| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 94 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-07-2549    อ่าน 11558
 "บีเอ็มซีแอล-รฟม." เปิดศึกค่าโดยสารรถใต้ดิน ถึงวันนี้ "ผู้บริโภค" ก็ยังงง !!!

สร้างความสับสน จนกลายเป็นประเด็นร้อนที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการขึ้น-ไม่ขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน จาก 14-36 บาท เป็น 15-39 บาท เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา

แม้เรื่องจะลงเอยด้วยดี โดยผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 1.8 แสนคน ยังควักกระเป๋าจ่ายในอัตราเดิมจนถึง วันที่ 3 สิงหาคม 2549 และใช้ราคาใหม่ตั้งแต่ วันที่ 4 สิงหาคม 2549 จนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2551

แต่จนถึงวันนี้ เรื่องนี้ยังเป็นที่กังขาของหลายฝ่ายว่าเกิดอะไรขึ้น ปมปัญหามาจากไหน และใครเป็นคนผิดกันแน่ !

ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะเจ้าของโครงการ และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็ม ซีแอล ผู้รับสัมปทานเดินรถ

สาเหตุแห่งสาเหตุ ปัญหามาจาก "การเมือง" ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ จึงทำให้ "เฮียเพ้ง" นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไม่กล้าขยับนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงกั๊กเรื่องไว้

ด้วยเกรงว่าจะทำให้ฐานเสียงของพรรครัฐบาลไทยรักไทยมัวหมองได้ เพราะเรื่องนี้มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง

ทั้งที่ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา

หลังจากที่คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ไฟเขียวให้มีการปรับได้เมื่อเดือนเมษายน เพื่อเสนอให้ ครม.อนุมัติ แต่เรื่องเงียบหายไป เป็นเดือน จนมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง เมื่อบีเอ็มซีแอลฉวยจังหวะชิงปรับค่าโดยสารตามราคาใหม่ ในวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาแบบทันทีโดยไม่ให้ตั้งเนื้อตั้งตัว

ซึ่งทางบีเอ็มซีแอล คงจะคิดอย่างรอบคอบแล้วว่า ถ้าหากปล่อยให้รอให้ครม. รัฐบาลจะใช้ยุทธวิธีให้ตรึงราคาเดิมต่อไปก่อนแบบไม่มีกำหนดเหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมา

"เป็นเรื่องของการเมือง ที่ไม่กล้าแตะ เพราะกระทบคนเยอะ สุดท้ายเลยกลายเป็นการทำให้ประชาชนเสียความรู้สึก เพราะสับสน แต่พอเอกชนเอาจริง ถึงนำเรื่องให้ ครม.พิจารณา ถ้าเดินเรื่องตั้งแต่แรก ไม่กั๊กไว้ เรื่องคงไม่ออกมาแบบนี้" แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

นอกจากนี้อาจจะเป็นเพราะบรรยากาศที่อึมครึมภายใน รฟม.เอง ที่ตอนนี้ยังไม่มีผู้ว่าการตัวจริง ทำให้ "เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว" รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและวางแผนที่รักษาการอยู่ตอนนี้ ไม่กล้าตัดสินใจเด็ดขาด แม้จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

ทำให้ที่ผ่านมางานส่วนใหญ่มาโฟกัสที่ "อัญชลี ชวนิตย์" ประธานบอร์ดแทน ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าสายสัมพันธ์กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น แน่นแฟ้นขนาดไหน

หรือเป็นเรื่องของการตีความที่ไม่ตรงกัน ด้านบีเอ็มซีแอลยึดถือตามสัญญาสัมปทาน ที่ระบุชัดเจน บริษัทมีสิทธิปรับค่าโดยสารได้ ทุก 2 ปี ตามดัชนีผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยบริษัทตีความว่าไม่จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติของ ครม. เพราะผ่านการพิจารณาจากบอร์ด รฟม.มาแล้ว จึงทำให้บริษัทขึ้นราคาโดยที่ไม่รอ ให้ ครม.อนุมัติ

ขณะที่ รฟม.ระบุว่า บริษัททำผิด เพราะตามกฎหมายของ รฟม.กำหนดไว้ การขึ้นราคาค่าโดยสารต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายระบุไว้ คือ ต้องผ่าน ครม.และออกประกาศให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน

เรื่องนี้ทำให้ รฟม.หวุดหวิดเสียค่าโง่กับเรื่องไม่เป็นเรื่องให้กับบีเอ็มซีแอล 8-9 ล้านบาท เพราะต้องจ่ายค่าชดเชยรายได้ที่หายไปให้กับบริษัทวันละ 2 แสนบาท เนื่องจากรัฐไม่ทำตามสัญญา แต่ไปๆ มาๆ ไม่รู้ว่าเกลี่ยเซียะกันแบบไหน บีเอ็มซีแอลยกเว้นให้

สุดท้ายค่าโดยสารที่เก็บเกินมา 600,000 บาท จากผู้ใช้บริการ 3 วัน (วันที่ 3-5 กรกฎาคม) ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ทั้งรัฐและเอกชนตกลงว่าจะมอบให้กับการกุศล

หรือที่เรียกว่าทำบุญล้างบาป !

เป็นบทเรียนราคาแพงที่คู่สัญญาไม่มีวันลืม

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 13-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.