| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 240 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-09-2549    อ่าน 11529
 เจาะเซฟ "คุณหญิงอ้อ" จาก "ตึกเก่าราชวัตร" สู่ "อสังหาฯ" หมื่นล้าน

กล่าวกันว่า ผู้สร้างประวัติศาสตร์การเมืองไทยให้ดูปั่นป่วนอย่างหา "คำตอบไม่ได้"

อย่าง 2 สามีภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่กลายเป็น "ครอบครัวพลัดถิ่น" ไปแล้วนั้น

เมื่อ 20 ปีก่อนพวกเขาก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร !

มีเพียง "ตึกราชวัตร" มูลค่าไม่กี่สิบล้านเป็นทรัพย์สินหรือแอสเสตในมือเพียงชิ้นเดียวที่มี "มูลค่า" มากที่สุด และเคยเป็นศูนย์บัญชาการของ "ธุรกิจสื่อสาร" ในยุคบุกเบิก ปัจจุบันตึกนี้ถูกปรับปรุงเป็นอพาร์ตเมนต์ให้เช่าไปแล้ว อยู่ตรงบริเวณสี่แยกราชวัตร ซึ่งเด่นแต่ไม่ตระหง่านเหมือนก่อน

และแทบไม่น่าเชื่อว่า ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณกับคุณหญิงอ้อ มีความสามารถพิเศษในชั้นเชิงธุรกิจจนผันตัวเองเป็นเจ้าของพอร์ตธุรกิจ "อสังหาริมทรัพย์" ที่ใหญ่ที่สุด หากรวมมูลค่าแล้วทั้งแลนด์แบงก์ อาคาร และหุ้นอสังหาฯในตลาดหลักทรัพย์ฯ

แหล่งข่าววงการอสังหาฯหลายท่านไม่กล้าประเมินว่า "เท่าไร" เพราะมีมากจนไม่กล้านับ แต่ถ้าใช้หลักประมาณต่ำๆ ต้องมีไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท

"แล้วที่ดินแต่ละแปลงก็สามารถเพิ่มแวลู (มูลค่า) ได้หลายเท่าตัว ถ้าพัฒนากันเต็มที่ เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ดีมาก" แหล่งข่าวกล่าว

ย้อนรอยที่ดินแปลงใหญ่

เมื่อพลิกข้อมูล พบว่า "พอร์ตที่ดิน" ของตระกูล "ชินวัตร" มีหลายแปลงที่น่าสนใจ ทั้งเรื่องขนาดและทำเล กรณีการได้มาก็น่าสนใจ เช่นกัน

อาทิ ที่ดินแปลงใหญ่ใกล้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เยื้องสถานทูตเกาหลี ติดถนนเทียมร่วมมิตร-รัชดาฯ คุณหญิงอ้อมีถึง 4 โฉนด เนื้อที่รวม 33-78-9 ไร่ โดยชนะประมูลกลุ่ม โนเบิ้ลฯและแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แบบขาดลอยเมื่อ 3 ปีก่อน ในราคา 772 ล้านบาท เฉลี่ยตารางวาละ 58,000 บาท และโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยเมื่อ 30 ธันวาคม 2546

ก่อนเปิดประมูลที่ดินแปลงนี้ เป็นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ได้รับโอนมาจากบริษัทหลักทรัพย์เอราวัณทรัสต์เมื่อปี 2538 มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ตีราคาประเมินกันที่ 52,000 บาทต่อตารางวา ขณะที่ราคาซื้อขายในตลาดตารางวาละ 80,000-110,000 บาท คุณหญิงอ้อจึงรวยดับเบิล


หลังซื้อที่แปลงนี้เสร็จ มีกระแสข่าวว่า คุณหญิงอ้อยังต้องการจะซื้อที่ดินเพิ่มในทำเลเดียวกันอีกไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ ซึ่งติดอยู่กับ ศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าใต้ดินย่านพระรามที่ 9 ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีแผนพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์หมื่นล้านบนเนื้อที่ถึง 1,000 ไร่ในอนาคต

ตามหลักฮวงจุ้ย ที่ไข่แดงแปลงเด็ดที่คุณหญิงเล็งไว้นั้น เปรียบเสมือน "ท้องมังกร" ใครได้ไป ก็รวยไม่รู้จบ เพราะใกล้รถไฟฟ้ามากและเป็น โครงข่ายเชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิ

ซึ่งประเมินว่ามีแลนด์แบงก์เก็บสะสมไว้ในมืออยู่หลายแห่ง มีทั้งที่ซื้อในนามส่วนตัวและบริษัท รวมถึงที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยมีมูลค่ารวมกันไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท นับตั้งแต่สนามกอล์ฟอัลไพน์ฯ มหาวิยาลัยชินวัตร ที่ดินแปลงงามย่านถนนรัชดาภิเษกใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยที่ตกเป็นข่าวครึกโครมเมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีที่ดินเพื่อรองรับการพัฒนาได้ไปจนถึงปี 2550 อีกประมาณ 170-200 ไร่ ในย่านรามอินทรา, วิภาวดีรังสิต, วัชรพล, เกษตร-นวมินทร์ และปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ฯลฯ

ที่ดินแปลงสวยที่คุณหญิงถือครองในนาม "ส่วนตัว" นั้น กล่าวกันว่า "ยังมีอีกเยอะ" ทั้งถือตรงและถืออ้อม เพราะเธอชอบสะสมที่ดินมากที่สุดอีกคนหนึ่งของเมืองไทย

รุกธุรกิจอสังหาฯเต็มตัว

เมื่อจังหวะและโอกาสเปิด ตระกูล "ชินวัตร" จึงไม่พลาดนาทีทองในยุคที่พรรคไทยรักไทย รุ่งเรืองสุดๆ

คุณหญิงอ้อได้ว่าจ้าง "มืออาชีพ" เข้ามาจัดระเบียบทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อแยกส่วนให้เห็นว่า อะไรทำกำไรได้เร็วสุดก็รีบขายออกไป โดยกินส่วนต่างกำไรจากการเปลี่ยนมือ บางส่วนก็เก็บไว้เพื่อพัฒนาเป็น "โครงการจัดสรร" สร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต

ส่วนสุดท้ายเก็บกินค่าเช่า ตามแผนสร้างรายได้ระยะยาว เฉพาะส่วนนี้ถือเป็นรายได้ที่ดีมาก เช่น ตึกชินฯ 1-2 ริมถนนพหลโยธิน ตึกชินฯ 3 วิภาวดีฯ ตึกไอเอฟซีที เพชรบุรีตัดใหม่ (ที่ตั้งของพรรคไทยรักไทย) ฯลฯ

เมื่อรวบรวมทรัพย์สินในมือทั้งหมดเสร็จเรียบร้อย เป้าหมายต่อไปของคุณหญิงอ้อคือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ

บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รหัสย่อ SC จึงเกิดขึ้นด้วยความฝันของเธอที่ต้องการจะรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มตัว เช่นเดียวกับนักพัฒนาที่ดินรายอื่นๆ

ขณะนั้นต้องยอมรับว่า บริษัทเอสซีฯของตระกูล "ชินวัตร" กำลังเป็นข้าวขึ้นหม้อ เพราะนักลงทุนรายใหญ่รายย่อยให้ความสนใจกันมาก แม้กระทั่งสื่อมวลชนสายอสังหาฯ (เฉพาะกลุ่ม) ก็สนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

เอสซี แอสเสทฯ ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ทั้งก่อนและหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปลายปี 2547 ด้วยเหตุผลว่า "บริษัทนี้เป็นของครอบครัวนายกฯ"

เอสซี แอสเสทฯ เป็นบริษัทพัฒนาที่ดินที่พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทขายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงานให้เช่า

และยังคงเน้นความเป็นผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้แนวคิด "i-home" หรือบ้านฉลาดที่มีการนำระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโฮมออโตเมชั่นควบคุมการสั่งการทำงาน อาทิ การเปิด-ปิดไฟ ระบบกันขโมย ป้องกันอัคคีภัย ด้วยโทรศัพท์มือถือ

ปัจจุบันมีโครงการที่เปิดขายรวม 4 โครงการ ได้แก่ บ้านเดี่ยว บางกอก บูเลอวาร์ด พระรามที่ 5, บางกอก บูเลอวาร์ด รามอินทรา เฟสต่อขยาย, ทาวน์เฮ้าส์วิสต้า ปาร์ค วิภาวดีรังสิต, วิสต้า ปาร์ค วัชรพล, คอนโดมิเนียม เซ็นทริคซีน พหลโยธิน

ในปีนี้เอสซี แอสเสทฯ ได้เปิดตัวโครงการ บ้านเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น คือ บางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ บ้านเดี่ยว 116 ยูนิต เนื้อที่ 39 ไร่ เริ่มต้นที่ 4 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 800 ล้านบาท รวมถึงมีแผนจะเปิดตัวโครงการทาวน์โฮม "วิสต้า ปาร์ค" ย่านประชาชื่น บนเนื้อที่ 11 ไร่เศษ มูลค่าโครงการ 350 ล้านบาท ในช่วงไตรมาสที่ 4

เมื่อคิดเป็นตัวเลขกลมๆ ตามมาร์เก็ตแคปของหุ้น SC พอร์ตนี้มีมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท ถ้าราคาหุ้นเหลือไม่ถึงสิบบาทหลังเกิดปฏิวัติ มาร์เก็ตแคปก็แคบลงอีกเหลือไม่กี่พันล้าน

ที่น่าสนใจ เมื่อเกิด "ปรากฏการณ์" กลุ่มทุนสิงคโปร์ "เทมาเส็ก" ได้เข้าซื้อหุ้นจำนวน 43.1% จากกลุ่ม "ชินคอร์ปอเรชั่น" ซึ่งเป็นพอร์ตธุรกิจสื่อสารไม่ทันใด

ในเดือนมีนาคม 2549 บมจ.เอสซี แอสเสทฯ ได้ประกาศปรับองค์กรครั้งใหญ่และปรับภาพลักษณ์หรือรีแบรนดิ้งเป็นครั้งแรก

เป้าหมายเพื่อต้องการสลัดภาพ "ด้านลบ" จากปัญหาทางการเมืองที่โดนกระหน่ำทุกหย่อมหญ้า

พร้อมๆ กับปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหาร สูงสุด "ประธานกรรมการบริหาร" จาก "บุษบา ดามาพงศ์" มาเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" น้องสาวคนเล็กของ พ.ต.ท.ทักษิณที่สวยและใส

"ทั้งยังเป็นน้องสามีเพียงคนเดียวที่คุณหญิงอ้อเอ็นดูและไว้ใจมากที่สุด"

ซึ่งก่อนหน้านี้เธอเพิ่งย้ายมาจากค่ายเอไอเอส เจ้าของธุรกิจมือถือเครือชินคอร์ป เรียกว่า เป็นการย้ายข้ามห้วยจากการดูแลธุรกิจเชิงสากล มาสู่การดูแลธุรกิจส่วนตัวให้พี่สะใภ้และหลานๆ (โอ๊ค เอม อิ้ง)

โดยใจเธอก็ประหวั่นพรั่นพรึงว่า จะทำงานได้ไม่ค่อยดี เพราะธุรกิจขายมือถือกับธุรกิจขายบ้านเป็นหลังๆ มันช่างต่างกันมาก ทั้งตัวสินค้าและกลุ่มคนซื้อ

15 พฤษภาคม 2549 คือวันเปิดตัวครั้งแรกของ "ซีอีโอหญิง" ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บนชั้น 14 ตึกชินวัตร 3 ด้วยบรรยากาศที่ดูสบายๆ

แต่ใครจะรู้ว่า ลึกลงไปแล้วในใจเธอกลับเกร็งสุดๆ เพราะไม่สามารถลบแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากปัจจัยแวดล้อมได้

สมมติว่า ตำแหน่งที่เธอนั่ง มีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มานั่งเป็น "ซีอีโอ" บริหารเอง

รับรองคนที่จะถูกกดดันแทนคือ "สื่อมวลชน" เพราะคุณหญิงอ้อไม่ตอบ ได้แต่ยิ้มและจ้องมองคนอย่างเข้าใจด้วยสไตล์ของเธอ

สไตล์ที่คนจำนวนมากหรือประชาชนทั้งประเทศ แทบไม่เคยได้ยิน "เสียง" ของเธอเลย

ว่า...เป็นเสียงแบบไหน ทุ้ม สูง ดัง ต่ำ ไม่มีใครเดาออก

รู้แค่ว่า เธอเป็นเจ้าของพอร์ตที่ดินรายใหญ่ที่สุดอีกคนหนึ่งในเมืองไทย ที่โตมาจากตึกเล็กๆ ย่านราชวัตร เขตดุสิต

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 25-09-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.