| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 374 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-07-2549    อ่าน 11548
 อัดฉีดงบฯเพิ่มคน-ไอทีรับงานทะลัก กรมที่ดินปรับลุกสนง.โซนสุวรรณภูมิ

กรมที่ดินสั่งปรับโฉม สนง.ที่ดินรับ "สุวรรณภูมิมหานคร" อัดฉีดงบฯระบบไอที บุคลากรเพิ่ม เต็มพิกัดแบบเร่งด่วน ประเดิม สนง.สาขาบางพลีเป็นแห่งแรก ชี้เตรียมการล่วงหน้าหวั่นสนามบินเปิดให้บริการงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาฯเพิ่มพรวดจนรับมือไม่ไหว ส่วนลาดกระบัง ประเวศอยู่ในข่ายที่จะได้รับแจ็กพอตด้วย เล็งทุ่มงบฯ 6 พันล้านดันจัดตั้งระบบ E- landing office ให้บริการอัตโนมัติในสำนักงานที่ดินทุกแห่งทั่วประเทศ



นายพีรพล ไตรทศาวิทย์ อธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมที่ดินอยู่ระหว่างพิจารณาปรับปรุงระบบการทำงานในสำนักงานที่ดินสาขาลาดกระบัง ประเวศ ในกรุงเทพ มหานคร (กทม.) และสาขาบางพลี (รับผิดชอบพื้นที่กิ่งอำเภอบางเสาธง และบางบ่อด้วย) จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากสำนักงานที่ดินเหล่านี้ตั้งอยู่ในสุวรรณภูมิ มีหน้าที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม รวมทั้งงานเกี่ยวกับสารบบที่ดินในพื้นที่ที่รัฐบาลมีแผนจะผลักดันจัดตั้งเป็นสุวรรณภูมิมหานคร ซึ่งเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ที่จะรองรับการเปิดให้สนามบินสุวรรณภูมิ กรมที่ดินจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบงานต่างๆ รวมทั้งการให้บริการเพื่อเตรียมรองรับการใช้บริการของประชาชน และนักธุรกิจ นักลงทุนที่จะมีมากขึ้นในอนาคต

เป้าหมายก็เพื่อให้การบริการมีความรวดเร็ว ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและเป็นธรรม เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่เข้ามาขอจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย โอน หรือจดทะเบียนประเภทอื่นๆ โดยเบื้องต้นตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดหางบประมาณจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งบุคลากรให้สำนักงานที่ดินสาขาในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะสำนักงานสาขาบางพลี เพื่อสามารถให้บริการได้ทัดเทียมกับสำนักงานที่ดินสาขาใน กทม. โดยให้มีการลิงก์ข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินไว้ในคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเพื่อจะได้สะดวกในการเรียกใช้และให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป

"ขณะนี้กำลังดูอยู่ว่าอาจต้องขยายที่ทำการใหม่ หรือปรับปรุงสำนักงานเดิมแล้วเอาคอมพิว เตอร์เข้าไป เพราะเวลานี้กรมที่ดินอยู่ระหว่างจะจัดหาคอมพิวเตอร์ให้สำนักงานที่ดินสาขาเป็น 100 แห่ง ซึ่งบางพลีต้องรีบลงก่อนเพื่อจะได้ให้บริการได้เหมือนใน กทม. เช่น พิมพ์ใบเสร็จ เรียกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือการให้บริการอื่นๆ"

เนื่องจากรัฐบาลมีนโบายชัดเจนว่าหน่วยงานราชการแต่ละหน่วยงานจะต้องอำนวยความสะดวก และให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว อย่างเช่น จดทะเบียนนิติกรรม ปัจจุบันมีการกำหนดระยะเวลาว่าต้องให้บริการเสร็จเรียบร้อยภายในกี่ชั่วโมงหรือกี่นาที เป็นต้น ขณะเดียวกันในแง่ของความถูกต้องก็ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการให้บริการเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่องของการรักษาสิทธิของประชาชน จึงต้องมีความน่าเชื่อถือควบคู่กันไปด้วย

นายพีรพลกล่าวว่า นอกจากเตรียมการรองรับการเติบโตของแหล่งที่อยู่อาศัยที่ ทำงาน และแหล่งธุรกิจที่จะเติบโตขึ้นมากหลังมีการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิแล้ว กรมที่ดินกำลังให้บริษัทที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการให้บริการ ระบบงาน และระบบการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับสารบบที่ดิน โดยเฉพาะเอกสารสิทธิต่างๆ ทั่วประเทศ คาดว่าอีกประมาณ 2-3 เดือนการดำเนินการในส่วนนี้จะเสร็จเรียบร้อย

จากนั้นจะเสนอรัฐบาลจัดสรรงบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนจัดตั้งระบบ E-landing office หรือสำนักงานที่ดินอัตโนมัติจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ และสารบบที่ดินทั้งหมดเพื่อรองรับการให้บริการประชาชนในอนาคต

แนวทางการลงทุนอาจไม่ต้องพึ่งพางบประ มาณจากภาครัฐทั้ง 5,000-6,000 ล้านบาท แต่ใช้วิธีร่วมทุนและกู้เงินระยะยาวจากสถาบันการเงินมาลงทุนแล้วหารายได้ด้วยการขายข้อมูลบางประเภทที่ขณะนี้กรมที่ดินให้บริการฟรี เช่น บริการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ตรวจสอบราคาประเมิน เป็นต้น โดยอาจพึ่งงบประมาณจากภาครัฐเพียงแค่ 2,000-3,000 ล้านบาทเท่านั้น ที่เหลือนำมาจากรายได้ที่จัดเก็บจากการเข้ามาใช้บริการของประชาชน นักธุรกิจ นักลงทุน รวมทั้งสถาบันการเงินที่ส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องใช้บริการด้านเอกสารจากกรมที่ดินอยู่แล้ว

"เมื่อระบบ E-landing office หรือสำนักงานที่ดินอัตโนมัติดำเนินการแล้วเสร็จ ต้นฉบับเอกสารสิทธิทุกประเภทจะถูกนำไปรวบรวมจัดเก็บไว้ในคอมพิวเพอร์เพื่อสะดวกในการค้นหา ต่อไปในอนาคตตัวอยู่ที่เชียงใหม่แต่มีที่ดินอยู่ในกรุงเทพฯ อยากจะไปโอนที่ดินที่เชียงใหม่ก็โอนได้เพียงแค่คลิกต้นฉบับขึ้นมา ขณะเดียวกันจะมีการก่อสร้างแวร์เฮาส์สำหรับจัดเก็บต้นฉบับเอกสารสิทธิตัวจริง ไว้ใช้งานบางประเภท เช่น ใช้เป็นพยานหลักฐานในศาล เป็นต้น ทั้งหมดนี้ขณะนี้เดินมาได้ 70% แล้ว ถ้าไม่มีอะไรติดขัดจะได้เห็นภายใน 3-4 ปีนี้แน่นอน

นายพีรพลกล่าวต่อว่า การนำ E-landing office หรือสำนักงานที่ดินอัตโนมัติมาใช้ แม้ต้องใช้วงเงินลงทุนค่อนข้างสูง แต่จะเกิดผลดีในระยะยาว เนื่องจากประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการที่สำนักงานที่ดินมากขึ้น ที่สำคัญการตรวจสอบเอกสารสิทธิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโฉนด น.ส.3 น.ส.3 ก. รวมทั้ง ส.ค.1 จะคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น เพราะสามารถเรียกขึ้นมาดูทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้เมื่อมีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบก็จะทำให้สามารถเชื่อมโยงเอกสารต่างๆ เพื่อให้รู้แหล่งที่มาที่ไป ทำให้การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 27-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.