| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 79 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-08-2549    อ่าน 11739
 จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา จัดการเพื่อการพัฒนาแบบ "วิน-วิน-วิน" ทั้งผู้เช่าเดิม-รายใหม่-สนง.ทรัพย์สิน

แม้จะยึดมั่นในการปฏิบัติภารกิจและดำเนินนโยบายภายใต้ปรัชญาเศรษฐ กิจพอเพียง ที่เน้นหลักความเป็นธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย เน้นการพัฒนาในเชิงอนุรักษ์ การดำเนินการตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความมั่นคงแบบยั่งยืนเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนด้วยความพอเพียง

แต่ในฐานะเป็นแลนด์ลอร์ดซึ่งมีที่ดินแปลงใหญ่หลายสิบแปลงกระจายอยู่หลากหลายทำเลในย่านใจกลางเมือง คิดเป็นมูลค่ามหาศาล และเป็นที่หมายตาของดีเวลอปเปอร์และนักลงทุนจำนวนมาก ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บอัตราค่าเช่าที่ดินในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่ยังดูไม่ค่อยจะสมน้ำสมเนื้อเท่าใดนัก ทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีภาระหนักในการบริหารจัดการ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีอยู่ให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้เช่าที่ดินรายเดิม

"จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา" ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ เปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงแนว ทางในการบริหารจัดการเพื่อนำพาองค์กรแห่งนี้ไปสู่เป้าหมาย ท่ามกลางข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการนำที่ดินหลายแปลงมาพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งที่ดิน 35 ไร่ริมถนนเจริญกรุง ทำเลทองอีกแห่งหนึ่งที่กลุ่มแลนด์มาร์ค กรุ๊ปของ "สดาวุธ เตชะอุบล" จะแปลงสภาพให้เป็นโปรเจ็กต์ยักษ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในอนาคตอันใกล้นี้

- หลักบริหารจัดการพอร์ตทรัพย์สินทั้งหมด

1) ยึดหลักของความเป็นธรรม เขียนยาวๆ มากไม่ได้ เป็น "ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย" ทั้งความเป็นธรรมของลูกค้าหรือนิติสัมพันธ์ของเขา และความเป็นธรรมของทรัพย์สินฯด้วย

2) การพัฒนาในเชิงอนุรักษ์ อันนี้เป็นความเฉพาะไม่ต้องพูดมากหลายคนก็พอเข้าใจ 3) ดำเนินนโยบายตามรอยพระยุคลบาท ก็คืออะไร ที่เป็นพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราโชบาย เราไม่ทำอะไรที่ขัดและพยายาม เดินตามรอยของท่าน ให้รู้หลัก พอรู้แล้วก็ทำตาม 4) ความมั่นคง คือความยั่งยืนนั่นเอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า sustainability ทำอะไรอย่าให้ล่มสลาย ให้มันยั่งยืน

เราต้องเอาหลักการนี้มาใช้ด้านต่างๆ มีภารกิจด้านกฎหมายด้วย ถ้าไม่ทำตามกฎหมายถือว่าละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเราศึกษาหลักธรรมา ภิบาล หรือ CG-corporate governance ภายใต้ธรรมาภิบาลมีหลักอันหนึ่ง คือ ทำตามกฎหมายเรียกว่า compliance เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เราทำตาม

- แสดงว่ามีนโยบายชัดเจน

เรายึดมาตลอด แต่อาจจะเป็นครั้งแรกที่สำนักงานทรัพย์สินฯพยายามกำหนดนโยบาย และเหมือนกับให้มันออกมาเป็นรูปธรรม เพิ่งออกมา 1-2 เดือนนี่เอง เพราะบางทีความคิดของคนเวลาอยู่ในสมอง ไม่เห็นอะไรบนกระดาษ บางทีก็สับสน ก็ทำให้เห็นเป็นรูปธรรม

- นโยบายปรับปรุงพัฒนาที่ดินเช่า

อย่างที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา 35 ไร่ บริเวณองค์การสะพานปลา (อสป.) ผมก็ลงมาจัดการเป็นช่วงเดียวกับที่มีปัญหาเรื่องคลองถม เลยคิด ว่าน่าจะได้เรียนรู้จากปัญหาคลองถมเพื่อจะ นำมาใช้สำหรับกรณีขององค์การสะพานปลา จริงๆ เราก็ทำอยู่ตลอด ทำไปเรื่อยๆ ไม่เห็นใครจะสนใจ เพิ่งมาสนใจหลังจากที่ทำไปหลายเดือนแล้ว ก็ดี ถ้ามีความสนใจก็มาดูด้วยกัน มาช่วยกันประเมิน เพื่อแก้เท่าที่จะแก้ได้ และสำหรับอนาคตด้วย

- ปัญหาองค์การสะพานปลาจะจัดการอย่างไร

ก็ดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักต่างๆ เราควรจะมีความรู้พอสมควรที่เหมาะสม อาจจะเอารู้ง่ายๆ ว่าพื้นที่ที่กำลังพัฒนาประมาณ 35 ไร่ หนังสือพิมพ์ประชาชาติฯลงไปเรียบร้อยแล้ว เอกชนที่ได้ที่ดินไปเขาสนใจ และเสนอโครงการ เสนอแผนการพัฒนามา ซึ่งเรามองว่าคุ้มค่าเพราะที่ดินผืนนี้อยู่กลางเมือง

แต่ไม่ใช่เราคาดหวังในเรื่องรายได้เพียงอย่างเดียว นโยบายด้านสังคมเราก็ให้ความสำคัญและทำมาโดยตลอด (ประชาชาติธุรกิจ ฉบันวันจันทร์ที่ 14-วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2549)

- การแก้ปัญหาให้กับผู้เช่ารายเดิม

ในการให้เอกชนเข้าไปพัฒนาที่ดินของสำนัก งานทรัพย์สินฯ วิธีการที่เราดำเนินการสม่ำเสมอ คือ พอเราประเมินราคาที่ดินปั๊บ ประเมิน potential และรายได้ที่ควรแบ่งให้เรา ผมยอม ให้หักในส่วนที่เป็นนโยบายของเรา เช่น การ ดูแลผู้เช่าที่อยู่บนที่ดินตรงนี้ การจะไปชดเชย โดยเฉพาะผู้ได้รับความเดือดร้อน ผู้อยู่อาศัย เป็นต้น

ตรงนี้ผมยอมให้เขาหักส่วนที่เขาจะต้องไป ชดเชยหรือดูแลคนเดิม นี่คือหลักที่เราทำมาตลอด ไม่ใช่ว่าสัญญาหมดแล้วไม่ต้องดูแลอะไร

- ที่ดินไพรมแอเรียยังมีอีกเยอะ

ไพรมแอเรียตอนนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่หลังสวน เคสหลังสวนผู้เช่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้เช่าเก่าที่มีพันธะทางใจ ความรู้สึกต่อที่ดินมาก คือได้เช่าอยู่อาศัยมานาน ไม่รู้สึกว่าอยากจะไปจากที่นั่น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทางเราจะต้องไปพูดกับเขา การรวมแปลงน่าจะได้ประโยชน์ ทั้งประโยชน์ในเชิงสังคม และประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ เพราะแปลงเล็กแปลงน้อยไม่ได้อะไรมาก วิธีที่เราไปเจรจากับหลังสวน คือ รวมแปลงกันมั้ย 4-5 แปลง ทำอะไรเป็นชิ้นเป“นอันขึ้นมา เสร็จแล้วผู้เช่าเข้ามาเป็นเจ้าของด้วย วิน-วินด้วยกัน

- ให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

เพราะหลักนโยบายของเราคือต้องทำหน้าที่ เราไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่คิดจะพัฒนาคุณค่า ให้สังคมได้ ผู้พัฒนาได้ สำนักงานทรัพย์สินฯก็ได้ เป็นการจัดการเพื่อพัฒนา

- คนมองว่าเริ่มมีทุนนิยมเข้ามากับเศรษฐกิจพอเพียง ไปกันได้ไหม

ผมคิดว่าอย่างนี้ ในฐานะนักวิชาการผมก็สนใจเรื่องของทุนนิยมว่าเป็นระบบที่มีส่วนดี-ไม่ดียังไง อย่างช่วงก่อนที่จีนจะเปลี่ยน ผมรู้เลยว่าตรงนั้นชัดเจนว่าจีนมีศักยภาพสูงมาก แต่ว่าโรงงานชิ้นส่วน โรงงานประกอบตรงนี้ อยู่ดีๆ ก็ไม่มีใครประกอบ เพราะไม่มีใครสั่งชิ้นส่วน ผมรู้เลยว่ามันไม่เวิร์กแน่

ยุโรปตะวันออกเป็นอย่างนั้น ศักยภาพมีแต่ไม่มีสิ่งที่ unvisible hand หรือ "มือที่มองไม่เห็น" คือการจัดการโดยระบบตลาด คนไปบอกว่าคือระบบทุนนิยม ก็ใช่ คือระบบตลาด เพราะคนมีความจูงใจ และมันก็กลายเป็นทุนนิยมหมด จะเรียกชื่อยังไงก็แล้วแต่

- มีนโยบายขายขาดที่ดินหรือเปล่า

ไม่มี มีน้อยมาก คุณคงไม่เคยได้ยิน "หนองปรือ" พัทยา เพิ่งขายไปสัก 17 ตร.ว. (หัวเราะ) เพราะเหมือนกับพื้นที่รอยต่อที่เขาซื้อไปจัดสรร เมื่อก่อนผมเข้ามา สรุปแล้วมีน้อยมากที่จะขายขาด เพราะเราถือว่าเหมือนกับที่มรดก ไม่อยากจะสูญเสีย ทำอะไรก็ได้ขอเพียงอย่าต้องขาย

- ที่มอบให้หน่วยงานราชการก็มีมาก

ยกตัวอย่าง มีที่เราส่งมอบให้ กทม.ทำถนน (ถนนวิทยุ) ไม่ต้องเช่า ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเวนคืน ตอนนั้นรถติดมาก คืออยู่ถนนวิทยุถ้าจะไปขึ้นทางด่วน บางทีครึ่ง-ชั่วโมง กลางถนนวิทยุผ่าไปต้องไปเจอคน เจอที่ดินเอกชน ซึ่งคนจะมีบอกดี ของทั้งหมดเหล่านี้ แต่ว่า not in my backyard เรียกว่า nimby ผมเคยไปเจอโครงการขยะ บอกว่าทำไม่สำเร็จเพราะว่านิมบี้ นั่นคือ "โครงการนี้ดี แต่อย่ามาทำที่ผม"

- สนง.ทรัพย์สินฯ มีโอกาสเป็นบริษัทจำกัดไหม

ไม่มี เพราะมีกฎหมายตั้งมาเป็นอะไร ก็หวังว่าจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป

- มีหน่วยงานดูแลด้านการลงทุนการพัฒนาที่ดินชัดเจน

มีบริษัททุนลดาวัลย์ดูแลเรื่อง port polio มีเงินสดที่เป็นกองทุน ลองไปบริหารดูที่นี่ กลัวว่าจะไม่มีความสามารถ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ เอ้า...ไปจ้างบริษัททำ แต่มันก็เล็ก port polio ของเราไม่มาก ส่วนด้านอสังหาริมทรัพย์มีบริษัทวังสินทรัพย์ฯเป็นผู้ดูแล

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 17-08-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.