| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 310 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-08-2549    อ่าน 11492
 ยุคบูมตลาดบ้านระดับ กลาง-ล่าง อพาร์ตเมนต์-ออฟฟิศ ยังลอยลำ

ตลาดที่อยู่อาศัยในครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายด้าน ทำให้เกิดอาการ "เป๋" ตามแรงกระเพื่อมของเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสดใสนัก ส่งผลให้จำนวนโครงการที่เปิดตัวใหม่รอบ 6 เดือนแรกปีนี้ไม่ "อู้ฟู่" เหมือน 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่องแต่ก็อยู่ในอัตราที่ลดลง

ส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค "กูรู" ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ต่างเห็นพ้องว่ายังมีอยู่ โดยเพราะโครงการที่ตั้งอยู่ใกล้กับแมส ทรานซิตขนาดใหญ่ที่สามารถเดินทางได้เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลได้สะดวก

บริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยผลสำรวจตลาดบ้านในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาว่า การเปิดตัวโครงการใหม่และความต้องการบ้านในเขต กทม.และปริมณฑลลดลง โดยอ้างตัวเลขของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ระบุว่าจำนวนบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ที่จดทะเบียนใหม่ลดลงเหลือเพียง 4,729 ยูนิต และ 3,049 ยูนิต หรือลดลง 22.6% และ 5.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548

ขณะที่บ้านปลูกสร้างเองยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 29.8% คิดเป็น 6,362 ยูนิต ส่วนใบอนุญาตก่อสร้างที่พักอาศัยใหม่ ไตรมาสที่ 1/2549 มีปริมาณลดลง 2% ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 2.15 พันล้านบาท ขณะที่การปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการมีเพิ่มเป็น 8.7 พันล้านบาท หรือ 24.3% เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่น้อยกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 อยู่ 29%

ด้านอุปทานไตรมาส 1/2549 ปริมาณสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยรวมอยู่ที่ระดับ 60.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9% เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ราคาบ้านโดยเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น 4.5-8.0% ต่อปี

โครงการใหม่เลื่อนเปิด-เน้นตลาดล่าง

"อลิวัสสา พัฒนถาบุตร" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบี ริชาร์ด ให้ความเห็นว่า ครึ่งปีหลังสถาบันการเงินจะมีความรัดกุมมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ และจำนวนลูกค้าที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ในส่วนผู้ประกอบการจะเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ออกไป และจะมุ่งเน้นพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่อหลังอยู่ในระดับต่ำ เช่น ทาวน์เฮาส์ เป็นต้น

คอนโดฯในเมืองดีมานด์กระฉูด

ซีบี ริชาร์ดฯ ประเมินว่า ตลาดคอนโดมิเนียมในย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯยังไปได้ดีในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา ปัจจุบัน ปริมาณคอนโดฯย่านใจกลางเมืองอยู่ที่ 44,295 ยูนิต และมีอัตราการเข้าพักอาศัยสูงถึง 86.3% มีการเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 13 โครงการ 3,970 ยูนิต ส่วนใหญ่เน้นตลาดระดับกลางและเสนอขายห้องขนาดเล็กลง

ขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 มีโครงการใหม่เปิดตัว 9 โครงการ 2,696 ยูนิต โดย 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่าพลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ส ครองสัดส่วนการเปิดขายยูนิตใหม่สูงสุดถึง 32% ตามด้วยศุภาลัย 20% และโนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ 18% มียอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ 61% คาดว่าจะมีคอนโดฯกว่า 4,700 ยูนิต สร้างเสร็จในช่วงครึ่งปีหลังอีก 6,300 ยูนิต ในปี 2550 และอีก 2,300 ยูนิต ในปี 2551

อพาร์ตเมนต์เกิดใหม่ไม่ถึงพันยูนิต

ปริมาณอพาร์ตเมนต์ย่านใจกลางเมือง ณ ไตรมาสที่ 2 มีทั้งสิ้น 9,920 ยูนิต ลดลงจาก ปี 2548 รวม 33 ยูนิต เนื่องจากบางยูนิตถูกเปลี่ยนให้เป็นเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ ขณะที่จำนวนชาวต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในกรุงเทพฯ ณ เดือนพฤษภาคมมี 64,352 คน เพิ่มขึ้น 16.1% ต่อปี

อัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 90% อัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ยสำหรับอพาร์ตเมนต์ระดับเกรดเออยู่ที่ 365 บาท/ตร.ม./เดือน และ 285 บาทสำหรับระดับเกรดบี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้านี้

ครึ่งปีหลัง 2549 ความต้องการเช่าอพาร์ต เมนต์ในกรุงเทพฯจะยังคงมีอยู่มาก เพราะคาดว่าจำนวนชาวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นในระดับคงที่ราว 8,000 คนต่อปี ในขณะที่จำนวนอพาร์ตเมนต์ใหม่ในตลาดจะเพิ่มขึ้นเพียง 829 ยูนิตในช่วงครึ่งปีหลังนี้จนถึงปี 2552 อัตราการเข้าพักจึงน่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป

เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ปรับตัวดีขึ้น

สำหรับตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ใน กทม.ยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 71% เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในย่านใจกลางเมืองมี 8,768 ยูนิต ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เพิ่มขึ้น 6.4% เมื่อเปรียบเทียบกับสิ้นปี 2548 โดยครึ่งปีหลังจำนวนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ใหม่จะเพิ่มขึ้นอีก 304 ยูนิต ซึ่งจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการเช่ายังคงมีมากต่อเนื่อง ส่วนแนวโน้มค่าเช่าคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักทั้งเกรดเอและเกรดบี

ค่าเช่าออฟฟิศขยับขึ้นอีก

ตลาดอาคารสำนักงานโดยรวมก็ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เพราะสิ้นปีนี้จะมีพื้นที่สำนักงานใหม่เกิดขึ้นเพียง 56,300 ตร.ม. ขณะที่ปริมาณการใช้พื้นที่รวมตลอดทั้งปีนี้จะมี 250,000 ตร.ม. ค่าเช่าจะปรับตัวสูงขึ้น แม้ในอัตราน้อยกว่าการคาดการณ์ของบริษัทในช่วงต้นปี สาเหตุจากสภาวะทางการเมืองทำให้ผู้เช่าชะลอการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตามอาคารสำนักงานเกรดเอย่านซีบีดียังคงเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีพื้นที่ใหม่เกิดขึ้นจนถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2551

พท.ค้าปลีกส่งสัญญาณลดค่าเช่า

ส่วนพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ ณ ไตรมาสที่ 2 มีทั้งสิ้น 4.44 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้น 2% จากสิ้นปี 2548 อัตราพื้นที่ว่างลดลงจาก 5.8% ณ สิ้นปี 2548 เหลือ 5.4% ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ตั้งแต่ปี 2548 ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งโดยเฉพาะของผู้ประกอบการรายใหญ่มีการปรับปรุงโดยตลอด เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันเอาไว้

คาดว่าอัตราพื้นว่างโดยรวมจะยังคงลดลง เนื่องจากพื้นที่เช่าในเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซาจะแล้วเสร็จช่วงปลายปี และร้านค้าพร้อมเปิดให้บริการ การปรับตัวขึ้นหรือลดลงของค่าเช่าจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และยอดขายสินค้า โดยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในลักษณะที่มักจะซื้อสินค้าจากร้านค้าที่อยู่ใกล้บ้าน และข้อกำหนดด้านผังเมือง ผลักดันให้ผู้ประกอบการซูเปอร์สโตร์หลายรายขยายสาขาในรูปแบบที่ใช้พื้นที่เล็กลง

โรงแรมหรูแนวโน้มสดใส

ขณะที่ตลาดโรงแรมระดับหรูมีผลประกอบการโดยรวมที่ดี โดยครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีโรงแรมระดับหรูเปิดใหม่ ได้แก่ โรงแรมมิลเลเนียม ฮิลตัน แบงค็อก ห้องพัก 543 ห้อง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวโรงแรมระดับหรูและระดับเฟิรสต์คลาสถึง 7 แห่งที่มีการปรับปรุง

ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 20.3% ต่อปี โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นสูงสุดนั้นมาจากแถบตะวันออกกลาง โดยเพิ่มขึ้นถึง 85.4% ต่อปี ครึ่งปีหลังคาดว่าปริมาณห้องพักของโรงแรมระดับหรูและระดับเฟิรสต์คลาสในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,300 ห้อง หรือ 8.8% ของห้องพักรวมในปัจจุบัน

สรุปภาพรวมอสังหาฯครึ่งปีหลังจะมีการซื้อขายอสังหาฯขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอีกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยนักลงทุนชาวไทยจะให้ความสนใจลงทุนในทำเลที่มีศักยภาพเท่านั้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติจะมุ่งเน้นลงทุนในย่านซีบีดี

อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจและการเมืองโดยรวมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนธุรกิจอสังหาฯ แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้น ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ตลาดปรับตัวดีขึ้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 03-08-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.