| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 46 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-06-2549    อ่าน 12381
 วิชั่นหัวเรือใหญ่สมาคมผู้ผลิตสี สุชาติ เตียนโพธิทอง เร่งยกระดับมาตรฐานรับมือการค้าเสรี

นับจากเข้าสู่ยุคการเปิดเขตเสรี (FTA) ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อรับมือกับความท้าทายจากสนามการแข่งขันของโลกการค้าไร้พรมแดน ไม่เว้นแม้แต่สินค้าในกลุ่มสีที่จะมีการลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ในปี 2553 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า

จากจุดนี้ถือว่าเหลือเวลาอีกไม่มากในการนับถอยหลังสู่การแข่งขัน การยกระดับมาตรฐานผู้ผลิตสีเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับสินค้าจากต่างชาติที่พร้อมจะหลั่งไหลเข้ามาในอนาคต จึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการของสมาคมผู้ผลิตสี ซึ่งปัจจุบันมี "สุชาติ เตียนโพธิทอง" นั่งเก้าอี้นายกสมาคม ซึ่งล่าสุดได้เปิดใจให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวทางของสมาคม ในการยกระดับมาตรฐานวงการสี รวมถึงมุมมองต่อภาพรวมตลาดสีในปีนี้

- จุดเริ่มต้นของสมาคม

เริ่มแรกกลุ่มผู้ผลิตสีอยู่ในกลุ่มของผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ในสภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งพอถึงจุดจุดหนึ่งเรามองว่าโลกโกลบอลมากขึ้น ไม่ใช่การแข่งขันกันเองระหว่างผู้ผลิตในประเทศอีกแล้ว การยกระดับมาตรฐานผู้ผลิตสีเป็นสิ่งจำเป็น สมาคมผู้ผลิตสีจึงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 หรือ 6 ปีที่ผ่านมา เริ่มแรกมีผู้ร่วมกันก่อตั้งทั้งหมด 3 ราย แต่ละคนก็ไปชักชวนสมาชิกมาตอนจดทะเบียน ครั้งแรกเรามีทั้งหมด 7 ราย กระทั่งปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มเป็น 66 ราย แยกเป็นแบบสามัญหรือที่เป็นผู้ผลิตสี 40 บริษัท และวิสามัญที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ 26 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศไทยและมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นคนไทย

- เป้าหมายหลักๆ สมาคม

เป้าหมายหลักมีอยู่ 4 ส่วนด้วยกันคือ 1)เร่งยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปิดเขตการค้าเสรีของธุรกิจสีในปี 2553 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า ซึ่งตอนนั้นภาษีนำเข้าสีจะลดลงเหลือ 0% 2)เป็นตัวกลางในการประสานงานและนำเสนอปัญหาที่ต้องการให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ 3)ขยายฐานสมาชิก เนื่องจากสมาชิกสมาคมที่เป็นผู้ผลิตสีทั้ง 40 ราย ยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 จากจำนวนผู้ผลิตสีที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 126 ราย จะเห็นว่ายังมีผู้ผลิตอีกจำนวนมากที่อยู่นอกสมาคม และ 4)ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม เช่น ล่าสุดสมาคมได้ถวายเงิน 100,000 บาท ผ่านทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในวาระเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปีของในหลวง

- ถ้าเปิด FTA แล้วประเทศไหนที่น่ากลัว

คงหนีไม่พ้นประเทศจีน ตอนนี้อาจจะเข้ามาไม่มากนัก แต่เมื่อถึงปี 2553 ภาษีนำเข้าเหลือ 0% ย่อมส่งผลกระทบแน่ เพราะจีนมีวัตถุดิบเคมีที่เกี่ยวกับการผลิตสีเกือบครบทุกอย่าง ดังนั้นต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าเรามาก ต้นทุนแรงงานก็ถูกกว่า

บางคนอาจมองว่าจะขนส่งสินค้ามาถึงเมืองไทยน่าจะมีต้นทุนสูง แต่ในความเป็นจริงการขนส่งสินค้าจากจีนมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ยังถูกกว่าจากขนสินค้ากรุงเทพฯไปเชียงใหม่ ซึ่งทุกวันนี้เฉลี่ยแล้วมีต้นทุนค่าขนส่ง 30 บาทต่อกล่อง (1 กล่องบรรจุ 4 แกลลอน) และกำลังจะปรับขึ้นเป็น 40 บาทต่อกล่องในเร็วๆ นี้ เหตุผลเพราะใช้การขนส่งทางเรือซึ่งประหยัดกว่า ขณะที่ของเราต้องขนส่งทางรถเท่านั้น

- แต่ปัญหาของจีนตอนนี้คือเรื่องคุณภาพ

ไม่จริง...เมืองจีนมีความสามารถผลิตสีระดับพรีเมี่ยมได้ เพียงแต่เขามองว่าตลาดกลุ่มนี้ยังไม่ใหญ่ ปัญหาตอนนี้ของจีนมีเพียงอย่างเดียวคือเรื่องการทำตลาด ถ้าจับจุดได้เมื่อไหร่เขาจะยิ่งมีศักยภาพมากขึ้นอีก

- โดยรวมๆ ถือว่าเราพร้อมหรือยัง

เราเคยเสนอภาครัฐให้จัดทำมาตรฐานสินค้านำเข้าไปแล้ว และต้องทำให้เป็นมาตรฐานระดับ อินเตอร์เนชั่นแนล ตรงนี้ไม่ใช่การกีดกันสินค้า แต่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ซื้อสีที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันภาครัฐคงต้องสร้างค่านิยมให้คนไทยช่วยสนับสนุนสินค้าไทยด้วย ซึ่งสำคัญมาก ไม่เช่นนั้นผู้ผลิตสีก็อยู่ไม่ได้ เพราะทุกวันนี้คนไทย ยังซื้อสินค้าด้วย "ราคา" มากกว่า "คุณภาพ"

ส่วนในอนาคตคิดว่ามีโอกาสที่จะเห็นโรงงานขนาดเล็กเมิร์ชหรือควบรวมกิจการกัน ซึ่งคงต้องอาศัยภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้วย เช่น อาจยกเว้นเรื่องการเก็บภาษี หรือกรณีควบรวมกันแล้วต้องการปรับปรุงโรงงานเป็นพื้นที่โกดัง บางครั้งหากอยู่ในเขตชุมชนก็อาจติดปัญหาข้อกำหนดผังเมือง ก็อยากให้ภาครัฐยืดหยุ่นขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง นอกจากนี้ถ้าเป็นไปได้อยากให้ลดภาษีนำเข้า วัตถุดิบเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสีลงเพื่อให้แข่งขันได้ เพราะนับจากปีที่ผ่านมาต้นทุนการผลิตสีขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 10-20% แล้วแต่ประเภทของสี

- สมาคมเดินหน้ายกระดับมาตรฐานอะไรบ้าง

ถ้าเกี่ยวกับการควบคุมมาตรฐานสินค้า ที่ผ่านมาสมาคมได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรณีมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) นอกจากนี้ก็ส่งตัวแทนเป็นอนุกรรมการในสภาหอการค้าไทย เพื่อพิจารณาจัดทำตราสัญลักษณ์มาตรฐานสินค้านานาชาติ คล้ายๆ กับมาตรฐาน Q-mark (ควอลิตี้มาร์ก) ที่ต่างประเทศใช้กัน ดังนั้นต่อไปถ้ามีการกำหนดตราสัญลักษณ์มาตรฐานขึ้นมาใช้แล้ว ก็เท่ากับเป็นการรับประกันว่าสินค้า ทุกชิ้นผลิตภายใต้มาตรฐานเดียวกันและรักษามาตรฐานการผลิตให้คงที่ด้วย เท่าที่ทราบล่าสุด ทางสภาหอการค้าไทยก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่

- สีในตลาดส่วนใหญ่มี มอก.หรือไม่

ส่วนใหญ่ไม่มี เพราะสีไม่ได้จัดเป็นสินค้าที่บังคับใช้ต้องมี มอก. จะเห็นว่าในตลาดมีสีตั้งแต่กระป๋องละไม่กี่ร้อยบาทไปถึงหลายพันบาท ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าถ้าเป็นสีตกแต่งภายในอาคาร ถ้าเป็นสีระดับมาตรฐาน มอก. อย่างต่ำต้องมีต้นทุน 500-600 บาทต่อกระป๋อง

- เรื่องอื่นๆ ที่อยากให้ภาครัฐสนับสนุน

คงเป็นเรื่องความรวดเร็วในการทดสอบผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันการจะขอ มอก.หรือกรณีมีการปรับปรุงมาตรฐาน มอก. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะรับรองมาตรฐานให้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรวจสอบและได้รับผลรับรองคุณภาพจากหน่วยงานของภาครัฐเท่านั้น ซึ่งมีการทดสอบมาตรฐานหลายรายการ บางครั้งใช้เวลานานเกินกว่า 6 เดือน

- กับภาพรวมตลาดสีปีนี้

ถ้าเปรียบเทียบในปี 2547 มีอัตราการบริโภคสีทุกประเภท ได้แก่ สีทาอาคาร สีรถยนต์ สีตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ สีทาเรือ สีหมึกพิมพ์ สีฝุ่น สีงานไม้ สีเคลือบกระป๋อง สีพลาสติก ทินเนอร์ และอื่นๆ รวม 438,500 ตัน ถัดมาในปี 2548 ลดลงเหลือ 423,000 ตัน โดยกลุ่มที่ฉุดภาพรวมก็คือสีทาอาคารมีอัตราการบริโภคลดลง 9% จาก 198,000 ตัน เหลือ 180,000 ตัน ส่วนภาพรวมปีนี้ (2549) คาดว่าภาพรวมน่าจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย ปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงฉุดภาพรวมเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลง

- เรื่องต้นทุนการผลิตเป็นอย่างไร

ตอนนี้กรอสมาร์จิ้น (กำไรขั้นต้น) ทุกคนลดลง เพราะวัตถุดิบขึ้นราคา แต่ปรับราคาสินค้าไม่ได้เพราะ 2 สาเหตุคือ การแข่งขัน และการขอปรับราคาต้องแจ้งรายละเอียดต้นทุนที่แท้จริงกับกระทรวงพาณิชย์ก่อน ถ้าเป็นไปได้จึงอยากให้การแจ้งปรับราคาคล่องตัวมากขึ้น เพราะธุรกิจสีมีผู้ผลิตกว่า 100 ราย การแข่งขันจึงเป็นตัวกำหนดราคาอยู่แล้ว

- คิดว่าครึ่งปีหลังจะเห็นการปรับราคาสีหรือไม่

คิดว่าส่วนใหญ่ได้ขอปรับขึ้นกันไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะแนวโน้มราคาน้ำมันคงไม่ลดลงมีแต่เพิ่มขึ้น ส่วนแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังจะขอปรับราคากันอีกหรือไม่ คงขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท บางรายอาจใช้วิธีการลดต้นทุน แต่คาดว่าถึงปรับราคาจริงก็คงไม่มาก เนื่องจากการแข่งขันสูง บวกกับความต้องการใช้ชะลอตัวลง

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 19-06-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.