่วงนี้ตกหนาแน่นเป็นพิเศษกำลังจ่อคิวกระหน่ำ ทำให้ผู้ว่าฯ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ต้องงัดมาตรการรับมือ

โซนตะวันออกแจ็กพอตเต็มๆ

พื้นที่ กทม.ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักสุดช่วงนี้ คือ พื้นที่โซนตะวันออก โดยเฉพาะในทำเลรอบสนามบินสุวรรณภูมิ อย่างเขตประเวศ เขตลาดกระบัง หนองจอก คลองสามวา และมีนบุรี เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มและพื้นที่รับน้ำ เมื่อเกิดฝนตกหนักมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าที่จะรับได้ จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน

ที่น่าเป็นห่วงคือ ช่วงวันที่ 9-10 ตุลาคมคาดการณ์ว่าจะเกิดน้ำท่วมหนัก จากน้ำทะเลหนุน ฝนตกหนัก และน้ำเหนือไหลบ่าลงมา

แม้จะไม่รู้ว่าสถานการณ์ในวันข้างหน้าจะหนักหนาสาหัสขนาดไหน แต่เป็นเรื่องน่ายินดีที่ขณะนี้ภาครัฐตระหนักถึงปัญหา เห็นได้จากภารกิจแรกของ "พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์" นายกรัฐมนตรี คือการนำคณะลงตรวจสอบความพร้อมในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมด้วยตัวเอง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา

ชี้ฝนตกหนักถึงปลายปี

"โดยเฉลี่ยฝนตกในเขต กทม.ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร/ปี ขณะนี้อยู่ที่ 1,129 มิลลิเมตร แสดงว่าจะมีฝนตกมาอีกในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับฝนเฉลี่ยคาบ 30 ปี คือประมาณ 1,500 มิลลิเมตร" แหล่งข่าวจาก กทม. กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

แต่ กทม.มีมาตรการรับมือแล้ว อย่างกรณีฝนตกหนักจะมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ปิดล้อม และจุดเสี่ยง 867 เครื่อง เครื่องสูบน้ำสำหรับสถานีสูบน้ำหลัก 109 แห่ง 665 เครื่อง กำลังสูบน้ำรวม 1,343 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำยาว 3,634 กิโลเมตร ดำเนินการแล้ว 3,363 กิโลเมตร หรือ 96.31% ขุดลอกและเปิดทางน้ำไหล 1,245 คลอง 1,695 กิโลเมตร ทำแล้ว 1,145 คลอง ยาว 1,561 กิโลเมตร หรือ 92%

นอกจากนี้ จะมีการควบคุมระดับน้ำในคลองแก้มลิงที่มีอยู่ 20 แห่ง สามารถรองรับน้ำได้ 12.7 ล้านลูกบาศก์เมตร จะจัดหาบึงรองรับน้ำเพิ่ม เช่น บึงมะขามเทศ สะแกงามสามเดือน และคลองพระราชดำริ 2 รับน้ำได้ 50,000 ลูกบาศก์เมตร จะดำเนินการปลายปี 2549 แล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2550 ฯลฯ

สร้างแนวป้องกันริมเจ้าพระยา

ส่วนกรณีน้ำทะเลหนุนและน้ำเหนือไหลบ่า ได้สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมถาวร 77 กิโลเมตร ขณะนี้แล้วเสร็จ 57 กิโลเมตร ที่ระดับความสูง 2.40 เมตร ส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้แนวกระสอบทรายแทน 6 กิโลเมตร ป้องกันระดับน้ำได้ที่ 2 เมตร

"แนวป้องกันถาวรที่จะต้องสร้างอีก 20 กิโลเมตร จากพระรามที่ 6-เทเวศว์ เริ่มตั้งแต่ปี 2550 ประมาณ 4.5 กิโลเมตร ในปี 2551 สร้าง 13 กิโลเมตร และปี 2552 อีก 2.5 กิโลเมตร"

ทุ่ม 4 พัน ล.ขุดอุโมงค์เพิ่ม

ในระยะยาวจะใช้งบฯ 4,077 ล้านบาทเศษ ประกอบด้วยการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ โดยปัจจุบันได้ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่บางส่วนแล้วเพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขังจากพื้นที่ต่ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 7 แห่ง เสร็จเรียบร้อยแล้ว 5 แห่ง อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 แห่ง ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผลงานก่อสร้าง 72% จะแล้วเสร็จต้นปี 2551 ส่วนอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ผลงาน 78% จะแล้วเสร็จต้นปี 2551

นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีแผนจะก่อสร้างอุโมงค์เพิ่ม 3 แห่ง คือ 1.อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางซื่อ ใกล้โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค จากถนน วิภาวดีฯลอดใต้คลองบางซื่อลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด 2.40 เมตร 4.9 กิโลเมตร งบฯก่อสร้าง 875 ล้านบาท ในปี 2551-2552 จะช่วยระบายน้ำในพื้นที่ถนนลาดพร้าว รัชดาฯ พหลโยธิน วิภาวดีฯ พระรามที่ 6 เกียกกาย พระรามที่ 5

2.อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบอยู่ด้านหลังเขตบางกะปิ ตัวอุโมงค์จะต่อกับอุโมงค์คลอง แสนแสบ เริ่มจากปากคลองซอยลาดพร้าว 130 ลอดใต้คลองแสนแสบลงสู่อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ ขนาด 4 เมตร 3.80 กิโลเมตร งบฯ 615 ล้านบาท จะก่อสร้างปี 2551-2552 ช่วยระบายน้ำย่านถนนศรีนครินทร์ รามคำแหง พัฒนาการ เป็นต้น

3.อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางเขนจากคลองลาดพร้าวลอดใต้คลองบางเขน ลงสู่แม่น้ำเจ้า พระยา ขนาด 3.80 เมตร 10 กิโลเมตร งบฯก่อสร้าง 2,400 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างปี 2550 จะช่วยระบายน้ำพื้นที่ด้านเหนือของกรุงเทพฯ เช่น เขตบางเขน บางซื่อ สายไหม รามอินทรา เกษตร พหลโยธิน ฯลฯ

หาพื้นที่แก้มลิงเสริม

นอกจากนี้ จะจัดทำโครงการพัฒนาเมืองเข้ามาเสริมโดยใช้มาตรการด้านผังเมืองควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้จัดหาพื้นที่รับน้ำเพิ่ม จะนำร่องในเขตบางเขน สายไหม และคันนายาว 150 ตารางกิโลเมตร พร้อมกับออกข้อกำหนดควบคุม และเสนอให้กรมที่ดินเพิ่มมาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมในกฎหมายจัดสรรที่ดิน โดยจะให้พื้นที่ว่างที่จะพัฒนาต้องเผื่อพื้นที่รับน้ำไว้ด้วย เช่น ถนนรามอินทรา เป็นต้น ส่วนพื้นที่ที่พัฒนาเต็มแล้วจะให้เพิ่มท่อระบายน้ำ

สำหรับโครงการแก้มลิง กทม.มีแผนจะเพิ่มประสิทธิภาพและจัดหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติม คือ โครงการเสริมประสิทธิภาพบึงรับน้ำหนองบอน

โครงการก่อสร้างแก้มลิงบึงสะแกงามสามเดือน และบึงมะขามเทศ โครงการก่อสร้าง แก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย ตามพระราชดำริ ร่วมกับกรมชลประทาน

บ้านเรือน-พื้นที่เกษตรเสียหายยับ

ด้านนายถนอม อ่อนเกตุพล รองโฆษก กทม. เปิดเผยถึงตัวเลขความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่โซนตะวันออก คือ เขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง ประเวศ และคลองสามวา เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า เขตหนองจอกมีน้ำท่วมขัง 4 หมู่บ้าน 54 ชุมชน 2,229 ครัวเรือน โรงเรียนน้ำท่วมขัง 13 โรง วัด 4 แห่ง มัสยิด 4 แห่ง ถนน 22 สาย พื้นที่การเกษตร 40,000 ไร่

เขตมีนบุรีได้รับความเดือดร้อน 39 ชุมชน 3,376 คน เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 36 ราย นาข้าว 2,000 ไร่ ไม้ผล 200 ไร่ ไร่หญ้า 1,000 ไร่ บ่อปลา 828 ไร่ โค แพะ 850 ตัว ไร่หญ้าขน 1,050 ไร่

เขตลาดกระบังเกษตรกรเดือดร้อน 684 ราย พื้นที่ประสบภัย 22,280 ไร่ พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย 16,329 ไร่ แบ่งเป็นนาข้าว 16,000 ไร่ ผักไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ ไร่หญ้ารวม 329 ไร่ บ่อปลาเสียหาย 5,000 ไร่ รวม 16 ล้านบาท

เขตคลองสามวา น้ำท่วมถนน 10 สาย โรงเรียน 4 แห่ง ชุมชน 6 ชุมชน หมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน ส่วนเขตประเวศ และสวนหลวง มีพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมประกอบด้วยถนน และซอยแยก ซึ่งสำนักงานเขตและสำนักการระบายน้ำแก้ไขปัญหาให้กลับคืนภาวะปกติแล้ว พร้อมทั้งได้ติดตั้ง เครื่องสูบน้ำ วางกระสอบทราย แจกยารักษาโรค ถุงยังชีพ แก่ผู้ประสบภัยทุกพื้นที่

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 09-10-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.