| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 162 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 07-08-2549    อ่าน 11350
 ฟื้นซากตึกร้างติดล็อกดบ.-น้ำมัน-วัสดุ นักช็อปหนาวด้านต้นทุนใหม่พุ่งค้ำคอ

หวั่นแผนฟื้นซากโครงการก่อสร้างค้างเป็นหมัน บิ๊กบอส "ศิริดา กรุ๊ป" บริษัทที่ปรึกษาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และรับบริหารจัดการโปรเจ็กต์อสังหาฯครบวงจรชี้ติดเดดล็อกดอกเบี้ย-ราคาน้ำมัน-วัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น จนทำให้มีความเป็นไปได้ในแง่การลงทุนมีน้อยลง เผยของดีถูกซื้อไปสร้างต่อแล้วเพียบเหลืออีกแค่ 200 โครงการ เตือนแบงก์-เจ้าของเดิม-นักลงทุนรายใหม่ อย่าขายแพง อย่าหวังย้อนยุคช็อปของถูก

นางทิพย์สุดา อาริยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทศิริดา กรุ๊ป เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่บริษัทได้เข้าไปฟื้นฟูซากโครงการร้างที่การก่อสร้างค้างคาอยู่ตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจหลายโครงการ อาทิ เป็นที่ปรึกษาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นที่ปรึกษาในการฟื้นฟูโครงการ รับบริหารจัดการโครงการ รวมทั้งซื้อโครงการมาดำเนินการต่อเอง พบว่ามีปัญหาในทางปฏิบัติเกิดขึ้นหลายอย่าง

ในความเห็นส่วนตัวมองว่านโยบายฟื้นฟูซากตึกร้างของกระทรวงการคลังแม้จะเป็นเรื่องที่ดีแต่น่าจะมีอุปสรรคมาก ที่สำคัญสถานการณ์เศรษฐกิจเวลานี้ไม่เอื้อ โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน ราคาวัสดุก่อสร้าง ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมมาก ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นจนทำให้ความเป็นไปได้ในแง่ของการลงทุนมีน้อยลง

โดยเฉพาะโครงการในทำเลที่ไม่มีศักยภาพ โอกาสจะฟื้นฟูคงไม่มี เห็นได้จากโครงการในทำเลย่านใจกลางเมืองอย่างสาทร สีลม สุขุมวิท รัชดาภิเษก มีนักลงทุนซื้อนำไปปรับปรุงเกือบหมดแล้ว ขณะที่โครงการย่านชานเมืองหรือในทำเลอื่นที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดยังถูกทิ้งร้างไม่มีการนำมาสานต่องานก่อสร้างอีกจำนวนมาก

นางทิพย์สุดากล่าวว่า นอกจากนั้นมีหลายประเด็นที่ลูกหนี้ที่เป็นเจ้าของโครงการ สถาบันการเงิน และนักลงทุนรายใหม่ ต้องเจรจาตกลงร่วมกันให้ได้ โดยเฉพาะเรื่องราคาต้องมีการประเมินมูลค่าโครงการใหม่ และให้เจ้าของโครง การหรือลูกหนี้ สถาบันการเงิน และนักลงทุนรายใหม่ ยอมรับได้ทั้ง 3 ฝ่าย เนื่องจากหลายโครงการต้องปรับรูปแบบใหม่ เพราะแบบเดิมล้าสมัย หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เพราะหากหวังจะขายของแพงหรือหวังจะซื้อของถูกอีกรอบ มาตรการฟื้นซากตึกร้างก็คงเป็นหมัน

อย่างไรก็ตาม ในจำนวนโครงการก่อสร้างค้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่มีอยู่ 508 โครงการ ที่เหลืออยู่ขณะนี้ประมาณ 200 โครงการ หากสามารถผลักดันให้มีการนำมาฟื้นฟูได้ 50% หรือ 100 ตึกภายใน 1 ปี ส่วนที่เหลือก็ทยอยดำเนินการในปีต่อไป จะส่งผลดีต่อทั้งเศรษฐกิจโดยรวมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ทั้งระบบ อีกประมาณ 300 โครงการมีทั้งเจ้าของเดิมนำไปปรับปรุง ขายให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ

"อยากให้ภาครัฐผลักดันนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด เนื่องจากปล่อยไว้นานตัวโครงการก็ยิ่งด้อยค่ามากขึ้น เพราะมีค่าเสื่อมเพิ่มขึ้น แนว ทางที่สามารถทำได้คือเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบรองรับ พร้อมๆ กับนำมาตรการผ่อนปรนการบังคับใช้ระเบียบข้อกฎหมายใหม่ๆ ที่ออกมาหลังวิกฤตเศรษฐกิจ และเป็นอุปสรรคในการที่จะฟื้นฟูโครงการที่ก่อสร้างค้าง เช่น กฎกระทรวง, ประกาศกระทรวงภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอาคารก่อสร้างค้างมีการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ระเบียบข้อกฎหมายที่บังคับใช้ก่อนหน้านั้น"

นางทิพย์สุดากล่าวว่า เท่าที่เคยสำรวจโครงการก่อสร้างค้าง พบว่าหลายโครงการมีปัญหาในตัวมันเอง อาทิ ปัญหาด้านโครงสร้าง เนื่องจากถูกปล่อยทิ้งไว้นานถึง 8-9 ปี หากจะนำมาปัดฝุ่นพัฒนาใหม่อาจต้องเข้าไปสำรวจสภาพอาคาร และเอกสารหลักฐานต่างๆ โดยละเอียด

ที่นักลงทุนค่อนข้างเป็นห่วงคือเรื่องความมั่นคงของฐานรากใต้ดิน ปัญหาเกี่ยวกับงานระบบภาย ในอาคาร หาแบบโครงการไม่เจอ โฉนดที่ดินสูญหายจากที่เจ้าหนี้ไฟแนนซ์ 56 แห่งถูกปิดกิจการ ซึ่งช่วงนั้นในการรื้อย้ายถ่ายโอนเอกสารหลักฐานหลายครั้ง จนทำให้ยากแก่การค้นหา เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้นักลงทุนรายใหม่ที่จะเข้าซื้อโครงการเพื่อนำมาลงทุนต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้มีปัญหาได้ภายหลัง อย่างเช่นหลายโครงการเวลานี้ไม่มีแบบพิมพ์เขียว ทำให้การปรับแบบใหม่ หรือการเข้าไปก่อสร้างของผู้รับเหมาประสบปัญหา

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 07-08-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.