| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 229 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 18-19-2549    อ่าน 11529
 กทพ.ทุ่ม 2 พันล้าน เชื่อม 2 โปรเจ็กต์ยักษ์ "วงแหวนอุตสาหกรรม-วงแหวนด้านใต้"

หลังจากที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้รับโอนโครงการทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ หรือวงแหวนด้านใต้ ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จากกรมทางหลวงมาดำเนินการก่อสร้าง

โดยได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ถึงปัจจุบันงานก่อสร้างมีความคืบหน้าไปมาก โดยเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เนื้องานทั้งหมด 54.47% จากแผน 63.034% ล่าช้าอยู่ 13.609% ตามแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการภายในต้นปี 2550 นี้

เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะทำให้ถนนวงแหวนรอบนอกกาญจนาภิเษกครบวง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดภายในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพื้นที่บริเวณจังหวัดปริมณฑลที่อยู่โดยรอบ กทม.ด้วย

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้ทางถนนวงแหวนด้านใต้สามารถเดินทางเชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆ ได้ด้วย ขณะนี้ กทพ.มีแผนจะก่อสร้างทางเชื่อมต่อกับโครงการวงแหวนอุตสาหกรรม ที่กำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ระยะทาง 800 เมตร โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเดิมที่กรมทางหลวงได้ศึกษาไว้นานแล้ว

โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2549 ที่ผ่านมา กทพ.ได้ทำเรื่องเสนอของบประมาณก่อสร้างโครงการนี้ จากคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,993 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างวงเงิน 1,596 ล้านบาท ค่าออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างวงเงิน 32 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดินวงเงิน 365 ล้านบาท

ปัจจุบัน กทพ.อยู่ระหว่างรอพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน คาดว่าอีก 3 เดือนพระราชกฤษฎีกาเวนคืนจะมีผลบังคับใช้ ล่าสุดตัวร่างได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว

กทพ.คาดว่าหลังจากที่พระราชกฤษฎีกาเวนคืนประกาศอย่างเป็นทางการแล้ว ประมาณต้นปี 2550 จะเริ่มเข้าไปสำรวจพื้นที่ที่จะเวนคืน เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าในพื้นที่ก่อสร้างจะมีการเวนคืนที่ดินและสิ่งก่อสร้างจำนวนเท่าใด

แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการประเมินในเบื้องต้นโดยกรมทางหลวง พบว่าตลอดระยะทาง 800 เมตร มีพื้นที่ที่จะถูกเวนคืนจำนวน 106 ไร่ เป็นที่ดินเปล่าจำนวน 240 แปลง และสิ่งปลูกสร้างอีก 120 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ย่านชุมชนบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย และวัดหนองหัวเสือ ใช้เวลาเวนคืนประมาณ 12 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2550 เป็นต้นไป

ตามรูปแบบโครงการที่ได้ออกแบบไว้ จะก่อสร้างเป็นทางต่างระดับ มีทางขึ้น-ลงบริเวณต่อเชื่อม คือ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ขนาด 6 ช่องจราจร ใช้เวลาก่อสร้าง 20 เดือน และตามแผนงานที่ กทพ.วางไว้ ส่วนต่อเชื่อมบริเวณนี้จะมีกำหนดเปิดให้ใช้บริการได้ประมาณเดือนกันยายน 2551

เมื่อโครงการนี้เปิดใช้บริการ ผู้ใช้ทางที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจะสามารถใช้ทางต่างระดับเดินทางไปยังถนนสุขสวัสดิ์ และพระรามที่ 3 ได้ หรือผู้ที่เดินทางโดยใช้ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ก็สามารถลงบริเวณนี้ได้ หรือจะใช้ถนนวงแหวนด้านใต้เพื่อไปยังย่านบางนาหรือไปสนามบินสุวรรณภูมิก็ได้

นอกจากนี้ เร็วๆ นี้ กทพ.มีโครงการจะต่อเชื่อมโครงการวงแหวนด้านใต้กับทางด่วนบางนา-ชลบุรี บริเวณทางต่างระดับวัดสลุด เพื่อช่วยให้การเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิยิ่งสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

สำหรับการสร้างทางเชื่อมต่อโครงการวงแหวนอุตสาหกรรมกับโครงการวงแหวนด้านใต้ แม้ว่าจะมีระยะทางสั้นๆ แค่ 800 เมตร แต่เป็นการเปิดมิติใหม่ของการเชื่อมโยงพื้นที่รอบนอกของ กทม.ให้เชื่อมโยงเข้าหากันได้

รวมทั้งเป็นการเปิดเส้นทางใหม่ในการเดินทางไปใช้สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินแห่งใหม่ที่กำลังจะเปิดให้บริการ เพื่อให้เดินทางสะดวกสบายยิ่งขึ้น หลังจากหลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงว่าจะเกิดวิกฤตการจราจรอย่างนักเมื่อสนามบินเปิดใช้บริการแล้ว นอกเหนือจากเชื่อมโยงการเดินทาง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้เดินทางรวดเร็วขึ้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 18-19-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.