| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 111 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-09-2549    อ่าน 11853
 ส่องอนาคต "ลอจิสติก" ไทย วัดใจรัฐหลังการเมืองผลัดใบ

"เรื่องระบบลอจิสติกผมทำมาตั้งแต่สมัยเป็นอธิบดีกรมเจ้าท่า ตอนนั้น ยังไม่มีใครรู้ว่าคืออะไร กระทรวงคมนาคมปลุกระดมความคิดทำตามกรอบแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-9 แต่ปัจจุบันยังไปไม่ถึงไหน จนผมจะเกษียณอีกไม่กี่วันแล้ว ทั้งที่แผนพัฒนาฯมีหมดแต่ความ ต่อเนื่องยังมีความจำเป็น จะต้องดำเนินการต่อไปตามแผนฯ 10 เริ่มปี 2550-2554"

เป็นคำกล่าวของ "วันชัย ศารทูลทัต" ปลัดกระทรวงคมนาคม ในงานสัมมนา "ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและสนับสนุนระบบลอจิสติกของประเทศ" ที่ กระทรวงคมนาคมจัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ตั้งเป้า 10 ปีขนส่งทางราง-น้ำเพิ่ม

"วันชัย" กล่าวว่า สิ่งที่เน้นมาตลอดคือจะต้องสร้างยุทธศาสตร์ของประเทศโดยให้การขนส่งทางน้ำและระบบรางเป็นเมนหลัก และให้ถนนเป็นฟีดเดอร์ นี่คือสิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะปัจจุบันยังสวนทางกัน คือมีการขนส่งทางถนนมากถึง 82.9% ขณะที่การขนส่งทางน้ำมีเพียง 13.73% เท่านั้น นอกนั้นอีก 1.94% เป็นการขนส่งทางรถไฟ เป้าหมายจะต้องให้การขนส่งทางน้ำและทางรางสูงกว่าถนนจึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบลอจิสติกของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย

"ถ้าตั้งเป้า 5 ปีแล้วยังไปไม่ถึงไหนอีก ต้องทำให้สำเร็จภายใน 10 ปี โดยจบที่แผนฯ 11 แต่ถึงยังไงการพัฒนาระบบลอจิสติกก็เป็นสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่งวิธีการไม่ยากแต่ต้องกลับมาทบทวนยุทธศาสตร์ใหม่ ตั้งเป้าไว้ในแผนฯ 10 ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการขนส่งโดยให้การขนส่งทางรางไต่ระดับขึ้นไปถึง 10% จากปัจจุบันที่ได้อยู่ 1.94% โดยลดการขนส่งทางถนนให้ได้ ถ้าไม่ทำแบบนี้ลำบากแน่ ต้องหันมาเน้นที่ระบบรางและทางน้ำเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนและประหยัดการใช้พลังงานได้มากกว่า"

"วันชัย" กล่าวต่อว่า หากแผนที่วางไว้ทั้งหมดประสบความสำเร็จ กระทรวงคมนาคมดำเนินการหน่วยงานดียวไม่ได้ ต้องมีระบบจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาใช้ทางน้ำและทางรางมากขึ้น โดยรัฐบาลและเอกชนจะต้องจับมือเดินไปด้วยกัน ซึ่งในจุดนี้จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้

โดยรัฐบาลจะต้องลงทุนสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนเชื่อมโยงกับท่าเรือหรือสถานีรถไฟ ทางคู่ เป็นต้น ขณะที่ภาคเอกชนก็ต้อง ปรับเปลี่ยนระบบการจัดการ มีการตั้งคลังสินค้า ที่ได้มาตรฐานในระหว่างทางรถไฟที่วิ่งผ่านจังหวัดต่างๆ โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนดำเนินการ เนื่องจากเอกชนมีความคล่องตัว หากทำได้การ ขนส่งสินค้าปัจจุบันไปกระจุกตัวรอบท่าเรือแหลมฉบังกันหมดก็จะกระจายออกไปอยู่ในจุดอื่นๆ เช่น ภาชี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อภาคเหนือกับอีสาน เป็นต้น

"ถ้ารัฐและเอกชนจับมือมาทำงานร่วมกัน เชื่อว่าการพัฒนาระบบลอจิสติกของประเทศไทยจะเกิดผลอย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันมีจุดบอดตัวแปรและเงื่อนไขมากมาย ทำให้ระบบลอจิสติกเดินไปไม่ได้มาก และเป็นเรื่องยากที่จะให้ขนส่งทางน้ำและรางมากกว่าการขนส่งทางถนน ซึ่งบางอย่างเอกชนจะต้องกล้าลงทุนส่วนต้องสนับสนุน งบประมาณในการสร้างโครงข่ายมารองรับเพื่อให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ แผนงานมีหมดแล้ว เหลือเพียงแค่การผลักดันเท่านั้น"

เอกชนไม่เชื่อน้ำยา

"สุวิทย์ รัตนจินดา" นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้รัฐและเอกชนร่วมมือกันนั้นเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากมีบทเรียนเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้ว อย่างศูนย์ขนส่งสินค้าลาดกระบังของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ยังมีปัญหาอยู่เพราะมีการปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนของเอกชนสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนในการต่อสัญญากับเอกชนอีกด้วย ทำให้ผู้ประกอบการวางแผนงานไม่ได้ และไม่รู้ชะตากรรมของตัวเอง

เช่น ซื้อเครื่องมือไม่ได้ การส่งออกดีเลย์หมด เป็นปัญหาลูกโซ่ ขณะนี้ต้องเสียค่าเช่าเป็นรายเดือน ราคา 40 บาท/ตารางเมตร ขณะที่การ ต่อสัญญายังไม่มีความชัดเจนเพราะการรถไฟฯต้องการจะปรับค่าเช่าเพิ่ม แต่ยังไม่สรุปว่าจะเป็นราคาเท่าไร เคยบอกว่าจะเก็บ 84 บาท/ตารางเมตร

"จะให้ต้นทุนต่ำแต่จะเอาค่าเช่าสูงๆ มัน สวนทางกัน ต้องเข้าใจว่าระบบลอจิสติกไม่ให้ รัฐมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่เป็นการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับเอกชนนำรายได้มาจ่ายภาษีคืนให้กับรัฐ หน้าที่ของรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าในที่สุดจะได้การอุดหนุน งบประมาณมากน้อยแค่ไหน ผมเห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้เอกชนจับมือเดินไปพร้อมกับรัฐบาล แต่มันมีปัญหาต้องแฟร์กันด้วยทั้ง 2 ฝ่าย"

รื้อใหม่ 102 โครงการ 2 แสนล้าน

ตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมได้มีการวางแผนการดำเนินงานก่อสร้างโครงสร้าง พื้นฐานเพื่อมารองรับระบบลอจิสติกระหว่างปี 2550-2554 ไว้รองรับจำนวน 102 โครงการ มูลค่า 221,321.52 ล้านบาท ทั้งการสร้างถนนเป็น 4 เลน สร้างทางคู่ เป็นต้น

แต่ที่ผ่านมาผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เข้าเป้า ความคืบหน้าไม่ค่อยปรากฏ กระทรวงคมนาคมจึงต้องเตรียมทบทวนแผนงานและโครงการต่างๆ ใหม่ โดยเรียงลำดับความสำคัญโครงการ ที่จะต้องเร่งดำเนินการก่อนและหลังเพื่อเป็นการพัฒนาเส้นทางการค้า ทั้งของใหม่และเก่าให้มีความสมบูรณ์

แม้ปัจจุบันมีการก่อสร้างเส้นทางเพื่อมาเสริมโครงข่ายการขนส่งสินค้าบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการวงแหวนอุตสาหกรรมที่เปิดใช้บริการไปเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ

สำหรับแผนงานที่วางไว้เดิมประกอบด้วย 1.การพัฒนาท่าเรือปากบาราและระบบการ ขนส่งเชื่อมโยง มูลค่า 12,404.89 ล้านบาท เช่น การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัด สตูล ค่าก่อสร้าง 9,769.89 ล้านบาท เพื่อเป็นประตูการค้าทางฝั่งทะเลอันดามันเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าไปยังเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และทวีปยุโรป

ขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังจะนำกลับมาดำเนินการหลังจากที่ก่อนหน้านี้ถูกบรรจุอยู่ในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาล

ก่อสร้างถนนเชื่อมโยงท่าเรือปากบารา-ทางหลวงหมายเลข 416 บ้านฉลุง-อำเภอละงู ตอน 3 ระยะทาง 24 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 200 ล้านบาท ก่อสร้างถนนเชื่อมโยงท่าเรือปากบารา-ทางหลวงหมายเลข 4145 บ้านคลองแงะ-บ้านทุ่งดำเสา ระยะทาง 45 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 900 ล้านบาท เป็นต้น

2.การพัฒนาท่าเรือระนองและระบบการขนส่งเชื่อมโยง มูลค่า 4,745.12 ล้านบาท อาทิ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ มูลค่า 330.12 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้ท่าเรือระนองสามารถเป็นประตูการค้าด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน ก่อสร้างถนนเชื่อมโยงท่าเรือระนอง-ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงชุมพร-กระบุรี ระยะทาง 53 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 950 ล้านบาท

สร้างถนนท่าเรือระนอง-ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงระนอง-คุระบุรี ระยะทาง 100 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,500 ล้านบาท ถนนท่าเรือระนอง-ทางหลวงหมายเลข 4006 ระนอง-หลังสวน ระยะทาง 69 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท เป็นต้น

3.การเพิ่มประสิทธิภาพประตูการค้าหลักในปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 41,475 ล้านบาท อาทิ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ก่อสร้างทางคู่ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ค่าก่อสร้าง 5,235 ล้านบาท ก่อสร้างถนนท่าเรือแหลมฉบัง มาบตาพุด-ทางหลวงหมายเลข 331 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 36-ทางหลวงหมายเลข 3 สัตหีบ ระยะทาง 28 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 500 ล้านบาท

ก่อสร้างถนนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สาย A6 เชื่อมทางหลวงหมายเลข 34 จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 14.5 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 6,325 ล้านบาท ก่อสร้างถนนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ A9 ถนนเทพราช-ถนนเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 14.5 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 6,640 ล้านบาท ก่อสร้างถนนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย A8 ถนนร่วมพัฒนา-ทางหลวงหมายเลข 34 ระยะทาง 19 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 8,120 ล้านบาท เป็นต้น

4.การพัฒนาเส้นทางการขนส่งบนเส้นทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน มูลค่า 14,409 ล้านบาท เช่น การพัฒนาท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จังหวัดเชียงราย ค่าก่อสร้าง 1,107 ล้านบาท การก่อสร้างถนนเข้าท่าเรือเชียงแสน 2-ทางหลวงหมายเลข 1016 อำเภอแม่จัน-อำเภอเชียงแสน ระยะทาง 37 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 600 ล้านบาท

ก่อสร้างถนนเข้าท่าเรือเชียงแสน 2-ทางเลี่ยงเมืองเชียงรายด้านตะวันตก ระยะทาง 28 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 900 ล้านบาท ก่อสร้าง ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จังหวัดตราด ค่าก่อสร้าง 1,305 ล้านบาท เป็นต้น

5.การพัฒนาระบบการรวบรวมและกระจายสินค้า มูลค่า 36,589 ล้านบาท เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 156 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 20,600 ล้านบาท โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 38 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 4,100 ล้านบาท โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-สระบุรี ระยะทาง 43 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 3,800 ล้านบาท เป็นต้น

ต้องจับตามองว่าหลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศจะให้ความสำคัญกับการผลักดันโครงการลอจิสติกต่อไปหรือไม่ ที่สำคัญนโยบายรวมทั้งแผนงานที่กระทรวงคมนาคมและภาคเอกชนวาดฝันไว้จะเป็นจริง หรือจะยังเดินหน้าไปไม่ถึงไหนเหมือนที่ผ่านมาอีก

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 28-09-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.