| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 182 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-09-2549    อ่าน 11634
 อสังหาฯติดหล่มมาตรการคุมเข้มซื้อที่ดิน ต่างชาติช็อก ! หยุดซื้อขาย-ลงทุน

ประเด็นการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติมีหลากมุมมองทั้งแง่ลบและแง่บวกที่ถกเถียงกันมานาน และถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป ที่เพิ่งจะเป็นข่าวฮือฮาและทำให้ทั้งกับคนไทยและชาวต่างชาติวิตกกังวล คือกรณีที่กระทรวงมหาดไทยโดยกรมที่ดินออกมาตรการคุมเข้ม สั่งการให้สำนักงานที่ดินสาขาทั่วประเทศตรวจสอบการได้มาซึ่งที่ดินของชาวต่างชาติ โดยพุ่งเป้าไปที่นิติบุคคลที่มีคนต่างชาติถือหุ้นเป็นหลัก

แต่ด้วยความที่กำหนดแนวทางในการดำเนินการไม่ชัดเจน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องวิตกจนเกินเหตุก็ตามที ทำให้เรื่องเล็กน้อยบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะเซ็กเตอร์ที่มุ่งเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติจนได้ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วลูกค้าชาวต่างชาติที่เป็นผู้ซื้อบ้านรายย่อยไม่ใช่เป้าหมายในการตรวจสอบ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ อย่างภูเก็ต เกาะสมุย หัวหิน ชะอำ พัทยา ฯลฯ จะออกมาเรียกร้องให้รัฐทบทวนนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเร่งด่วน พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจอสังหาฯ ในเมืองท่องเที่ยวคิดเป็นมูลค่ามหาศาล เนื่องจากการซื้อขาย การจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาฯ ของชาวต่างชาติทั้งระบบหยุดชะงักไปทันที

"ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมมาจนถึงวันนี้ ไม่มีใครกล้าทำธุรกรรมเลย ถือว่าตลาดช็อกไปหมด ทุกอย่างหยุดหมด ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น" "อิทธินันท์ สุวรรณจูฑะ" หุ้นส่วนและทนายความ บริษัทที่ปรึกษากฎหมายกิลเบิร์ท-รีด จำกัด (Gilberte, Reed & Co.,Ltd.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ต้นตอของปัญหามาจากที่กระทรวงมหาดไทยรับลูกข้อเสนอกรมที่ดิน ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ให้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบการได้มาซึ่งที่ดินของนิติบุคคลที่มีคนต่างชาติถือหุ้น โดยระบุว่าได้รับรายงานว่ามีชาวต่างชาติร่วมกับคนไทย หรือว่าจ้างให้คนไทยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจซื้อขายอสังหาฯ โดยใช้วิธีการขอซื้อบ้านและที่ดินเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้เป็นสำนักงาน จากนั้นก็ขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์เป็นขายหรือแบ่งขายให้ชาวต่างชาติด้วยกัน

พร้อมกับชี้ว่ากรณีขายหรือแบ่งขาย หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการได้มาซึ่งที่ดินของชาวต่างชาติที่กำหนดไว้ในกฎหมาย จะถือว่าชาวต่างชาติรายนั้นๆ ถือครองที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นเป็นการถือครองของบริษัทมหาชน หรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถือครองโดยกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือสถาบันการเงิน เป็นต้น

ในการนี้กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม กรณีบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว ขอได้มาซึ่งที่ดิน โดยให้ตรวจสอบว่าหากมีคนต่างชาติถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าให้คนไทยเป็นผู้ถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนถึงรายได้ของผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยทุกคน ว่ามีอาชีพใด รายได้เดือนละเท่าใด และให้แสดงหลักฐานที่มาของรายได้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน

ในการตรวจสอบถ้าเชื่อได้ว่าการขอจดทะเบียนนิติกรรมนั้นเป็นการเลี่ยงกฎหมาย หรือเชื่อได้ว่าจะซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างชาติ ก็ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด แล้วแจ้งต่อกรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรีต่อไป

ขณะเดียวกันได้มีหนังสือซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดอีกครั้ง โดยเน้นให้ตรวจสอบกรณีขอได้มาซึ่งที่ดิน ที่มีวัตถุประสงค์นำไปประกอบธุรกิจอสังหาฯ เช่น ซื้อขาย ให้เช่า ประกอบกิจการโรงแรม บ้านพักตากอากาศ ทั้งนิติบุคคลไทยและนิติบุคคลต่างชาติ ฯลฯ ทั้งเรื่องรายได้ การถือหุ้น งบดุล หลักฐานการถอน, การโอนเงิน ฯลฯ

ถือเป็นการสแกนละเอียดยิบ จนทำให้ นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการจะเข้ามาลงทุนธุรกิจอสังหาฯ โดยไม่มีเจตนาเลี่ยงกฎหมาย หรือชาวต่างชาติที่ต้องการจะซื้อบ้าน ในประเทศไทยหวาดผวา พากันชะลอซื้อขายเป็นแถว จากผลพวงมาตรการเหวี่ยงแหของภาครัฐ ทั้งๆ ที่เป้าหมายหลักคือการสกัดทุนต่างชาติที่เลี่ยงกฎหมาย หรือกระบวนการฟอกเงินที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เดินหน้าสางปัญหาอยู่เวลานี้

"นี่ไม่ใช่กฎหมายใหม่ ประมวลกฎหมายที่ดินมีเรื่องนี้อยู่แล้ว ที่ให้สิทธิ์เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการทำนิติกรรมสำหรับคนต่างชาติที่คิดเลี่ยงกฎหมาย เพียงแต่กรมที่ดินให้เน้นความเข้มงวดมากขึ้น เหมือนกับออกมากำชับให้ผู้ที่ทำส่วนนี้รอบคอบมากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่า เจ้าหน้าที่อาจเข้าใจอะไรผิด ทำให้กระบวนการการทำนิติกรรมหยุดชะงักไปหมด" อิทธินันท์กล่าว

ล่าสุด แม้กรมที่ดินจะทำหนังสือชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 พร้อมกับจัดทำคู่มือการจำหน่ายที่ดินของคนต่างชาติ ซึ่งได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีมีการถือครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือถือครองเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพื่อแก้ไขปัญหาและลดความสับสนที่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้ว่าจะช่วยให้ชาวต่างชาติมีความมั่นใจมากขึ้น และกลับมาลงทุนหรือซื้ออสังหาฯ เหมือนเดิมหรือไม่

เลยไม่รู้ว่าที่ภาครัฐทำมาทั้งหมดนี้ "ได้คุ้มเสีย" หรือเปล่า

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 14-09-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.