| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 349 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-07-2549    อ่าน 11841
 เปิดอก "นพดล ตัณศลารักษ์" ไขข้อข้องใจความปลอดภัยป้ายโฆษณา

เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้ไม่นาน แต่ดูเหมือนว่าภารกิจของ "นพดล ตัณศลารักษ์" นายกสมาคมผู้ผลิตป้ายและโฆษณาคนใหม่ จะไม่ได้มีแค่เพียงการผลักดันธุรกิจป้ายโฆษณา หรือ "บิลบอร์ด" ที่จัดอยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเท่านั้น เพราะในเรื่อง "ความไม่มั่นคงแข็งแรง" ของป้ายโฆษณาก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอ

ที่ผ่านมามีหลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์ป้ายถล่มและนำมาซึ่งบทเรียนราคาแพง จนเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน ล่าสุด "นพดล" ได้เปิดออฟฟิศใหม่ย่านลาดพร้าวให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ"

- ภาพรวมๆ ความมั่นคงแข็งแรงป้ายโฆษณา

จากการสำรวจของ กทม.ปัจจุบันมีป้ายโฆษณาประมาณ 1,000 กว่าป้าย ในด้านของ ผู้ประกอบการเราจะเห็นว่าวันนี้ป้ายโฆษณามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ จากเดิมตัวโครงสร้างเป็นแบบใยแมงมุมถัก ป้ายใหม่ๆ ส่วนใหญ่เป็นแบบ "เสาเดียว" และ "เสาคู่" ซึ่งดูแข็งแรงมากขึ้น ส่วนสมาคมเรามีการรณรงค์ "จัดระเบียบ" เรื่องความแข็งแรงของป้ายโฆษณามาตลอด อย่างปีที่แล้วก็มีการจัดสัมมนาโดยเชิญ "รศ. ต่อตระกูล ยมนาค" และ "ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย" ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิศวกรรมมาเป็นวิทยากร และเข้าใจว่าในช่วงปลายปีนี้จะมีการออกกฎกระทรวงควบคุมป้ายโฆษณา

สาระสำคัญมีอยู่ 2 เรื่อง คือ กำหนดให้ป้ายโฆษณาต้องทำประกันภัย และต้องมีวิศวกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงเป็นประจำทุกปี ล่าสุดเราเตรียมจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการและวิศวกรที่จะมาทำหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง นอกจากนี้ทาง ดร.เป็นหนึ่งก็พยายามผลักดัน ให้มีการปรับเพิ่มมาตรฐานความแข็งแรงของตัวป้ายโฆษณา จากปัจจุบันกำหนดมาตรฐานการรับแรงลมสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อตารางเมตร เพิ่มเป็น 180 กิโลเมตรต่อตารางเมตร เพื่อความมั่นใจซึ่งสมาคมก็เห็นด้วยและได้แจ้งไปยังสมาชิกทุกรายแล้ว

- ความคืบหน้าล่าสุดเป็นอย่างไรบ้าง

ถ้าทำป้ายให้แข็งแรงขึ้น "ต้นทุน" ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือ "ติดล็อก" ในเรื่องข้อกฎหมาย เพราะตามกฎหมายถ้ามีการปรับปรุงป้ายให้รับแรงลมเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 10% ต้องขออนุญาตกับกรมโยธาฯ เนื่องจากเข้าข่ายเป็นการ "ดัดแปลงอาคาร" แต่ประเด็นก็คือในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ เพราะตาม "ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร" ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กำหนดให้ป้ายโฆษณาที่อยู่บนถนนทั้ง 114 เส้นทางต้องมีระยะถอยร่น 50 เมตร ป้ายโฆษณาเก่าที่ก่อสร้างอยู่แล้วจึงถูกติดล็อกไม่สามารถทำอะไรได้ สมาคมจึงมองว่าการจะปรับปรุงให้ป้ายแข็งแรงขึ้นจำเป็นต้องให้ กทม.ผ่อนปรนข้อกฎหมายด้วย ซึ่งจริงๆ เราเคยเสนอเรื่องนี้กับทางผู้ว่าฯ กทม.ไปแล้ว ตอนนี้ก็รอผลอยู่

- ที่ผ่านมาสาเหตุที่ป้ายถล่มเกิดจากอะไร

ก็ต้องยอมรับว่ามีป้ายส่วนหนึ่งที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม แต่ผมเชื่อว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่มีการว่าจ้างวิศวกรคอยตรวจสอบความแข็งแรงอยู่แล้ว สำหรับเรื่องป้ายที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมก็พูดถึงแล้ว ก็ต้องโยงไปถึงเรื่องกฎหมายด้วยเพราะในตัวกฎหมายมีบางข้อไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติ ยกตัวอย่างที่กำหนดว่าถ้าเป็นป้ายโฆษณาที่อยู่บนอาคารกฎหมายกำหนดให้สร้างสูงได้ไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งในทางปฏิบัติบางครั้งก็เป็นข้อจำกัดทำให้ป้ายไม่อยู่ในรัศมีการมองเห็น

ที่ผ่านมาสมาคมได้เสนอแนวคิดกับกรมโยธาฯว่า ถ้าเป็นป้ายที่ก่อสร้างบนอาคาร ให้นับรวมความสูงของป้ายโฆษณาบวกกับความสูงอาคารไม่เกิน 30 เมตร เช่น อาคารสูง 20 เมตรก็สามารถสร้างป้ายได้สูงไม่เกิน 10 เมตรเพื่อให้ยืดหยุ่นได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็กำหนดเพดานสูงสุดไม่ให้ก่อสร้างป้ายที่มีความสูงเกินกว่า 2 ใน 3 ของความสูงอาคาร นอกจากนี้ก็ยังมีข้อกำหนดว่าถ้าเป็นป้ายโฆษณาที่ก่อสร้างบนพื้นดิน เมื่อคำนวณความสูงของป้ายแล้วจะต้องมีความสูงไม่เกินกว่าระยะทางระหว่าง "ตัวป้าย" มาถึง "กึ่งกลางถนน" เพื่อไม่ให้ป้ายโฆษณาล้มทับกีดขวางทางจราจรทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติคงเป็นไปได้ยากที่ป้ายจะล้มลงมาบนถนน เนื่องจากป้ายส่วนใหญ่จะหันด้านที่มีรูปภาพหรือข้อความขนานไปกับแนวถนนอยู่แล้ว

- ดูเหมือนจะมีจุดที่ไม่เห็นด้วยหลายประเด็น

จริงๆ ก็ยังมีข้อกำหนดเรื่องการคุมระยะถอยร่น 50 เมตรของป้ายโฆษณาในถนน 114 เส้นสำหรับบางเส้นทาง เช่น ถนนรอบเกาะรัตนโกสินทร์ เราเห็นด้วยเพราะเป็นการคุมกำเนิดป้ายไม่ให้บดบังทัศนียภาพ แต่สำหรับถนนที่เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ เช่น วิภาวดีรังสิต บางนา-ตราด ธนบุรีปากท่อ พวกนี้ก็ถูกจัดอยู่ใน 114 เส้นทาง ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นด้วยและกำลังรวบรวมผลกระทบจากการบังคับใช้ข้อบัญญัติ กทม.ที่เพิ่งบังคับใช้ เพื่อนำเสนอ กทม.ในเร็วๆ นี้ สุดท้ายเป็นเรื่องขอคืนภาษีป้าย ซึ่งปัจจุบันถ้าขึ้นป้ายโฆษณาในช่วงไตรมาสแรกต้องเสียภาษี 100% ไตรมาส 2-4 เสียภาษี 75% 50% และ 25% ลดหลั่นกันไป แต่กรณีที่ลูกค้าเช่าพื้นที่ 3-6 เดือน กฎหมายกลับไม่ได้ระบุเรื่องการขอคืนภาษีเอาไว้

- ป้ายโฆษณาที่ได้มาตรฐานมีองค์ประกอบอะไร

อธิบายลำบากเพราะไม่มีแบบมาตรฐานเหมือนในต่างประเทศ แต่การออกแบบโดยวิศวกรก็ถือว่าแข็งแรงปลอดภัยเหมือนกันหมด อย่างไรก็ตามขณะนี้สมาคมเตรียมร่วมกับสภาวิศวกร และวิศวกรรมสถานฯ จัดสัมมนาเพื่อทำแบบมาตรฐานออกมา และเสนอให้กับกรมโยธาฯพิจารณา ซึ่งคงไม่ใช่แบบมาตรฐานที่บังคับใช้ แต่เป็นแบบตัวอย่างที่รับประกันว่าสร้างแล้วมั่นคงแข็งแรงเหมือนเป็นแบบตัวอย่างมากกว่า

- แบบโครงป้ายต่างกันอย่างไร

จากประสบการณ์ที่ทำธุรกิจป้ายโฆษณามา 17 ปี ผมอยากอธิบายว่า โครงป้ายที่ใช้การก่อสร้างด้วยการเชื่อมค่อนข้างจะมีความเสี่ยงมากกว่าโครงป้ายแบบขันนอต เหตุผลมาจากถ้าเชื่อมไม่ดีพออาจทำให้เหล็กกับลวดเชื่อมไม่ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน และเมื่อใช้งานไปนานๆ รอยเชื่อมก็อาจเกิดการแตกออก และการตรวจสอบต้องใช้เครื่องมือซึ่งก็ค่อนข้างยุ่งยาก ส่วนการขันนอตที่มีการเกรงกันว่าจะเกิดปัญหานอตคลายตัว แต่ในทางปฏิบัติป้องกันได้ด้วยการใส่นอต 2 ตัว หรือใส่แหวนรองนอตไว้ ในอนาคตเมื่อกฎหมายตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงป้ายโฆษณามีผลบังคับใช้แล้วก็เท่ากับเป็นการบังคับให้ต้องมีการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี

- การตรวจสอบป้ายต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร

ส่วนตัวผมมองว่าคงต้องขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของบริษัทและอายุการใช้งานของป้ายนั้นๆ ด้วย เช่น ถ้าเป็นป้ายที่บริษัทไม่ยอมรับทำประกันก็เป็นไปได้ว่าค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่า ซึ่งในภาพรวมๆ คิดว่าน่าจะไม่เกิน 10-20% ที่ต้องมีการปรับปรุงเรื่องความแข็งแรงหลังจากมีการตรวจสอบป้ายแล้ว

- จะทำให้ค่าเช่าป้ายแพงขึ้นหรือไม่

คงไม่เกี่ยว ปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและทำเลที่ตั้งของป้ายมากกว่า ยิ่งเป็นป้ายที่มีจำนวนคนมองเห็นมากป้ายนั้นก็ยิ่งแพง อย่างตอนนี้เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้อัตราป้ายว่างเพิ่มขึ้นเป็น 15-20% โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาฯที่เป็นลูกค้าหลัก บางรายขอทำสัญญาเช่าเพียงไม่กี่เดือนหรือยกเลิกไปเลย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 17-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.