| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 343 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-07-2549    อ่าน 12987
 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ สะท้อนปัญหาพัฒนา "สุวรรณภูมิ"

กำหนดการเปิดใช้สนามบิน "สุวรรณภูมิ" สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ยิ่งใกล้เข้ามา ก็ยิ่งทำให้เจ้าของที่ดินรวมทั้งนักธุรกิจ นักลงทุนที่เข้าไปจับจองพื้นที่ทำเลทองแห่งใหม่มีความหวังมากขึ้นเท่านั้น แต่ฝันจะกลายเป็นจริงหรือไม่เวลาคงเป็นเครื่องพิสูจน์

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่ามกลางความคาดหวังของหลายๆ คน ส่วนหนึ่งก็ยังมีความวิตกกังวลซ่อนอยู่เพราะที่ดินที่ถูกมองว่าเป็นทำเลทองในเวลานี้มีข้อมูลการศึกษาสำรวจทางวิชาการหลายสำนักระบุตรงกันว่า สภาพเนื้อดินมีลักษณะพิเศษและมีข้อด้อยในเชิงคุณภาพแตกต่างจากดินในทำเลอื่นทั่วไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ปริมณฑล การเข้าไปพัฒนาหรือลงทุนโครงการต่างๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

"ผศ.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโครงสร้างใต้ดินติดอันดับต้นๆ ของ เมืองไทยที่ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาให้กับงานหลายๆ โครงการในสนามบินสุวรรณภูมิ และโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินให้ข้อมูลในเชิงวิชาการ ข้อคิด ข้อแนะนำเกี่ยวกับสภาพที่ดินและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใกล้เคียง

- มุมมองเกี่ยวกับแนวคิดจัดตั้งสุวรรณภูมิมหานคร

ถ้าในแง่ของการจัดรูปแบบองค์กรการปกครองก็คิดว่าเหมาะสม เพราะปัจจุบันพื้นที่สุวรรณภูมิองค์กรปกครองท้องถิ่นหลายรูปแบบดูแลอยู่ เพราะถ้าสนามบินเปิดให้บริการ มีชุมชน มีคนเคลื่อนย้ายเข้ามา การบริหารจัดการจะต้องมีความเป็นเอกภาพ แต่เมื่อจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่เข้ามาดูแลจะต้องไม่เน้นในเรื่องของการพัฒนาเพียงอย่างเดียว

ที่ต้องทำควบคู่ไปด้วย คือ การป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาจราจร ปัญหาขยะ นอกจากนั้นจะต้องคิดถึงชุมชนหรือคนที่อาศัยอยู่เดิมด้วย ไม่ใช่ให้ความสำคัญเฉพาะด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะปัญหาการจราจรขณะนี้คนในชุมชนรวมทั้งนิสิต อาจารย์ในเทคโนโลยีลาดกระบังฯกังวลมากเพราะดูเหมือนภาครัฐยังไม่มีมาตรการรองรับมากนัก

ในแง่ของการพัฒนาก็เช่นเดียวกัน อย่าลืมว่าพื้นที่สุวรรณภูมิบางส่วนเป็นพื้นที่รับน้ำ และสภาพโดยทั่วไปเป็นดินโคลน การก่อสร้างอาคาร การพัฒนาโครงการจึงต้องใช้หลักวิชาการ ใช้เทคนิคการก่อสร้างเข้ามาช่วยอย่างมาก

- สภาพดินในสุวรรณภูมิเป็นอย่างไร

พูดถึงตัวพื้นที่จะเห็นว่าอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่เท่าไร ดินไม่ได้มีการทับถมมานานมากนัก และไม่เคยมีการพัฒนาหรือมีการถมมาก่อน ทำให้สภาพดินยังเป็นธรรมชาติมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นที่นา หนองน้ำ ที่มีน้ำขัง หรือทางน้ำ ต่างจากดินในเขตเมืองหรือในกรุงเทพฯที่ดินมีการถมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำให้เนื้อดินมีคุณภาพดี รับน้ำหนักได้มากกว่า

สำหรับสุวรรณภูมิและพื้นที่ใกล้เคียง มีข้อมูลจากการศึกษาจำนวนมากระบุชัดเจนว่าเป็นดินโคลน จากหน้าดินลึกลงไป 15 เมตรเป็นดินเหนียวอ่อนมาก จาก 15-12 เมตรเป็นดินเหนียวแข็ง ถัดจาก 25 เมตรลงไปจึงเป็นดินทราย เทียบกับดินกรุงเทพฯแล้วคุณสมบัติในเชิงวิศวกรรมของดินที่นี่แย่กว่าประมาณ 40%

- การรับน้ำหนักรับได้น้อยกว่าดินกรุงเทพฯ

เท่าที่มีการศึกษาสำรวจ รวมทั้งลงพื้นที่คิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่น อาคาร 3-4 ชั้นเหมือนกัน กรุงเทพฯใช้เข็ม 21 เมตร สุวรรณภูมิต้องใช้เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 50%

- พัฒนาโครงการขนาดใหญ่ได้หรือเปล่า

ในทางวิศวกรรมทำได้ สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด และไม่ได้เป็นเรื่องยากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีปรับปรุงดิน หรือใช้เข็มเจาะให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ความยาวมากขึ้น เพราะสภาพดินสุวรรณภูมิซึ่งครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯบางส่วน รวมทั้งบางพลี บางเสาธง และบริเวณใกล้เคียงมีความอ่อนตัวมาก รับน้ำหนักได้น้อย การทรุดตัวมีมาก

โดยเฉพาะบริเวณบางพลี บางบ่อ ส่วนลาดกระบัง ประเวศอาจพัฒนาได้มากกว่าบางพลี บางเสาธง แต่ปัจจุบันมีโครงการต่างๆ เข้าไปมากแล้ว

- พัฒนาได้แต่ต้องลงทุนเพิ่ม

ใช่ครับ โดยเฉพาะในส่วนของฐานรากหรือโครงสร้างใต้ดินต้องลงทุนเพิ่มมากเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น รวมทั้งต้องมีการปรับปรุงดินโดยใช้วิธีนำดินที่มีคุณภาพหรือดินแข็งมาถมซ้ำๆ แล้วบดอัดให้แน่น ถ้าเอาดินร่วนดินเลนที่อ่อนตัวเหมือนๆ กันมาถม ตัวมันเองก็จะเป็นปัญหาด้วย วิธีบดอัดก็จะต้องอัดโดยใช้แรงอัดที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักที่จะต้องรับในอนาคต ถ้าน้อยกว่าดินก็จะมีการทรุดตัวต่ออีก

- ปรับปรุงดินแล้วพัฒนาได้เลยหรือเปล่า

ปกติควรปล่อยทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 2 ปีเพื่อให้ดินมีการทรุดตัว เพราะเวลาที่ล่วงเลยไป 2 ปีจะทำให้สภาพดินดีขึ้น รับน้ำหนักได้มากขึ้น และมีการทรุดตัวน้อยลง

- แสดงความต้องการวางแผนระยะยาว

น่าจะมีการวางแผนการล่วงหน้า ไม่ใช่ซื้อที่ดินมาแล้วปรับปรุงโดยการถมแล้วพัฒนาทันที ถ้าทำอย่างนั้นมีปัญหาแน่ มีตัวอย่างให้เห็นในโครงการบ้านจัดสรรหลายๆ แห่ง อาคารพาณิชย์ ตึกแถวก็มี เวลาล่วงเลยไปไม่นานก็มีการทรุดตัว ใครจะเข้ามาพัฒนาโครงการจึงน่าจะวางแผนล่วงหน้าปี 2 ปี จากนั้นหาซื้อที่ ปรับปรุงดินแล้วค่อยลงมือพัฒนาโครงการ

- ต้องปรับปรุงดิน-เพิ่มฐานรากทั้งโครงการ

ควรจะเป็นอย่างนั้น ถ้าลงเข็มเฉพาะตัวอาคาร รั้วบ้าน ที่จอดรถก็จะทรุด ถนน ทางเท้า เสาไฟฟ้าก็จะทรุดตัว

- ต้องจ่ายค่าต้นทุนพัฒนาเพิ่มขึ้น

ค่าก่อสร้าง ลงเข็ม ปรับปรุงดิน จะเพิ่มขึ้นจากค่าก่อสร้างรวมไม่ต่ำกว่า 20% แต่ก็ถือว่ายังคุ้มเพราะราคาที่ดินหลายจุดในสุวรรณภูมิยังมีราคาถูก พูดง่ายๆ บวกค่าปรับปรุงสิ่งเหล่านี้เข้าไปแม้ทำให้ต้นทุนแพงขึ้น แต่ก็ทำให้เจ้าของโครงการรวมทั้งผู้ซื้อมีความมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าตัวอาคารหรือบ้านถ้าจะมีการทรุดตัวก็คงทรุดอีกไม่มาก แต่ถ้าซื้อที่ดินมาแพงก็คงไม่คุ้ม

- มีการร้องเรียนบ้านทรุดมากน้อยแค่ไหน

แถวบางพลี บางเสา มีเจ้าของบ้านร้องเรียนเยอะมากโดยผ่านทาง วสท. (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์) เข้ามาขอคำแนะนำปรึกษาที่คณะวิศวฯ ลาดกระบังก็มี

- แสดงว่าน่าเป็นห่วง

ครับ โดยเฉพาะบ้านจัดสรร เพราะถ้าเจ้าของโครงการไม่ให้ความสำคัญในจุดนี้จะมีปัญหา ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่แล้ว การซื้อบ้านจึงควรซื้อในโครงการที่ตัวผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือหรือที่มั่นใจได้ว่ามีการลงฐานรากบ้าน ถนน รวมทั้งสาธารณูปโภคต่างๆ เพียงพอไม่เกิดปัญหาในอนาคต

ส่วนโครงการความสูง 4-5 ชั้นขึ้นไปที่ไม่ค่อยห่วงเป็นเพราะในการออกแบบ วิศวะ สถาปนิกผู้ออกแบบจะระมัดระวังในจุดนี้อยู่แล้ว เพราะรู้ว่าเป็นพื้นที่พิเศษ สภาพดินไม่เหมือนกับที่อื่นๆ

- แนะนำผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง

ต้องวางแผนพัฒนาโครงการล่วงหน้า ศึกษาสภาพดิน หาข้อมูลต่างๆ ให้รอบด้าน นอกจากนี้จะต้องยอมลงทุนในส่วนของเทคนิคการก่อสร้าง และมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลหรือให้คำปรึกษา

- ข้อแนะนำคนซื้อบ้าน

เลือกบ้านที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้เห็นตัวบ้าน ต้องติดตามการก่อสร้าง เช่น ไปดูระหว่างก่อสร้าง ดูขนาดเข็มว่าต้องมีขนาดตั้งแต่ 21 เมตรขึ้นไป นอกจากตัวบ้านแล้วที่จอดรถหน้าบ้าน รั้ว ถนน ทางเท้า ฯลฯ ต้องดูด้วยว่าโครงการลงเข็มหรือเปล่า เพราะอาจมีปัญหาทรุดตัว

พื้นที่พัฒนาโครงการก็ต้องสังเกตดูว่าสูงกว่าระดับพื้นดิน ระดับถนนหรือเปล่า เพราะเมื่อดินทรุดตัวถนนอาจสูงกว่าตัวบ้าน ดูระบบระบายน้ำ ขอแบบแปลนก่อสร้างบ้าน เผื่อมีปัญหาหรือมีการต่อเติมจะต้องใช้แบบในการปรับปรุงแก้ไข

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 20-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.