| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 316 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-07-2549    อ่าน 11849
 เปิดผลศึกษา ประชากรสูงวัยพุ่ง แนะรัฐทำที่อยู่อาศัยให้เช่ารองรับ

แม้ว่าจังหวะของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงนี้ กลุ่ม "คนรุ่นใหม่" และ "วัยทำงาน" จะเป็นตลาดใหญ่ที่ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาโครงการเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้านี้เป็นหลัก แต่จากผลวิจัยจุฬาฯ ที่ระบุว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ "สังคมเมืองผู้สูงอายุ" ก็ทำให้ที่ตลาดบ้านสำหรับ "ผู้สูงวัย" เป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ลูกค้าที่ไม่ควรมองข้าม

ล่าสุด "ผศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์" จากภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยศาสตร์ จุฬาฯ ออกมาเปิดประเด็นถึงรายละเอียดเกี่ยว "โครงสร้างประชากร" พบว่าจากสถิติปัจจุบันเรามีประชากรผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปี) ทั้งสิ้น 6.3 ล้านคน หรือประมาณ 10% จากจำนวนประชากรทั้งหมด 62.5 ล้านคน

ประเด็นก็คือตามหลักสากลวางมาตรฐานไว้ว่าหากประเทศไหนมีสัดส่วนประชากรสูงอายุเกิน 7% ถือว่าเข้าข่ายเป็น "สังคมเมืองผู้สูงอายุ" เท่ากับว่าเมืองไทยก็จัดอยู่ในข่าย

แต่จุดที่น่าวิตกไม่ได้มีแค่นี้! เพราะบ้านเราผ่านจุดที่เข้าข่ายเป็นสังคมเมืองผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2542 และใช้เวลาเพิ่มสัดส่วนจาก 7% เป็น 10% ภายในเวลาเพียงแค่ 7 ปี ซึ่งถือว่าเร็วมาก

สาเหตุมาจากในช่วงปี 2506-2526 ถือเป็นยุค "เบบี้บูม" หรือช่วงที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่สูงกว่าปีละ 1 ล้านคน และถ้าคำนวณแล้วคนที่เกิดในช่วงนี้จะเริ่มต้นเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในปี 2566-2586 หรือเกือบ 17 ปี ซึ่งประเมินว่าในช่วงนั้นจำนวนประชากรผู้สูงอายุอาจเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 3-4 เท่า การเตรียมจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับผู้สูงวัยไว้แต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น

นับจากนี้จึงอาจถือได้ว่าเป็น "ยุคบูม" ของตลาดอสังหาฯ ในกลุ่มลูกค้าผู้สูงวัย

การเคหะฯ นำร่องศึกษาบ้านเอื้ออาทร

อย่างไรก็ตาม การจัดหาหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีฟังก์ชันรองรับผู้สูงวัย "ภาครัฐ" ควรจะเป็นหน่วยงานนำร่อง ซึ่งล่าสุด "การเคหะแห่ง ชาติ" ได้ว่าจ้างจุฬาฯ จัดทำโครงการ "ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ"

สโคปทั้งหมดมุ่งไปที่การวิจัยและศึกษาความต้องการที่พักอาศัย สภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในจังหวัดสำคัญๆ อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการ 8 เดือน นับจากเดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป

เบื้องต้น จุฬาฯ ได้เสนอเสนอความเห็นให้การเคหะฯ ให้กันพื้นที่ "ชั้นล่าง" ของอาคารชุดโครงการบ้านเอื้ออาทร เพื่อเป็นโควตาให้เฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงวัยอยู่อาศัย ส่วนที่เป็นโครงการเก่าควรมีงบฯ ปรับฟังก์ชันและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม

เมื่อพูดถึงความเหมาะสมระหว่างที่อยู่อาศัยแบบ "ให้เช่า" กับ "ขาย" สรุปได้ว่าแบบให้เช่าน่าจะเหมาะสม เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้วางแผนสะสมรายไว้ใช้เพียงพอ บวกกับภาครัฐยังไม่ได้มี นโยบายสนับสนุน เช่น การให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีอายุย่าง 60 ปี เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมบ้านให้เหมาะกับการใช้ชีวิตเหมือนในประเทศญี่ปุ่น

เปิดผลศึกษาจุฬาฯ

ก่อนหน้านี้ จุฬาฯได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลความต้องการผู้สูงอายุ 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่รับราชการตำรวจ 2) ทำงานบริษัทเอกชนชั้นนำ 3) กลุ่มผู้พักอาศัยในเขตคลองเตย 4) แฟลตดินแดง และ 5) สมาชิกชมรมอยู่ร้อยปี

ปรากฏว่าข้อมูลออกมาค่อนข้างหลากหลาย โดยกลุ่ม "ตำรวจ" ต้องการพักอาศัยในบ้านสร้างเอง ส่วนกลุ่ม "ทำงานบริษัทเอกชน" ต้องการพักอาศัยในโครงการที่เป็นลักษณะ "บ้านเดี่ยวชั้นเดียว" และต้องการให้มีการจัดบริการด้านการแพทย์ไว้รองรับในโครงการ

ส่วนกลุ่มพักอาศัยในเขต "คลองเตย" มีความต้องการค่อนข้างหลากหลายทั้งบ้านเดี่ยวสร้างเองและบ้านแบบสวนเกษตร แต่ที่เหมือนกันคือในบั้นปลายชีวิตต้องการพักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด กลุ่มพักอาศัยใน "แฟลตดินแดง" เป็นกลุ่มเดียวที่ไม่ต้องการย้ายที่อยู่อาศัยจึงเป็นไปได้ว่าจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพห้องและสิ่งแวดล้อมภายในให้เหมาะสม

และสุดท้าย "ชมรมอยู่ร้อยปี" มีความต้องการอาศัยใน "บ้านเดี่ยว" และ "ห้องชุด" ในสัดส่วนใกล้เคียง และในจำนวนนี้ 69% ต้องให้มีสวนสุขภาพ 47% ต้องการร้านอาหาร และ 42% ต้องการห้องปฏิบัติธรรม อยู่ภายในบ้านหรือโครงการ

ดังนั้น โครงการที่อยู่อาศัยจึงควรหันมาพัฒนาฟังก์ชันหรือออกแบบที่รองรับเจเนอเรชั่นผู้สูงวัยด้วย เพราะถือว่าตลาดกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ

ล่าสุด จุฬาฯยังได้จัดมือกับอิมแพ็ค เตรียมจัดงาน "Smart & Happy 50UP" ในวันที่ 9-13 สิงหาคมนี้ ภายในฮอลล์ 4 รวมพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร ซึ่งภายในจะมีโซน "ธุรกิจบ้านและการตกแต่งเพื่อผู้สูงวัย" ซึ่งมีการออกบูทของโครงการ ของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

เพื่อกระตุ้นให้ทุกฝ่ายหันมาใส่ใจหันมาสนใจเรื่องนี้กันมากขึ้น!

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 20-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.