| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 56 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-06-2549    อ่าน 11396
 "มองมุมใหม่ให้พอเพียง" กระเบื้องคอตโต้หนุนแนวคิดนอกกรอบ จับสิ่งใกล้ตัวมาสร้างสรรค์ผลงาน

นับเป็นการจัดงานต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 6 แล้ว สำหรับโครงการ Difference Design Awards 2006 ธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของปีนี้ บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรม จำกัด เจ้าของแบรนด์กระเบื้องดัง "คอตโต้" หยิบยกหัวข้อ "มองมุมใหม่ให้พอเพียง" มาเป็นโจทย์ให้ผู้ที่มีใจรักในงานศิลป์ได้คิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ

เป้าหมายการจัดงาน คอตโต้ยังสานต่อเจตนารมณ์เดิม คือ เป็นเวทีให้ผู้ที่สนใจได้สร้างงานออกแบบสถาปัตยกรรมอาคาร งานตกแต่ง หรืองานออกแบบผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบของภาพสเก็ตช์ โดยเปิดกว้างให้นำเสนอแนวคิดได้อย่างเต็มที่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ปีนี้คอตโต้ยกกระแสพระราชดำรัสขององค์ในหลวงในเรื่อง "ความพอเพียง" มาปรับใช้ ซึ่งหมายถึงการหยิบเอาสิ่งใกล้ตัวมาประยุกต์เข้ากับการสร้างสรรค์ผลงาน

"ปริญญา สายน้ำทิพย์" เอ็มดีของกระเบื้อง คอตโต้ในฐานะหัวเรือใหญ่การจัดงานบอกว่า โครงการ Difference Design Awards ได้รับ ความสนใจเพิ่มมากขึ้นทุกปี ล่าสุดคือปีที่ผ่านมา มีผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดถึงกว่า 300 ผลงาน แน่นอนว่าปีนี้แนวโน้มน่าจะได้รับความสนใจมากขึ้นไปอีก

สำหรับหัวข้อโครงการในปีนี้ ได้แนวคิดมาจากความฟุ้งเฟ้อในสังคมที่ยึดติดกับวัตถุนิยม หลายคนวิ่งตามความฟุ่มเฟือยจนลืมเส้นแบ่งระหว่าง "เพียงพอ" กับ "เกินพอ" ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อของงาน ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ใช้การประชาสัมพันธ์ จึงเน้นความพอเพียงเป็นกระแสหลัก เช่น การใช้กระดาษปอนด์ที่ไม่ใช้เทคนิคพิเศษในการพิมพ์ เป็นต้น

"ในเรื่องการให้คะแนนมีทั้งหมด 4-5 ส่วน คือ การคิดนอกกรอบ 50% ความสมเหตุสมผล 20% ประโยชน์ใช้สอยรวมกับความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งาน 15% และความน่าสนใจอีก 15% เพราะไม่ใช่แค่การคิดให้แตกต่างเท่านั้นแต่ผลงานที่ได้รับรางวัลจะต้องพัฒนาหรือนำไปปรับใช้จริงได้ด้วย"

ส่วนเงินรางวัลล่อใจก็ยังคงไม่แพ้ปีก่อนๆ โดยแบ่งเป็นการประกวดประเภทนักศึกษาและประชาชนทั่วไป แยกเป็นรางวัลที่ 1, 2, 3 และรางวัลชมเชย 3 รางวัล ชิงเงินรางวัลทั้งสิ้น 431,000 บาท ซึ่งจะหมดเขตส่งผลงานเข้าประกวดในวันที่ 31 สิงหาคม 2549 นี้ ก่อนจะประกาศผล ผู้ได้รับรางวัลในช่วงก่อนสิ้นปี ภายในเดือนพฤศจิกายน 2549

ทั้งนี้ หากย้อนหลังกลับไปในการจัดงานปีที่ผ่านมา เราจะเห็น "ตัวอย่าง" ไอเดียแนวคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบวิธีคิด "คิดนอกกรอบ" สะท้อนออกมาเป็นงานศิลป์ตามหัวข้อการจัดประกวด เช่น รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทประชาชนที่ใช้ชื่อผลงาน "Green Field" ที่เปิดมุมมองใหม่ด้วยการนำเสนอไอเดียการตกแต่งพื้นที่ 2 ฝั่งแนวถนนวิทยุด้วยสีเขียว เพื่อปกปิดสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นที่เหมือนถูกโอบล้อมด้วยป่าคอนกรีต

ส่วนในประเภทนักศึกษา รางวัลชนะเลิศอันดับ ที่ 1 ถือว่ามีไอเดียที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ในชื่อผลงาน "The Spirit of Poem" ที่นำเสนอไอเดียสร้างสีสันในมุมมองใหม่ให้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้วยการนำไฟสีต่างๆ มาฝังไว้กับพื้นโดยรอบตัวอนุสาวรีย์ เพื่อความสวยงามและสร้างความบันเทิงให้กับผู้ที่สัญจรผ่านไปมา

จากผลงานโครงการประกวดในปีที่ผ่านมา นับเป็นอีกครั้งที่กระเบื้องคอตโต้เห็นว่าผลงานที่ได้รับรางวัลทุกชิ้นน่าจะสามารถปรับใช้เพื่อสร้างสีสันของกรุงเทพฯให้เป็น "เมืองน่าอยู่" มากขึ้น จึงได้จัดงานส่งมอบผลงานที่ชนะการประกวดทั้งหมดให้กับ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ผู้ว่าฯ กทม.เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายในศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

หลังจากรับมอบผลงานทั้งหมดแล้ว ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ยืนยันว่าจะนำผลงานที่ได้รับรางวัลมาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์กรุงเทพฯให้สวยงามมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือการพัฒนาตลาดบองมาร์เช่ ย่านถนน ประชานิเวศน์ 1 ซึ่งไอเดียส่วนหนึ่งก็มาจาก โครงการประกวด Difference Design Awards เมื่อปี 2546 รวมไปถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของทางเดินโดยรอบแม่น้ำเจ้าพระยา

ล่าสุด ที่กำลังดำเนินการอยู่ "อภิรักษ์" ได้ยกตัวอย่างโครงการก่อสร้าง "หอศิลปวัฒนธรรม" บริเวณแยกปทุมวัน ที่กรุงเทพมหานครทุ่มงบประมาณ 500 ล้านบาท ก่อสร้างเป็นสถานที่จัดแสดงผลงานเกี่ยวศิลปวัฒนธรรมที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเฟสแรกจะแล้วเสร็จพร้อมอวดโฉมในช่วงปลายปี

งานนี้น่าจะสมกับความตั้งใจของกระเบื้อง คอตโต้ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน ที่ต้องการผลักดันสังคมให้คิดนอกกรอบและนำผลงานนั้นไปปรับ ใช้ได้ด้วย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 22-06-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.