| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 117 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-09-2549    อ่าน 11488
 บูม"ลาดกระบัง"1.25หมื่นไร่รับสุวรรณภูมิ กทม.ปั้น"ศูนย์ธุรกิจ-ที่อยู่อาศัย"ชั้นดี

เปิดมาสเตอร์แปลน กทม. ผุดศูนย์ชุมชนย่อยลาดกระบัง เนื้อที่ 12,500 ไร่ รองรับสนามบินสุวรรณภูมิ วาดแผนระยะยาว 30 ปี ตั้งแต่ปี"49-78 บูมพื้นที่เกาะแนวถนนมอเตอร์เวย์ ร่มเกล้า อ่อนนุช หวังดันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการบริหารการปกครอง ย่านที่อยู่อาศัยชั้นดีพื้นที่ชานเมืองและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ใช้วิธีจัดซื้อ-จัดรูปที่ดินรอพัฒนาล่วงหน้า พร้อมออกข้อบัญญัติควบคุมอาคารและกฎหมายผังเมืองคุมเข้มการใช้ประโยชน์ที่ดิน

แหล่งข่าวจากสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ทางไจก้าได้จัดทำโครงการการศึกษาและวางผังเพื่อจัดตั้งศูนย์ชุมชนย่อยชานเมืองลาดกระบังเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยพื้นที่ศึกษาครอบคลุมเนื้อที่ทั้งหมด 12,500 ไร่ อยู่บริเวณด้านทิศเหนือของสนามบินสุวรรณภูมิ ติดกับถนนมอเตอร์เวย์ ถนนร่มเกล้า ถนนเจ‰าคุณทหาร และถนนอ่อนนุช ห่างจากศูนย์กลางกรุงเทพฯออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 30 กิโลเมตร

เป้าหมายในการศึกษาก็เพื่อให้เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์ชุมชนชานเมือง รองรับการพัฒนา กทม. ในรูปแบบของเมืองหลายศูนย์กลาง และต้องการจะให้เป็นประตูสู่สนามบินสุวรรณภูมิ และสร้างศูนย์กลางการเพิ่มมูลค่าการผลิตให้กับสินค้าอุตสาหกรรมของไทย และอำนวยความสะดวกให้กับนักธุรกิจ โดยปรับเปลี่ยนบทบาทจากด้านการผลิตและการประกอบชิ้นส่วน มาเป็นการวิจัย การพัฒนาและการออกแบบผลิตภัณฑ์แทน

แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจุบันสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณดังกล่าว พื้นที่บริเวณด้านเหนือของมอเตอร์เวย์มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเบาบาง นอกนั้นเป็นพื้นที่เกษตร กรรมและที่ว่างเปล่า มีขนาดแปลงที่ดินค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นจึงกำหนดให้เป็นพื้นที่ที่มุ่งเน้นการวิจัย การพัฒนาและการออกแบบ และเป็นที่อยู่อาศัยในเขตชานเมือง ส่วนด้านใต้ของถนนมอเตอร์เวย์ ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โดยเฉพาะบริเวณริมคลองประเวศบุรีรมย์ ผสมผสานกับพื้นที่ว่าง เหมาะที่จะพัฒนาระบบนิเวศคลองประเวศบุรีรมย์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงนิเวศ

สำหรับแนวคิดของแผนพัฒนาศูนย์ชุมชนลาดกระบัง บริเวณตอนบนของถนนมอเตอร์เวย์ กำหนดให้เป็นบริเวณเพื่อการวิจัย การพัฒนาและการออกแบบ และเป็นย่านที่อยู่อาศัยชั้นดีบริเวณชานเมือง โดยแนวทางในการพัฒนา คือ ส่งเสริมบทบาททางด้านการวิจัย การพัฒนาและการออกแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมไทย เน้นบทบาททางด้านเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่ ยานยนต์ เทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสารข้อมูลและอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านการแพทย์ ซึ่งสัมพันธ์กับลอจิสติกและข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสร้างบรรยากาศในการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทให้มีแหล่งค่าขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้เป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีในพื้นที่ชานเมืองส่วนบริเวณตอนล่างของมอเตอร์เวย์ ให้เป็นย่านอนุรักษ์วิถีไทยในบริเวณชุมชนริมคลอง ด้วยการเชื่อมโยงคลอง วัด ตลาดน้ำ และการเดินทางโดยทางน้ำ ให้มีกิจกรรมต่อเนื่องกัน สร้างบรรยากาศบริเวณพื้นที่ริมคลองให้มีชีวิตชีวา ดำรงรักษาชุมชนริมคลองตามแนวทางวิถีไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวรายวัน เนื่องจากคาดว่าจะมีผู้โดยสารจากสนามบินสุวรรณภูมิไม่ต่ำกว่า 45 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้จะจัดสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับพนักงานและลูกจ้าง ที่ทำงานในสนามบินในราคาที่เหมาะสมตามกำลังความสามารถ

"เรากำหนดบทบาทของศูนย์ชุมชนลาดกระบังให้เป็นเมืองย่อยๆ รองรับกับสนามบินสุวรรณภูมิ ให้มีบริการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเมือง สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการบริการการปกครอง เป็นย่านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมือง และเป็นแหล่งที่พักอาศัยของคนที่ทำงานในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ในด้านการพัฒนา เนื่องจากพื้นที่ศึกษามีขนาดค่อนข้างใหญ่ ได้มีการวางกรอบการพัฒนาออกเป็นระยะๆ ภายในเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2549-2578 แบ่งเป็น 6 ช่วง คือ ระยะที่ 1 ปี 2549-2553 ระยะที่ 2 ปี 2554-2558 ระยะที่ 3 ปี 2559-2563 ระยะที่ 4 ปี 2564-2568 ระยะที่ 5 ปี 2569-2573 และระยะที่ 6 ปี 2574-2578 ซึ่ง กทม.จะทยอยพัฒนาไปเรื่อยๆ

"ตามผลการศึกษาส่วนที่ กทม.จะต้องดำเนินการก็คือ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยงบประมาณของ กทม.เอง บริเวณที่จะมีการพัฒนาขึ้นใหม่ จะใช้วิธีจัดซื้อที่ดินล่วงหน้า และจัดรูปที่ดิน บริเวณไหนที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น จะมีการควบคุมการพัฒนาพื้นที่ โดยการออกข้อกำหนดควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น ข้อบัญญัติควบคุมอาคาร หรือระเบียบภายใต้อำนาจของกฎหมายผังเมือง"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ส่วนโครงข่ายคมนาคมขนส่ง จะมี 2 รูปแบบ คือ โครงข่ายการขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยจัดที่ให้เหมาะสมและระบบรถโดยสารเสริม ที่ให้บริการระหว่างพื้นที่ศูนย์ชุมชนลาดกระบังกับสนามบินสุวรรณภูมิ ตามผลการศึกษาได้เสนอทางเลือกไว้ 3 ประเภท คือ 1.ระบบขนส่งสาธารณะขนาดกลาง เป็นระบบที่เชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าบีทีเอส จากบริเวณสถานีอ่อนนุช ผ่านศูนย์ชุมชนชานเมืองลาดกระบัง แล้วเลยขึ้นไปยังย่านมีนบุรี

2.ระบบขนส่งสาธารณะเสริม เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟของการรถไฟฯ บริเวณศูนย์ชุมชนชานเมืองลาดกระบัง ผ่านเข้าสู่พื้นที่ของศูนย์ชุมชนลาดกระบัง 3.ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ใจกลางเมืองของ กทม.กับศูนย์ชุมชนชานเมืองลาดกระบัง ด้านโครงข่ายถนน เสนอให้มีเส้นทางถนนสาย หลักสายใหม่ภายในศูนย์ชุมชน เชื่อมระหว่าง ถนนอ่อนนุชกับถนนสุขาภิบาล 2 ถนนร่มเกล้า เป็นต้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 14-09-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.