| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 32 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-07-2549    อ่าน 13062
 ศูนย์อุตสาหกรรมวิหารแดง จิ๊กซอว์สำคัญ "อิตาเลียนไทย" ฮุบบิ๊กโปรเจ็กต์ "บ้านเอื้อฯ-รถไฟฟ้า"

แม้ปัจจุบันดูเหมือนตลาดรับเหมาก่อสร้าง บรรยากาศค่อนข้างจะเงียบเหงา ผลพวงมาจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐหลายโครงการสะดุดกลางคัน และต้องรอเวลาหาความชัดเจน ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นได้เมื่อไหร่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน โครงการแหลมผักเบี้ย งานสะพาน งานถนน เป็นต้น

แต่ที่ศูนย์อุตสาหกรรมอิตาเลียนไทย ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ยังคึกคัก เพราะมีงานป้อนเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ไม่ขาดมือ

เพราะศูนย์อุตสาหกรรมการผลิตใหญ่ของ อิตาเลียนไทยฯที่นั่น มีรายการการผลิตครบวงจรเกี่ยวกับการก่อสร้าง

ถึงแม้ว่าจะไม่ครบไลน์การผลิต เนื่องจากมีบางไลน์ที่ต้องหยุดพักไว้ชั่วคราว เพราะไม่มีออร์เดอร์เข้ามา เช่น โรงหล่อชิ้นส่วนรถไฟฟ้า ฯลฯ แต่ที่นี่ไม่เคยหลับใหล ยังมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา

เนรมิตที่ 812 ไร่เป็นศูนย์ผลิตครบวงจร

ศูนย์อุตสาหกรรมอิตาเลียนไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 110 กิโลเมตร โดยตระกูล "กรรณสูต" เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 มีพื้นที่ทั้งหมด 812 ไร่ นับรวมถึงปัจจุบัน มีอายุมากว่า 10 ปีแล้ว

ภายในศูนย์ประกอบด้วยงานหลายประเภท เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างต่างๆ ทั้งของบริษัท อิตาเลียนไทยฯเอง และจากลูกค้าข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ.เอส แอสโซซิเอท จำกัด เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้เสริม นอกเหนือจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

งานหลักๆ คือ โรงงานหล่อชิ้นส่วนรถไฟฟ้า ทั้งเป็นอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และโครงสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส ทางด่วน โรงหล่อคอนกรีตสำเร็จชนิดอัดแรง เข็ม คาน โรงงานหล่อชิ้นส่วนอาคารสำเร็จรูป โรงงานแกรนิต โรงงานผลิตคอนกรีตเสริมใยแก้ว โรงงานประกอบโครงเหล็ก โรงงานผลิตหมอนคอนกรีตสำหรับรถไฟ โรงงานหล่อคอนกรีตสำเร็จรูป ฯลฯ

บริหารต้นทุน "จิ๊กซอว์" หลัก

จากความครบเครื่องและครบครันในเรื่องของงานก่อสร้าง ทำให้ "อิตาเลียนไทย" มีจุดแข็งที่อยู่เหนือรับเหมารายอื่นๆ กลายเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการคว้าประมูลงานโครงการใหญ่ๆ ในแต่ละครั้ง

เป็นที่รู้กันดีว่า สิ่งสำคัญที่สุด ในการประมูลงานคือ เรื่องของกำไร ผู้รับเหมาต้องดีดลูกคิดอย่างถี่ถ้วนถึงดอกผลที่จะได้กลับคืนมา ก่อนจะตัดสินใจเข้าประมูล

และปฏิเสธไม่ได้ว่า การบริหารต้นทุนก่อสร้าง เป็นปัจจัยหลักสำคัญ ที่ผู้รับเหมาจะต้องนำมาวิเคราะห์ไตร่ตรอง ในการคำนวณราคาแต่ละงาน เพื่อพิจารณาว่าเมื่อรับงานจะมีกำไรมากน้อยแค่ไหน

การบริหารต้นทุนหรือการลดต้นทุน สำหรับ "อิตาเลียนไทย" ถือว่าง่ายมาก เพราะมีศูนย์อุตสาหกรรมเป็นกุญแจหลักรองรับอยู่แล้ว ในเรื่องของวัสดุก่อสร้างต่างๆ ทำให้สามารถบีบต้นทุนได้ค่อนข้างต่ำ ในการก่อสร้างงานแต่ละโครงการ

คว้างานใหญ่ไว้ในมือตรึม

ไม่แปลกที่ปลายปีที่ผ่านมาอิตาเลียนไทยฯ คว้างานโครงการใหญ่ๆ ไว้ในมือมากมาย ทำแทบไม่ทัน เช่น บ้านเอื้ออาทร โครงการรถไฟฟ้า สนามบินสุวรรณภูมิ ฯลฯ

วิธีการคืออิตาเลียนไทยฯ จะเข้าไปประมูลงาน หลังจากเมื่อได้งานแล้ว ก็จะป้อนงานให้บริษัทในเครือ อย่างบริษัท เอทีโอ-เอเชีย เทิร์นเอาท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทยฯ กับผู้ประกอบการจากประเทศเยอรมนี ในสัดส่วน 50:50 ผลิตหมอนคอนกรีตและประแจสับรางรถไฟ

งานส่วนใหญ่ จะป้อนให้กับการถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหลัก เช่น โครงการก่อสร้างรางคู่จากรังสิต-บ้านภาชี เป็นต้น โดยผ่านพันธมิตรทางผู้รับเหมาก่อสร้าง คือ บริษัท เอ.เอส แอสโซซิเอท ที่คุ้นเคยกันมานานหลายสิบปี ตั้งแต่รุ่นก่อตั้งบริษัทอย่าง "หมอชัยยุทธ กรรณสูต" นั่งบริหาร

ล่าสุด บริษัทเอทีโอเพิ่งได้งานจากกิจการร่วมค้าซิโน-ไทย-เอ.เอส แอสโซซิเอท สดๆ ร้อนๆ วงเงินประมาณ 25 ล้านบาท ด้วยการรับจ้างผลิตหมอนคอนกรีต และประแจสับหลีกรางรถไฟฟ้า บีทีเอส สายสีลม ช่วงสถานีตากสิน-แยกตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการผลิต จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนหรือเสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ หลังจากนั้นส่งมอบให้กับผู้รับเหมาเพื่อนำไปติดตั้งได้ทันทีหน้าไซต์งานก่อสร้าง ซึ่งตามกำหนดจะเริ่มติดตั้งเดือนสิงหาคม 2549

ในตลอดระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จะใช้รางสับหลีกประมาณ 7 ตัว โดยเอทีโอจะต้องผลิตหมอนคอนกรีตรองรางรถไฟ จำนวน 500 ตัว ส่วนหมอนรางทางตรงนั้น กลุ่มเอ.เอสฯจ้างบริษัท ไทยพีคอนและอุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ผลิต จำนวน 7,162 ท่อน ใช้เวลาในการผลิตประมาณ 3 เดือน

เตรียมเปิดไลน์ผลิตโครงสร้างรถไฟฟ้า

เสร็จจากงานต่อขยายสายสีลม 2.2 กิโลเมตร ทางอิตาเลียนไทยฯ เตรียมความพร้อมสำหรับลุยงานส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงอ่อนนุช-ซอยแบริ่ง (ซอยสุขุมวิท 107 ) ระยะทาง 5.2 กิโลเมตร ที่บริษัทประมูลงานก่อสร้างได้ วงเงิน 3,800 กว่าล้านบาท

โดยบริษัทตอบตกลงกับ กทม.ขอยืนราคาค่าก่อสร้างไว้เหมือนเดิม แม้งานดังกล่าวจะเปิดประมูลตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน และระยะเวลาจะผ่านไป 2 ปีเศษ ถึงปัจจุบันต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น 20% แล้วก็ตาม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญา และคาดว่าจะเริ่มงานได้ภายในสิ้นปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง

ว่ากันว่าการที่บริษัทอิตาเลียนไทยฯ ยอมกัดฟันยืนราคาเดิมไว้ เป็นเพราะมีเครื่องจักรเก่าอยู่แล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างรถไฟฟ้าให้กับบีทีเอส ซึ่งใช้โรงงานการผลิตที่ศูนย์อุตสาหกรรมอิตาเลียนไทยที่วิหารแดงเช่นเดียวกัน แม้ว่าตอนนี้จะหยุดผลิตแต่สามารถนำมาปัดฝุ่นกลับมาใช้ใหม่ได้

จึงทำให้ครั้งนี้ อิตาเลียนไทยฯสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรผลิตใหม่ ซึ่งปัจจุบันราคาค่อนข้างแพงในแต่ละชิ้น เพราะผลิตมาจากเหล็ก

"พอรู้ว่าเราจะได้งานต่อขยายสายสีลมอีก 5.2 กิโลเมตร เราก็เริ่มเตรียมตัวแล้ว โดยเริ่มศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ บางตัว และคุยกับซัพพลายเออร์ต่างๆ คงไม่ต้องเตรียมอะไรมาก" นายธวิทย์ ยืนยง ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิต ศูนย์อุตสาหกรรมอิตาเลียนไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

"ธวิทย์" ยังบอกอีกว่า เนื่องจากส่วนต่อขยายสายสีลมนี้ จะใช้รูปแบบโครงสร้างเดิม เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายที่เปิดใช้อยู่ในขณะนี้ทุกอย่าง นอกจากนี้ ที่ศูนย์นี้ก็มีโมลผลิตหรือแท่นพิมพ์พร้อมอยู่แล้ว เพียงแค่เพิ่มคนงานเข้าไปเท่านั้น ทุกอย่างสามารถเดินหน้าได้

"เราแค่เครื่องมือมาบำรุงรักษาใหม่ และหล่ออย่างเดียว ซึ่งงานนี้สามารถเร่งได้ มีแท่นหล่อทั้งหมดประมาณ 30 กว่าโมล ถ้าหากว่าโครงการนี้ทาง กทม.ต้องการจะเร่งก่อสร้าง เรามีทุกอย่างพร้อม เพียงแค่มาจัดลำดับงานกันใหม่ เพราะตอนนี้เราหยุดผลิต มา 1-2 ปีแล้ว เนื่องจากไม่มีออร์เดอร์เข้ามา เราจำเป็นต้องหยุดพักไว้ชั่วคราว"

จากนั้น "ธวิทย์" ก็ฉายภาพให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าขณะนี้ที่โรงงานส่วนการผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าหยุดผลิต แต่ส่วนอื่นๆ ยังเดินเครื่องการผลิตอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะโรงงานผลิตผนังสำเร็จรูปของโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่เร่งผลิตกันอย่างมาก เนื่องจากเป็นงานเร่งด่วนพิเศษ รองรับงานก่อสร้างโครงบ้านเอื้ออาทรทั่วประทศ จำนวนหลายแสนยูนิต ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งบริษัทอิตาเลียนไทยฯประมูลมาได้ ทำให้การผลิตล้นมือ เพราะความต้องการใช้มีมาก

จากความต้องการที่ล้นหลามนี้ ทำให้ที่ผ่านมาอิตาเลียนไทยฯ ต้องขยายพื้นที่โรงงานผลิตถึง 4 โรง มีคนงาน 2,000 คน มีกำลังการผลิตได้วันละ 5,000-6,000 ชิ้น แต่ยังไม่เพียงพอ ล่าสุดกำลังจะหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้คนมาก และขยายตลาดไปสู่โครงการอื่นๆ ที่จะตามมาในอนาคต

เป็นการต่อยอดทางธุรกิจที่ครบเครื่องจริงๆ

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 03-07-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.