| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 84 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-08-2549    อ่าน 11570
 อ่านอนาคตเศรษฐกิจ-ธุรกิจรับเหมา แนะทางรอดยุค เมกะโปรเจ็กต์ เกิดยาก

จากปัจจัยลบหลากหลายทั้งภาวะราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ หรือการเมืองที่ยังคุกรุ่นอยู่ ทำให้สภาพเศรษฐกิจปีนี้ดูไม่สดใส เมื่อถามความเห็นจากผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างส่วนใหญ่ให้ความเห็นคล้ายๆ กันว่า เป็นปีที่ทำธุรกิจ "ยากลำบาก" ขึ้น

ที่ผ่านมาปัญหาเบิกเงินงวดล่าช้าหรือการทิ้งงานจึงเริ่มโผล่ให้เห็นเป็นจุดๆ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าในภาวะแบบนี้ผู้รับเหมาจะต้องปรับตัวอย่างไร !

ล่าสุด สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การนำของ "พลพัฒ กรรณสูต" นายกสมาคมได้จัดงานดินเนอร์ทอล์กในหัวข้อ "ผู้รับเหมากับภาวะเศรษฐกิจ" โดยเชิญ "ดร.จีรศักดิ์ พงศ์พิษณุพิจิตร์" คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาบรรยายถึงสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และวิเคราะห์ทิศทางในอนาคต รวมถึงแนะแนวทางรับมือ

เปิดประเด็นการบรรยาย อาจารย์จีรศักดิ์เปรียบเทียบเศรษฐกิจในขณะนี้ว่าเป็นระบบ "ไอซียู"

สรุปคือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะมีทั้งปัจจัยลบภายใน-ภายนอกรวมถึง "การก่อการร้าย" ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม

ดังนั้นเมื่อพิจารณาแนวโน้มอัตราเติบโตจีดีพีในปีนี้ หลายฝ่ายจึงคาดการว่าจะลดลงเหลือ 4.7-4.8% ตัวแปรหนึ่งก็คือ การที่จีนออกมาแตะเบรกเศรษฐกิจของตัวเอง ไม่ให้เติบโตเกินกว่า 10%

กรณีนี้ถือว่ามีผลพอสมควร เนื่องจากช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่จีนบอกว่าเศรษฐกิจเติบโตในอัตรา 9-9.5% ต่อปี แต่จริงๆ แล้วมีอัตราเติบโตสูงกว่า 10% ต่อปีมาโดยตลอด

ชี้เศรษฐกิจปีหน้าอาจไม่สดใส

กับความเห็นของแนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้าผ่านมุมมองของ ดร.จีรศักดิ์ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ พยากรณ์ว่า อาจยังไม่ดีอย่างที่คิด

โดยยกเหตุผลว่าแม้ตัวเลขการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้จะมีอัตราเติบโตสูงถึง 15% แต่เมื่อพิจารณาถึงภาวะการจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชนกลับลดลง ซึ่งส่งสัญญาณว่าทุกคนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้การซื้อขายสินค้าลดลง และภาวะดังกล่าวยังมีให้เห็นในภาคของผู้ประกอบการ ซึ่งกังวลกับปัญหาราคาน้ำมัน

ตัวเลขที่น่าตกใจคือ ในปีที่ผ่านมาบริษัทน้ำมันทั่วโลกมีกำไรรวมกันกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ทำ ให้ตัดสินใจชะลอการลงทุนออกไป ทั้งที่บางรายเดินเครื่องจักรเกือบเต็มกำลังผลิต กลายเป็นเอฟเฟ็กต์ที่กระทบกับภาครับเหมาก่อสร้างอย่างจัง

สอดรับกับสถิติ "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค" ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา ที่ลดลงจาก 81.1 เป็น 79.6 78.3 77.6 78.5 และ 77.4 ตามลำดับ

เมื่อมองถึง "เมกะโปรเจ็กต์" หรือ "งานก่อสร้างภาครัฐ" ที่เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ก็มีการปรับลดงบประมาณ ลงทุนจากที่เคยตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท บวกกับที่คาดการกันว่าการลงทุนโครงการต่างๆ จะเลื่อนออกไปเป็นปีหน้า ก็ยังต้องจับตา ! เพราะถ้าการเมืองยังไม่นิ่งแบบนี้ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก

เทรนด์ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างปีหน้าจึงถือว่าไม่สดใสนัก

แนะผู้รับเหมาอย่าฟันราคาแย่งงาน

ภายใต้สมมติฐานว่าเศรษฐกิจในปี 2549-2550 ยังชะลอตัวต่อเนื่อง ผู้รับเหมาก่อสร้างจะปรับตัวอย่างไรจึงเป็นสิ่งที่น่าคิด

"ดร.จีรศักดิ์" ชี้ว่าเศรษฐกิจมีโอกาสชะลอตัวไปจนถึงช่วงปลายปีหน้า ก่อนจะเริ่มดีขึ้นในปี 2551 และน่าจะกลับมาสู่ภาวะที่ทุกคนรอคอยในปี 2552 เนื่องได้รับผลจากงานก่อสร้างภาครัฐที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบ

ในแง่ธุรกิจรับเหมานับจากนี้ไปจนถึงปี 2551-2552 บรรยากาศจึงไม่เหมือนในปี 2541-2543

สูตรการบริหารแบบเดิมๆ ที่ใช้การ "ฟัน ราคา" เพื่อรับงาน จึงไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เพราะขณะนี้มีปัจจัย 2 อย่างที่ควบคุมได้ยากคือ "การก่อการร้าย" และ "ราคาน้ำมัน" ไม่นับรวมค่าแรงขั้นต่ำที่มีแนวโน้มต้องปรับขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งงานรับเหมาก่อสร้างถือเป็นธุรกิจที่ต้องใช้คนงานมาก

โดยเฉพาะราคาน้ำมันโอกาสที่จะปรับลดลงแทบไม่เห็น เนื่องจากเศรษฐกิจ "จีน-เวียดนาม-อินเดีย" ยังคงเติบโตต่อเนื่องจึงมีความต้องใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ต้นทุนค่าก่อสร้างหรือราคาวัสดุนับวันจึงมีแต่จะแพงขึ้น

ทางรอดของผู้รับเหมาจึงมี 2 ส่วน 1) ไม่ควรแข่งกันรับงานด้วยการฟันราคา 2) บริหารสภาพคล่องให้ดี

ไม่เช่นนั้นจะเจ๊งแบบไม่เห็นฝั่ง

สะท้อนจากในช่วงที่ผ่านมาเริ่มเห็นการทิ้ง งานของผู้รับเหมาเกิดขึ้น กรณีการรับงานเอกชนจึงควรมีการตกลงเงินค่าประกันความเสี่ยงกรณีราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น คล้ายๆ กับ "ค่าเค" ในงานภาครัฐ แต่ต้องเป็นค่าเคที่สะท้อนความจริง

เพราะโอกาสที่จะเห็นโครงการก่อสร้างภาครัฐในปีหน้าคงมี แต่ไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่ !

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 24-08-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.