| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 316 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-07-2549    อ่าน 11648
 โยธาฯดัน"กฎหมายแผ่นดินไหว"บังคับใช้ คุมอาคารพท.เสี่ยงภัย-กทม.แจ็กพอต

กรมโยธาธิการฯดันออกกฎกระทรวงแผ่นดินไหวฉบับใหม่ ขยายพื้นที่บังคับใช้ครอบคลุม กทม. ปริมณฑลและจุดเสี่ยงภัยในจุดอื่นเพิ่ม หลังศึกษาพบได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน จนทำให้อาคารมีความเสี่ยงภัยในระยะไกล กำหนดกรอบคุมเข้มการออกแบบและก่อสร้างอาคาร 3 บริเวณ ทั้งศูนย์การค้า โรงพยาบาล อาคารขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้า สนามบิน ฯลฯ

แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังผลักดันประกาศใช้ร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ... ซึ่งล่าสุดได้ผ่านความเห็นชอบจากกระ ทรวงมหาดไทยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คงต้องใช้เวลาสักระยะจึงสามารถประกาศบังคับใช้เป็นทางการได้

สาเหตุที่จะออกกฎกระทรวงฉบับนี้ เนื่องจากที่ผ่านมากรมได้ทำผลการศึกษา พบว่าชั้นดินอ่อนในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือนในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว ทำให้อาคารในพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในระยะไกล

ประกอบกับพื้นที่ภาคใต้ปรากฏมีรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งอาจมีพลังการสั่นสะเทือนในพื้นที่ดังกล่าวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา ทำให้อาคารในพื้นที่เกิดความเสี่ยงจากการสั่นสะเทือนมากขึ้น ขณะที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 49 พ.ศ.2540 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และพื้นที่เสี่ยงภัยอื่นๆ

"เพื่อขยายขอบเขตให้การก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหว สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล จึงได้ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นบังคับใช้"

แหล่งข่าวกล่าวว่า สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง จะกำหนดพื้นที่โดยแบ่งออกเป็น 3 บริเวณคือ 1.บริเวณเฝ้าระวัง ซึ่งหมายถึงพื้นที่บางส่วนในภาคใต้ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี

2.พื้นที่บริเวณที่ 1 คือพื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนมาก อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทร ปราการ และสมุทรสาคร 3.พื้นที่บริเวณที่ 2 คือ พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อน อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน

โดยจะใช้บังคับกับอาคารหลายประเภท โดยบริเวณที่ 1 และบริเวณเฝ้าระวัง ประกอบด้วย อาคารที่จำเป็นต่อการบรรเทาภัยหลังเกิดเหตุ เช่น สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานีดับเพลิง อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย อาคารศูนย์สื่อสาร ท่าอากาศยาน โรงไฟฟ้า โรงผลิตและเก็บน้ำประปา เป็นต้น อาคารเก็บวัตถุอันตราย เช่น เก็บวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสี และวัตถุที่ระเบิดได้ เป็นต้น

นอกจากนี้มีอาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้อาคารครั้งหนึ่งตั้งแต่ 300 คนขึ้นไป เช่น โรงมหรสพ หอประชุม หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถาน หอสมุด ศาสนสถาน สถานกีฬา อัฒจันทร์ ตลาด ศูนย์การค้า สถานีขนส่งมวลชน โรงแรม ฯลฯ สถานศึกษาที่รับจำนวนนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ 250 คนขึ้นไป สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนที่รับจำนวนเด็กอ่อนตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป อาคารที่มีผู้ใช้อาคารในครั้งหนึ่ง 5,000 คนขึ้นไป อาคารที่มีความสูง 15 เมตรขึ้นไป สะพาน ทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อยาวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนทดน้ำหรือฝายทดน้ำ ที่ตัวเขื่อนหรือตัวฝายมีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับบริเวณที่ 2 ประ กอบด้วยอาคารที่จำเป็นต่อการบรรเทาภัยหลังเกิดเหตุ เช่น สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานีดับเพลิง อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย อาคารศูนย์สื่อสาร ท่าอากาศยาน โรงไฟฟ้า โรง ผลิตและเก็บน้ำประปา ฯลฯ อาคารเก็บวัตถุอันตราย เช่น เก็บวัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสี และวัตถุที่ระเบิดได้ ฯลฯ อาคารสาธารณะ เช่น โรงมหรสพ หอประชุม หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถาน หอสมุด ศาสนสถาน สถานกีฬา อัฒจันทร์ ตลาด ศูนย์การค้า โรงแรม สถานบริการ อาคารจอดรถ และสถานีรถ

นอกจากนี้มีสถานศึกษา สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน อาคารที่มีผู้ใช้อาคาร 5,000 คนขึ้นไป อาคารที่มีความสูง 15 เมตรขึ้นไป สะพาน ทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อยาว 10 เมตรขึ้นไป เขื่อนกักเก็บน้ำ เขื่อนทดน้ำหรือฝายทดน้ำที่ตัวเขื่อนหรือตัวฝายมีความสูง 10 เมตรขึ้นไป

โดยในการออกแบบโครงสร้างอาคารจะให้เจ้าของอาคารคำนึงถึงเสถียรภาพในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว การให้ราย ละเอียดปลีกย่อยชิ้นส่วนโครงสร้าง และรอยต่อระหว่างปลายชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่คงไม่มากนัก

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 27-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.