| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 45 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 10-07-2549    อ่าน 11362
 กระชาก "อสังหาฯ" พ้นบ่วง รัฐไฟเขียวฟื้นตึกร้าง 281 โครงการ

กระทรวงการคลังรับเป็นเจ้าภาพในการสานต่อนโยบายรื้อฟื้นตึกร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 508 แห่งนั้น เป็นเพราะรัฐบาลต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากของที่มีอยู่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหรือ value added จากอสังหาริมทรัพย์โดยรวม โดยนายธนาคารและผู้ประกอบการต่างก็เห็นพ้องต้องกัน

"ธุรกิจตอนนี้เหมือนเข้ามุมอับ ขยับไปทางไหนก็อึดอัด อย่างเคสซื้อที่ดินใหม่ในเมือง ถามใครก็บอกว่าแพงเกินเหตุ ตัดใจซื้อยาก มีหลายแปลงตอนนี้ตกลงกันไม่ได้ วิเคราะห์ว่า สาเหตุมาจากการซื้อขายที่ดินตารางวาละเกือบล้านบาทของกลุ่มเซ็นทรัลที่ประมูลซื้อที่ดินสถานทูตอังกฤษ ราคาในทำเลซีบีดี (ศูนย์กลางธุรกิจ) จึงขยับขึ้นหมด สุดท้ายต้องมาลงที่โครงการเก่า แต่ปัญหามันเยอะ" แหล่งข่าวสรุป

บสก.-ดีเวลอปเปอร์ขานรับ

ก่อนหน้าที่ "ข่าวดี" จะมาถึงผู้ประกอบการที่เล็งจะซื้อที่ดินในเมืองมีอยู่หลายบริษัท อาทิ แสนสิริ, พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์, ศุภาลัย, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้, ไรมอนแลนด์, พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, ที.ซี.ซี.แคปปิตอลแลนด์, ธนาพัฒน์ พร็อพเพอร์ตี้ในเครือเล้าเป้งง้วน, โนเบิล ดีเวลล็อปเม้นท์, ซิตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์, แอล.พี.เอ็น.ดีเวลล็อปเม้นท์, แกรนด์ ยูนิตี้ เป็นต้น

ไม่นับ บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูล "ชินวัตร" ที่หันหางเสือไปกว้านซื้อที่ดินแถบชานเมืองแทนด้วยเม็ดเงินกว่า 2,000 ล้านบาท

ขณะที่ดีเวลอปเปอร์บางส่วนเล็งซื้อโครงการเก่าก็มีหลายบริษัท อาทิ ที.ซี.ซี.แลนด์, กลุ่มไทยวา, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้, ซิตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ เป็นต้น

"การแก้ปัญหาอาคารสร้างค้างเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องแก้กฎหมาย เนื่องจากมีบางอาคารที่ใบอนุญาตหมดอายุไปแล้วและไม่สามารถนำมาพัฒนาต่อตามกฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ได้เพราะติดปัญหาระยะถอยร่น" คอมเมนต์แบบเปิดประเด็นของ "อธิป พีชานนท์" นายกสมาคมอาคารชุดไทย

ที่น่าสนใจคือ โครงการสร้างค้างที่รอเก็บเกี่ยวจากเจ้าของใหม่นั้น มี "ของดี" เหลือสักกี่มากน้อย "...ถ้าไม่ตั้งราคาขายไว้สูงเกินไป โอกาสจะถูกเทกโอเวอร์ก็มีมาก เห็นได้จากปัจจุบันอาคารก่อสร้างค้างในย่านใจกลางเมืองถูกซื้อไปพัฒนาต่อจำนวนมากในช่วงก่อนหน้านี้ และถึงขณะนี้ในทำเลใจกลางเมืองน่าจะเหลือตึกที่ก่อสร้างค้างไม่มากนัก" ข้อมูลจาก "ธงชัย จิรดิลก" เอ็มดี บริษัทเอเชีย แอสเสทฯ ธุรกิจคอนซัลต์และบริหารจัดการลงทุนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

รวมทั้ง "บรรยงค์ วิเศษชัยมงคล" เอ็มดี บรรษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ หรือ "บสก." เปิดเผยว่า เห็นด้วย เพราะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันจะช่วยในเรื่องสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย ตลอดจนป้องกันการก่อปัญหาอาชญากรรม เพราะมีตัวอย่างให้เห็นเช่น ในประเทศอเมริกา แนวนโยบายแห่งรัฐจะดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหาตึกร้าง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเนื่องในการเป็นแหล่งซ่องสุมอาชญากร

สำหรับ บสก.เอง ปัจจุบันไม่มีตึกสร้างค้างในพอร์ตแม้แต่โครงการเดียว อนาคตประเมินว่ามีแนวโน้มที่จะมีเข้ามาอย่างแน่นอน แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ บสก. มีความพร้อมในการบริหาร NPA อยู่แล้ว ดังนั้นมั่นใจว่า ถ้ามีตึกสูงสร้างค้างเข้ามาอยู่ในพอร์ตก็เพียงแต่จับมาแต่งตัวใหม่ และเชื่อมั่นว่าจะสามารถขายทอดตลาดออกไปได้โดยเร็ว

ตะลึง 281 ตึกร้าง 6.2 ล้าน ตร.ม.

ปรากฏการณ์ที่กระทรวงการคลังได้เข้าไปเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาตึกร้างทั่วประเทศในครั้งนี้นั้น ทำให้ภาวะ "เป็นรูปเป็นร่าง" มีน้ำหนักมากเป็นทวีคูณ เรื่องของเรื่องมาจากแนวนโยบายสมัยคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ปัญหาอาคารที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ แล้วเร่งนำมาปรับปรุงหรือบริหารจัดการใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบเศรษฐกิจ

หลังจากนั้น ขุนคลัง "ทนง พิทยะ" รมว.คลัง ได้เรียกเรื่องขึ้นมาดูพบว่า ข้อมูลตึกร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในปี 2544 มีอาคารที่สูงเกินกว่า 5 ชั้นและยังก่อสร้างไม่เสร็จมีมากถึง 508 แห่ง ล่าสุดได้ก่อสร้างต่อเติมจนเสร็จแล้ว 227 แห่ง ยังเหลืออาคารที่สร้างค้างอีก 281 แห่ง หรือคิดเป็นพื้นที่ใช้สอย 6.2 ล้านตารางเมตร

ปฏิบัติการฟื้นคืนชีพโครงการสร้างค้างทั้ง 281 โครงการ ได้ถูกส่งไม้ต่อไปยัง "ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล" ปลัดกระทรวงการคลัง โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ ได้แก่ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง สมาคมธนาคารไทย ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (สังกัดธนาคารอาคารสงเคราะห์) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด

ถ้าเปรียบเทียบการแก้ปัญหา 281 โครงการสร้างค้างครั้งล่าสุดนี้เป็นสมรภูมิรบ ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลจัด "ทัพหลวง" ในการเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาทีเดียว โดยเฉพาะการมอบหมายให้กระทรวงคลังเข้ามารับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพ เพราะมีหน่วยงานในสังกัดเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายส่วน

ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ที่รวบรวมข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ไว้ทั่วประเทศ ส่วนแบงก์รัฐหรือเอเอ็มซีของรัฐจะมีข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และสินทรัพย์รอการขาย (NPA) เป็นจำนวนมาก

และแน่นอนว่า ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาตึกร้างได้ เช่น การติดตามข้อมูลการขาย NPA ของแบงก์รัฐและเอกชน

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 10-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.