| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 79 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-09-2549    อ่าน 11988
 E-auction กับวงการรับเหมา รัฐแก้เกณฑ์ยึดเงินค้ำประกัน

การประมูลแบบ "อีออกชั่น" หรือการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่วงการ "ผู้รับเหมา" ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์บางประการ

โดยเฉพาะเรื่องการยึด "เงินค้ำประกัน" (หลักประกันซอง) มูลค่า 5% ของราคากลางกรณีที่มาร่วมประมูลไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนดไม่ว่ากรณีใดๆ

สะท้อนผ่านบรรยากาศภายในงาน "ดินเนอร์ทอล์ก" ที่จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ในหัวข้อ "E-auction กับอุตสาหกรรมก่อสร้าง" ซึ่งได้รับความสนใจจากสมาชิกบริษัทรับเหมาหลายราย โดยมี 3 วิทยากรจากกรมบัญชีกลาง ประกอบด้วย "ชุณหจิต สังข์ใหม่" ผู้อำนวยการสำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง "เดชา เมฆวิลัย" ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรฐานและระเบียบว่าด้วยพัสดุ สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ และ "เชิดชัย มีคำ" รักษาการนิติกร 9 ชช. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมาไขข้อข้องใจถึงที่

ทั้งนี้ การหยิบยกเรื่อง "อีออกชั่น" มาเป็นประเด็น เกิดจากเหตุผลว่า เฉพาะในปีนี้มีผู้รับเหมารวมแล้ว 5 ราย ที่ถูกยึดเงินค้ำประกันคิดเป็นวงเงินรวมกันเกือบ 200 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท วนิชชัย ก่อสร้าง (1979) จำกัด จำนวน 1,015,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.มั่นคง จำนวน 123,750 บาท บริษัท ไทยวิวัฒน์วิศวการทาง จำกัด จำนวน 5,000,000 บาท บริษัท อรลักษณ์ สิงห์บุรี (1994) จำกัด จำนวน 17,191,050 บาท และล่าสุดบริษัท คริสเตียนี่ และ นีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ในโครงการก่อสร้างทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางบูรพาวิถี จำนวน 168 ล้านบาท

นำมาสู่การยื่นหนังสือในนามสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ถึงประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตามตำแหน่งคือปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ใจความสำคัญในหนังสือดังกล่าวมีด้วยกัน 2 ส่วน คือ 1)เสนอให้บริษัทรับเหมาที่ซื้อแบบประกวดราคามีสิทธิตัดสินใจเข้าร่วมการประมูลเสนอราคาหรือไม่ก็ได้อย่างอิสระโดยไม่ถูกยึด "เงินค้ำประกัน" เนื่องจากเมื่อผู้รับเหมาถอดแบบและคำนวณราคาแล้วอาจเห็นว่าไม่คุ้มทุน และ 2)เสนอให้ผ่อนผันการยึดเงินค้ำประกันออกไปในระหว่างที่รอการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 (ประมูลอีออกชั่น)

จากประเด็นดังกล่าวทำให้บรรยากาศงานดินเนอร์ทอล์กภายหลังจากที่ "ผอ.เชิดชัย" บรรยายถึงระเบียบการประมูลอีออกชั่นอย่างละเอียด รวมถึงอธิบายถึงเหตุผลที่ต้องยึดเงินค้ำประกันกรณีที่ผู้รับเหมามาเข้าร่วมประมูลไม่ทันว่ามีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ผู้รับเหมาที่ซื้อแบบแล้วเข้าสู่กระบวนการร่วมเสนอราคาประมูลงานต่อเนื่องจนจบ ปรากฏว่ามีตัวแทนบริษัทรับเหมายิงคำถามเกี่ยวกับการเสนอให้สำนักมาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ พิจารณายกเลิกการยึด "เงินค้ำประกัน" เข้าใส่อย่างต่อเนื่องรวมแล้ว 3-4 ราย

ซึ่งบางรายยืนยันว่าเหตุผลที่มาประมูลไม่ทันนั้นเกิดจากเหตุผลสุดวิสัย

นอกจากนี้ก็ยังมีพ่วงประเด็นเรื่องระยะเวลาการ "ถอดแบบ" เพื่อประเมินราคาค่าก่อสร้างก่อนตัดสินใจเสนอราคาประมูลงานซึ่งผู้รับเหมาเกือบทุกรายเห็นว่ามีเวลาน้อยเกินไป

หลังจากรับฟังคำถามแล้ว "ชุณหจิต สังข์ใหม่" ผู้อำนวยการสำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ ได้ออกมารับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การยึดเงินค้ำประกันกลับไปพิจารณา

สรุปคือ จะหยิบเรื่องดังกล่าวเป็น "วาระเร่งด่วน" เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการพัฒนาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์การปฏิบัติ ก่อนจะมีการจัดสัมมนาระดมความเห็นเพื่อแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 ในเดือนตุลาคมนี้ต่อไป

เนื่องจากประมาณการว่าการแก้ไขระเบียบคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควรประมาณปลายปี 2550 จึงจะแล้วเสร็จ ดังนั้นระหว่างนี้สำนักมาตรฐานฯจะหยิบเรื่องหลักเกณฑ์การยึดเงินค้ำประกันมาพิจารณาก่อนโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือนนับจากนี้ โดยแนวทางเบื้องต้นอาจปรับเปลี่ยนเป็นการยึดเงินค่าปรับแทน แต่จะต้องรอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการอีกครั้ง

เสมือนเป็นข้อสรุปแบบพบกันครึ่งทางของภาครัฐ-ผู้รับเหมา

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 28-09-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.