| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 69 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 31-08-2549    อ่าน 15080
 ธุรกิจใหม่พรึ่บเกาะแนวรถไฟฟ้า คอนโด-ออฟฟิศจ่อขึ้น100ตึก

"บีเอ็มซีแอล" เปิดข้อมูลสำรวจอสังหาฯเกาะแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดิน ชี้คอนโดฯ-ศูนย์เอ็น เตอร์เทนเมนต์กระจุกตัวมากสุด เผยในรัศมี 1 ก.ม. มีโครงการเกิดใหม่ 105 ราย เร่งศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคหลังย้ายการอยู่อาศัยเข้าเขตเมือง หวังทำกิจกรรมการตลาดดึงคนใช้รถไฟฟ้าเพิ่มอีก 5-10% ชี้ 3 สถานีต่อเชื่อม "สุขุมวิท-จตุจักร-สีลม" คึกคักสุดๆ ค่ายเจ้าพ่อคอนโดฯแอล.พี.เอ็น.ฯติงค่ารถไฟฟ้าแพง เจ้าของสัมปทานต้องหั่นราคาเรียกลูกค้า

พล.ต.ชาติชาย ประดิษพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่กิจกรรม บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา บริษัทได้สำรวจที่อยู่อาศัยเกิดใหม่ตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอส ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 โดยบริษัทได้ลงทุนซื้อระบบแผนที่ GIS ในการดูภาพรวมทั้งหมด ว่ามีที่ไหนบ้างและให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้าไปสำรวจในพื้นที่จริงอีกด้วย

"พบว่ามีโครงการเกิดใหม่จำนวนมาก ทั้งที่กำลังจะเปิดให้เข้าอยู่อาศัยและอยู่ระหว่างก่อสร้าง ประมาณ 105 ราย ในรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากสถานีรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบีทีเอส โดยกระจายไปตามย่านต่างๆ แบ่งเป็นตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 57 ราย รถไฟฟ้าบีทีเอส จำนวน 48 ราย"

จากการมีที่อยู่อาศัยเกิดใหม่จำนวนมากตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน คนเริ่มโยกย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ทำให้พฤติกรรมของคนเริ่มเปลี่ยนไป หันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นในการเดินทางไปทำงานหรือไปทำธุระนอกบ้าน เนื่องจากบ้านที่พักอาศัยหรือที่ทำงานอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า นอกจากนี้แหล่งช็อปปิ้ง โรงแรม สถานบันเทิงต่างๆ ปัจจุบันเริ่มมีการเปิดตามแนวรถไฟฟ้าเช่นกัน เช่น โครงการ จัตุรัสจามจุรีที่อยู่ใกล้สถานีสามย่าน เป็นต้น

"ตั้งแต่เปิดให้บริการรถไฟฟ้ามา ช่วงแรกอาจจะยังมีไม่มากเท่าไหร่ แต่เริ่มค่อยๆ น้ำซึมบ่อทรายมาเรื่อยๆ จนเดี๋ยวนี้เป็น 100 กว่าโครงการ ซึ่งจากทั้งหมดนี้มีทั้งเป็นคอนโดมิเนียม สำนักงาน สถานบันเทิง ซึ่งคนจะเยอะขึ้นจากเดิมมาก เราคิดว่าได้ ผู้โดยสารจากตรงนี้เพิ่มขึ้นมาประมาณ 5-10% จากยอดผู้โดยสารที่มาใช้บริการอยู่ในปัจจุบันเกือบ 2 แสนเที่ยวต่อวัน"

พล.ต.ชาติชายกล่าวต่อว่า การที่บริษัทต้องสำรวจ เพื่อนำผลสำรวจนี้มาพัฒนาด้านกิจกรรมทางการตลาด ว่าจะสามารถเพิ่มผู้โดยสารได้จากอะไรบ้าง เนื่องจากมีคนกลุ่มใหม่เกิดขึ้น และบริษัทจะทำกิจกรรมการตลาดอย่างไร เพื่อให้คนที่อยู่โดยรอบ มาใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงในส่วนของบีทีเอสด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมผู้โดยสารให้กับบริษัทด้วย เพราะมีสถานีต่อเชื่อมร่วมกันที่สามารถเสริมกันและกัน คนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอสบางคนมาต่อเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน คือสถานีสุขุมวิท สถานีจตุจักร และสถานีสีลม

สำหรับโครงการเกิดใหม่ตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีบางซื่อ โครงการฟื้นฟูเมือง (urban renewal) ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พื้นที่ 105 ไร่ เป็นที่พักอาศัย 6-7 อาคาร อาคารละ 16 ชั้น จำนวน 10,000 หน่วย สถานีกำแพงเพชร โครงการเจเจมอลล์ ตลาดนัดติดแอร์ พื้นที่ 12 ไร่เศษ สถานีจตุจักร โครงการพัฒนาที่ดินราช พัสดุบริเวณหมอชิตเก่าที่จอดรถของกรมธนารักษ์ 63 ไร่ มูลค่าโครงการ 19,000 ล้านบาท โครงการศูนย์พลังงานแห่งชาติบริเวณ ก.ม.11 หลัง ปตท. พื้นที่ 28 ไร่เศษ เป็นอาคารสำนักงาน 28 และ 24 ชั้น สถานีพหลโยธินโครงการศุภาลัยปาร์ค พื้นที่ 10 ไร่ พหลโยธินซอย 21 ของบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) คอนโดมิเนียมสูง 33 ชั้น จำนวน 3 อาคารและที่จอดรถสูง 11 ชั้น 1 อาคาร 828 ยูนิต

สถานีลาดพร้าว คอนโดวัน ลาดพร้าวซอย 15 พื้นที่ 3 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 9 ชั้น 1 อาคาร 87 ยูนิต คอนโดวัน ลาดพร้าว 18 พื้นที่ 1 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 9 ชั้น 1 อาคาร 175 ยูนิต โครงการเดอะเซส (The Zest) ลาดพร้าวซอย 7 พื้นที่ 1 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 25 ชั้น 1 อาคาร 153 ยูนิต โครงการเดอะไรท์ (The Light) อาคารพักอาศัย 20 ชั้น 1 อาคาร 170 ยูนิต โครงการเดอะพัลซ์ (The Pulse) ลาดพร้าวซอย 44 พื้นที่ 1 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 9 ชั้น 1 อาคาร 202 ยูนิต

สถานีสุทธิสาร โครงการเดอะคริส รัชดา รัชดาภิเษกซอย 17 พื้นที่ 8 ไร่ อาคารพักอาศัย 8 ชั้น 7 อาคาร กว่า 700 ยูนิต โครงการบูติกรัชดา รัชดาภิเษกซอย 17 พื้นที่ 2 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 8 ชั้น 1 อาคาร 292 ยูนิต โครงการรัชดาซิตี้ 18 อาคารพักอาศัย 9 ชั้น 5 อาคาร

สถานีห้วยขวาง โครงการข้างโรงเรียนกุนนที อาคารสำนักงานและพักอาศัย 7 ชั้น 1 อาคาร โครงการจอห์นนี่ทาวเวอร์ ประชาอุทิศซอย 83 พื้นที่ 1 ไร่เศษ คอนโดมิเนียมสูง 13 ชั้น จำนวน 1 อาคาร 216 ยูนิต โครงการชาโตว์ อิน ทาวน์ คอลเลจ รัชดา รัชดาภิเษก 13 พื้นที่ 1 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 8 ชั้น 2 อาคาร 292 ยูนิต โครงการซิตี้โฮม รัชดาภิเษกซอย 10 พื้นที่ 13 ไร่ อาคารพักอาศัย 8 ชั้น 10 อาคาร 1,429 ยูนิต โครงการซิตี้ ลิฟวิ่ง รัชดา ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ 12 พื้นที่ 1 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 17 ชั้น 1 อาคาร 181 ยูนิต โครงการบ้านกลางกรุงรีสอร์ท รัชดาภิเษกซอย 7 พื้นที่ 5 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 8 ชั้น 6 อาคาร 443 ยูนิต โครงการลุมพินีวิลล์ ศูนย์วัฒนธรรม ถนนประชาอุทิศ ห่างจากแยก เหม่งจ๋าย 200 เมตร พื้นที่ 12 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 8 ชั้น 9 อาคาร 1,324 ยูนิต

สถานีศูนย์วัฒนธรรม โครงการอมันตา รัชดา ข้าง ป.กุ้งเผา พื้นที่ 7 ไร่ อาคารพักอาศัย 7 ชั้น 5 อาคาร โครงการเอสพลานาส ฝั่งตรงข้ามอาคารจอดรถสถานีศูนย์วัฒนธรรม เป็นเอ็นเตอร์เทน เมนต์คอมเพล็กซ์ โครงการตึกร้างรัชดาสแควร์ อาคารสำนักงานและที่พักอาศัย โครงการพื้นที่ 11 ไร่ ตรงข้ามห้างคาร์ฟูร์ของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เป็นออฟฟิศบิลดิ้งและเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ โครงการเดอะรูม สุขุมวิท 79 พักอาศัย 3 อาคาร โครงการคอนโดวัน เอ็กซ์ สุขุมวิท 26 พักอาศัย 28 ชั้น โครงการแมนฮัตตัน ชิดลม ถนนเพชรบุรี ใกล้แยกประตูน้ำ พักอาศัย 34 ชั้น โครงการฟลูเลอตัน สุขุมวิท ระหว่างซอย 59 และ 61 พักอาศัย 37 ชั้น โครงการแฮมป์ตัน ทองหล่อ 10 พักอาศัย 30 ชั้น โครงการโนเบิลรีมิกซ์ สุขุมวิท 36 พักอาศัย 33 ชั้น โครงการเดอะพาร์คชิดลม พักอาศัย 2 อาคารสูง 28 และ 35 ชั้น เป็นต้น

สถานีพระรามที่ 9 อาคารภคินท์ ข้างห้างโลตัส เป็นอาคารสำนักงาน 12 ชั้น 1 อาคาร โครงการเซ็นทรัล พระราม 9 ฝั่งตรงข้ามห้างฟอร์จูน โครงการเดอะเมโทร ตรงข้ามห้างโลตัส อาคารพักอาศัย โครงการไอ-เฮ้าส์ ลากูนา การ์เด้น ถนนรอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย-พระราม 9 พื้นที่ 9 ไร่เศษ อาคารชุดพักอาศัย 8 ชั้น 4 อาคาร 1,129 ยูนิต

สถานีเพชรบุรี โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ พื้นที่ 500 ไร่ โครงการเดอะกรีนไนน์ พระราม 9 ตรงข้ามโรงแรมเรดิสัน พื้นที่ 18 ไร่ คอนโดมิเนียมสูง 8 ชั้น 9 อาคาร 1,550 ยูนิต อาคารพัฒนานวัตกรรมและบริการวิชาความรู้สู่ชุมชน สุขุมวิทซอย 21 อาคาร 17 ชั้น โครงการศุภาลัย พรีเมียร์เพลส อโศก สุขุมวิท 21 พื้นที่ 2 ไร่ อาคารพักอาศัย 28 และ 30 ชั้น โครงการแกรนด์พาร์ควิว สุขุมวิท 21 พื้นที่ 3 ไร่เศษ พักอาศัย 32 ชั้น 1 อาคาร 481 ยูนิต

สถานีสุขุมวิท โครงการเดอะมาสเตอร์ เซ็นเธรี่ยม สุขุมวิท 21 พื้นที่ 2 ไร่ พักอาศัย 27 ชั้น 1 อาคาร 79 ยูนิต โครงการอโศก คอมเพล็กซ์ สุขุมวิท 21 สำนักงาน 35 ชั้น โครงการซิตี้สมาร์ท สุขุมวิท 18 อาคารพักอาศัยของบริษัท เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ โครงการมิลเลนเนียมสุขุมวิท แยกอโศก โรงแรม 27 ชั้น โชว์รูมรถฟอร์ด แยกอโศก เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และศูนย์การค้าของบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โครงการ The Column สุขุมวิท 16 อาคารสำนักงาน 42 ชั้น 1 อาคาร โครงการเดอะเลคคอนโดมิเนียม ปากซอยสุขุมวิท 16 อาคารพักอาศัย โครงการ Crown Place Hotel สุขุมวิท 27 โรงแรม โครงการโซฟิเทล เรสซิเดนท์ อโศก สุขุมวิท 19 โรงแรม

สถานีคลองเตย โครงการลุมพินีเพลส พระรามที่ 4-สาทร พื้นที่ 2 ไร่เศษ อาคารชุดพักอาศัยสูง 9 ชั้น จำนวน 2 อาคาร 231 ยูนิต

สถานีลุมพินี โครงการสวนลุมไนท์บาซาร์แยกวิทยุ 126 ไร่ คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ โครงการบ้านสมประสงค์ ซอยมหาดเล็กหลวง 3 พื้นที่ 3 ไร่เศษ อาคารพักอาศัย 34 ชั้น 1 อาคาร 220 ยูนิต โครงการบ้านสิริเย็นอากาศ ซอยเย็นอากาศ พื้นที่ 481 ตารางวา อาคารสูง 8 ชั้น 1 อาคาร 79 ยูนิต โครงการเดอลาไนสาทร ถนนเย็นอากาศ ซอย 2 คอนโดมิเนียมสูง 8 ชั้น 1 อาคาร 34 ยูนิต โครงการสาทรพลัส บายเดอะการ์เด้น ริมถนนเย็นอากาศ สาทร เยื้องซอยเย็นอากาศ 1 คอนโดมิเนียม 9 ชั้น 1 อาคาร 70 ยูนิต โครงการสาทรพลัส ออนเดอะพอนด์ ริมถนนเย็นอากาศ คอนโดฯสูง 9 ชั้น 1 อาคาร 77 ยูนิต โครงการบ้านนันทสิริ แยกซอยนันทา สาทรซอย 1 คอนโดฯสูง 7 ชั้น 1 อาคาร 79 ยูนิต โครงการศุภาลัยโอเรียนทัลเพลส สาทร-สวนพลู พื้นที่ 2 ไร่เศษ คอนโดฯสูง 20 ชั้น 1 อาคาร 302 ยูนิต โครงการ The Bangkok ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ พื้นที่ 8 ไร่เศษ คอนโดฯสูง 8 ชั้น 5 อาคาร 294 ยูนิต

สถานีสีลม โครงการสีลมแกรนด์เทอเรส ถนนศาลาแดง คอนโดฯสูง 21 ชั้น 226 ยูนิต โครงการสีลมเทอเรส ถนนศาลาแดง คอนโดฯสูง 25 ชั้น 137 ยูนิต โครงการบ้านสิริสีลม ซอยศรีเวียง คอนโดฯสูง 25 ชั้น 137 ยูนิต

สถานีสามย่าน โครงการจัตุรัสจามจุรี (จุฬา ไฮเทคสแควร์) พื้นที่ 21 ไร่ พักอาศัย 23 ชั้น และสำนักงาน 40 ชั้น โครงการ The Bangkok ถนนทรัพย์ พื้นที่ 3 ไร่เศษ คอนโดฯ 8 ชั้น 3 อาคาร 155 ยูนิต

โครงการตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส อาทิ ที่ดินสถานทูตอังกฤษ ถนนเพลินจิต-วิทยุ คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ของเซ็นทรัลกรุ๊ป โครงการเพลินจิตอาเขต โครงการวิรันดาเรซิเดนท์ ซอยกำเนิดทรัพย์ 1 เพชรพระราม โครงการดิ เอ็มโพริ โอเพลส ถนนสุขุมวิทซอย 24 คอนโดฯสูง 8 ชั้น 77 ยูนิต โครงการมิลเลนเนียมเรสซิเดนซ์ สุขมวิทซอย 16-20 โครงการโนเบิลแอมเบียนส์ ถนนสารสิน โครงการโนเบิลแอมเบียนส์ ถนนร่วมฤดี โครงการเลอรัฟฟิเน่ ชมพูทวีป สุขุมวิท 39 โครงการเดอะพาโน พระรามที่ 3 ติดแม่น้ำเจ้าพระยา

โครงการเอ็มไพร์เพลส ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ซอย 4 ที่พักอาศัย 45 ชั้น 440 ยูนิต โครงการซิตี้โฮม สุขุมวิทซอย 101/2 ที่พักอาศัย 25 ชั้น 1 อาคาร 8 ชั้น 5 อาคาร โครงการ เซ็นหลุยส์แกรนด์เทอเรส สาทรซอย 11 คอนโดฯสูง 28 ชั้น 240 ยูนิต โครงการโนเบิล 09 ร่วมฤดี ถนนเพลินจิต ที่พักอาศัย 2 อาคาร อาคารละ 8 ชั้น โครงการณุศาสิริ แกรนด์คอนโด สุขุมวิท-เอกมัย ถนนสุขุมวิท 42 พักอาศัย 2 อาคาร สูง 28 และ 22 ชั้น โครงการลุมพินีวิลล์ สุขุมวิท 77 ที่พักอาศัย 23 ชั้น โครงการสุขุมวิทพลัส ตรงข้ามซอย 71 ที่พักอาศัย 2 อาคาร อาคารละ 7 ชั้น โครงการเปรมสิริ บูติค พาร์ค ถนนเกษตร-นวมินทร์ อาคารชุดพักอาศัย 9 ชั้น 4 อาคาร

นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัญหาของรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีผู้มาใช้บริการน้อยนั้น ส่วนตัวเห็นว่าเป็นเพราะระยะทางที่ให้บริการประชาชนนั้นสั้นเกินไปและไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประกอบกับค่าบริการที่จัดเก็บในปัจจุบันแพงเกินไป ทำให้ไม่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคมาใช้บริการได้

ในฐานะผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และมีการพัฒนาโครงการเพื่อขายอยู่ในรอบๆ รัศมีรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน เห็นว่ากิจกรรมการตลาดที่จะเข้ามาเสิร์ฟให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในโครงการอาคารชุดหันมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องลดราคาค่าโดยสารลง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งขยายระยะทางการให้บริการออกไปให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่ หรือจัดบริการขนส่งมวลชนจากที่ตั้งโครงการไปยังสถานีรถไฟฟ้าเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ในเรื่องนี้บริษัทได้วางแผนและลอนช์คอนเซ็ปต์เอ็กซ์เพรสออกมาให้บริการลูกค้าไว้แล้ว หากก่อสร้างแล้วเสร็จและโอนให้ลูกค้าเข้าอยู่ก็จะมีรถชัตเตอร์บัสบริการ

"ถ้าต้องการให้ผู้โดยสารใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ผมว่าน่าจะจัดแคมเปญลดราคาเหมือนที่เคยทำมา เพราะค่าโดยสารวันนี้ถือว่าถูกสำหรับคนคนเดียว แต่ถ้ามาเป็นกลุ่มมากกว่า 3 คน รถแท็กซี่จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่ารถไฟฟ้า" นายโอภาสกล่าว

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 31-08-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.