| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 241 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-08-2549    อ่าน 12006
 ตามไปดูโครงการนำร่อง "บ้านรักษ์พลังงาน" แก้ปัญหาลดค่าไฟฟ้าแบบถูกจุด

กําลังเป็นเทรนด์ที่เข้ากับกระแสยุคน้ำมันแพง-ค่าไฟขึ้น สำหรับโครงการนำร่อง "บ้านรักษ์พลังงาน" ของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ที่ออกมาปลุกกระแสด้วยการให้เงินสนับสนุน 30% ของค่าใช้จ่ายแก่เจ้าของบ้านที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับใช้ในการปรับปรุงบ้านให้ตรงตามคอนเซ็ปต์อนุรักษ์พลังงาน

หลังจากเปิดตัวโครงการไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในงานสถาปนิก ดูเหมือนว่าผลตอบรับที่ได้จะเกินคาด เพราะมีเจ้าของบ้าน เข้าคิวลงทะเบียนรอเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100 หลัง

ขณะที่เป้าหมายจริงๆ "มานะ นิติกุล" ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ หนึ่งในคีย์แมนของโครงการบ้านรักษ์พลังงาน บอกว่า... รับได้เพียง 80 หลัง เพราะต้องการจัดทำเป็นโครงการนำร่องเฉพาะในเขตพื้นที่ "กรุงเทพฯ" ก่อนจะขยายออกไปยังจังหวัดอื่นๆ อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต ให้ครบทุกภาคทั่วประเทศในปีหน้า

สำหรับโครงการนี้วางเงื่อนไขผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการไว้ว่า ต้องเป็น "บ้านเดี่ยว-บ้านแฝด-ทาวน์เฮาส์-อาคารพาณิชย์" ที่เป็นลักษณะบ้านพักอาศัยเท่านั้น โดยคุณสมบัติสำคัญคือต้องมียอดใช้ไฟฟ้าสูงกว่า 500 หน่วยต่อเดือน หรือคิดเป็น ค่าไฟประมาณเดือนละ 2,000 บาทเศษ โดยใช้หลักฐานเป็นใบเสร็จค่าไฟย้อนหลัง 6 เดือน

"ผศ.ธนิต จินดาธนิค" รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว ให้คำแนะนำเบื้องต้นอย่างง่ายๆ ว่า... การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน ไม่ควรมี "หน้าต่าง" และ "ช่องระบายลม" รวมกันเกินกว่าพื้นที่ 20% ของตัวบ้าน เพราะแทนที่จะช่วยให้บ้านเย็นลง กลับกลายเป็นช่องทางให้รังสีความร้อนเข้ามาในบ้านได้มากขึ้น

"นอกจากเรื่องหน้าต่าง สิ่งที่ต้องดูคือทิศทางของแสงแดด ถ้าผนังด้านไหนรับแสงแดดมาก โดยเฉพาะในตอนเย็นจะอมความร้อน และยิ่งเป็นห้องที่ติดแอร์ก็ยิ่งกลายเป็นการเพิ่มภาระให้แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น ทางแก้คือ ต้องติดตั้งฉนวนเพื่อป้องกันไม่ให้ผนังรับแสงแดดโดยตรง"

เคสตัวอย่างของการแก้ปัญหามีให้เห็นในบ้าน 2 ใน 7 หลังแรก ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการ "บ้านรักษ์พลังงาน" ซึ่งเสียค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน 3,000-4,000 บาท และขยับขึ้นถึง 5,000 บาทเศษในช่วงฤดูร้อน

เริ่มจากหลังแรก เป็น "บ้านเดี่ยว" ขนาด 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 175 ตร.ม. ในซอยลาดพร้าว 64 ของ "นิรุติ จิตชัย" เจ้าของบ้านที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับห้องเย็น หลังจากทีมงานของสำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเข้ามาตรวจสอบสภาพบ้านแล้ว พบว่าอุณหภูมิสูงสุดของผนังบ้านด้านทิศตะวันตก (รับแสงแดด) เกิดขึ้นในช่วง 16.00 น. สูงประมาณ 34 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดปัญหาหลักๆ มีด้วยกัน 3 จุด

1)ผนังบ้านด้านทิศตะวันตกได้รับแสงแดดโดยตรง ทำให้ความร้อนถ่ายเทเข้าสู่ห้องนอนชั้น 2 และห้องพระชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานเป็นประจำทุกวัน ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น

2)ผนังด้านทิศตะวันตกบริเวณชั้น 2-3 ส่วนหนึ่งเป็นบล็อกแก้ว ทำให้รังสีความร้อนเข้ามาได้มากขึ้น บวกกับไม่มีหน้าต่างหรือช่องระบายลม ถึงแม้จะติดตั้งผ้าม่านช่วยแต่ก็เปลืองพลังงานมากขึ้น เพราะต้องไฟช่วยตลอดทั้งวัน

3)พื้นที่บริเวณโถงกลางและห้องชั้น 3 ไม่มีการระบายอากาศเพียงพอ ทำให้ความร้อนที่ถ่ายเทเข้ามาทางผนังด้านทิศตะวันตก และเกิดการสะสมเนื่องจากไม่สามารถระบายออกได้

สำหรับการแก้ไขปัญหาซึ่งน่าจะทำให้อุณหภูมิตัวบ้านลดลงได้ 3-5 องศา ต้องอาศัยการเพิ่มช่องระบายอากาศบริเวณโถงบันไดชั้น 2 และ 3 เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ส่วนบริเวณชั้น 3 ที่เป็นห้องพระที่ผนังรับแสงโดยตรง ต้องเพิ่มช่องหน้าต่าง อีก 1-2 บาน ทำให้อากาศถ่ายเทเพื่อลดการเปิดแอร์

สุดท้ายสำหรับจุดที่เป็นปัญหาคือ ผนังด้านทิศตะวันตก เพื่อลดการทำงานของแอร์ลงต้องใช้วิธีการเสริมผนังด้วยฉนวนกันความร้อนและปิดทับด้วยวัสดุ อาทิ ไม้ฝาหรือแผ่นซีเมนต์วีว่าบอร์ดเพื่อความสะดวก เพื่อให้ฉนวนเป็นตัวป้องกันรังสีความร้อน คิดเป็นพื้นที่ 35 ตารางเมตร

เบ็ดเสร็จบ้านหลังนี้มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประมาณ 146,000 บาท และได้งบฯสนับสนุนจากสำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 44,000 บาท

อีกหลังเป็น "อาคารพาณิชย์" 2 คูหา ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 49 รวมพื้นที่ประมาณ 300 ตารางเมตร ที่อยู่มาแล้วกว่า 10 ปี และเสียค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 3,000-5,000 บาทเศษต่อเดือน

"พรีญา เจียมอนุสรณ์" เจ้าของบ้านซึ่งทำธุรกิจส่วนตัว บอกว่า... ปัญหาของบ้านก็คือเรื่องอากาศ เนื่องจากอากาศไม่ถ่ายเททำให้ต้องติดเครื่องปรับอากาศถึง 5 ตัว แม้ว่าหลายปีก่อนจะเปลี่ยนมาใช้แอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 แต่ก็ไม่ได้ลดค่าไฟลงมากนัก ทำให้มีความคิดที่จะปรับปรุงบ้านให้ถูกตามหลักการประหยัดพลังงาน

ปัญหาหลักๆ ของบ้านหลังนี้ เนื่องจากเป็นอาคารพาณิชย์หลังริมสุด ทำให้แสงแดดกระทบกับผนังด้านข้างโดยตรง และเก็บความร้อนเอาไว้ การแก้ปัญหาจึงคล้ายๆ กับบ้านหลังแรก คือ ต้องเสริมผนังด้านนอกโดยใช้ฉนวน เพื่อป้องกันรังสีความร้อนผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน

ถัดมาเป็นพื้นที่ "ห้องครัว" ซึ่งได้รับความร้อนที่ถ่ายเทลงมาจากพื้นหลังคาที่เป็นคอนกรีตชั้นบนสุด บวกกับไม่มีช่องระบายอากาศทำให้อากาศร้อนมากในตอนเที่ยง ทางแก้จึงต้องติดตั้งฉนวนที่เพดานเพื่อลดความร้อน

ปัญหาสุดท้ายเป็นจุดที่แตกต่างในเรื่องทิศทางลม เนื่องจากบ้านติดตั้งทิศทางการเปิดหน้าต่างไม่สอดรับกับทิศทางลม ดังนั้นแม้อากาศด้านนอกจะมีลมพัดแรง แต่กลับไม่ถูกพัดเข้าสู่ตัวบ้าน ทางแก้จึงต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการเปิดหน้าต่างใหม่

รวมๆ แล้วมีค่าใช้จ่ายประมาณ 120,000 บาท และได้รับงบฯสนับสนุน 37,000 บาท

อย่างไรก็ตาม หากโครงการนี้สามารถกระจายไปถึงเจ้าของบ้านระดับรากหญ้าที่เดือดร้อน และต้องการเงินสนับสนุนก็น่าจะดีไม่น้อย

และทำให้การปลุกกระแสบ้านอนุรักษ์พลังงานเข้าถึงประชาชนจริงๆ !

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 03-08-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.