| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 100 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 08-06-2549    อ่าน 11502
 วโรดม สุจริตกุล ปลุกกระแสแก้ปัญหาตึกเสี่ยงภัย

ตึกถล่ม ไฟไหม้อาคาร ยังคงเป็นปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นให้เห็นอยู่เรื่อยๆ

หลายต่อหลายครั้งต้องมีคนสังเวยชีวิต หลายต่อหลายครั้งที่ไฟไหม้ลุกลามจนโครงสร้างอาคารถล่มลงมา สะท้อนให้เห็นถึงระบบป้องกันอัคคีภัยและความปลอดภัยอาคารที่อยู่ใน ขั้นเสี่ยง

เดือนตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา รัฐประสบความสำเร็จในการผลักดันเพื่อ "บังคับใช้" กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้กฎหมายนี้ "วโรดม สุจริตกุล" นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร เปิดมุมมองกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จะเป็นการรื้อใหญ่ระบบความปลอดภัยอาคารที่มีอยู่ร่วม 20,000 แห่งทั่วประเทศ

- ตึกสูงกับความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย

ก่อนจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คุณอภิรักษ์ (โกษะโยธิน) เคยหาเสียงเรื่องจัดทำโครงการ "สังคมปลอดภัย" พอได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ ท่านก็เดินหน้าทำโครงการอาคารปลอดภัยโดยให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นเจ้าภาพ ตอนนั้นมีการเรียกประชุมเจ้าของอาคาร 2,000 แห่งในกรุงเทพฯ มีการบรรยายชี้แจงและแจกแบบฟอร์มให้กรอกและส่งกลับมา จากนั้นก็ส่งเจ้าหน้าที่ กทม.ไปตรวจสอบ ถ้าผ่านก็จะมอบได้รับโล่ว่าเป็นอาคารปลอดภัยที่ได้รับการรับรองจาก กทม.

โครงการนี้เริ่มต้นมาก็ดี แต่พอตรวจสอบเบื้องต้นแล้วไม่เป็นอย่างที่คิด ประเด็นคือมีอาคารร่วม 80% ที่ไม่ปลอดภัย โครงการนี้ก็เลยถูกหยุดไปเลย เพราะกลัวว่าทำๆ ไปแล้วจะไม่มีมีอาคารไหนผ่านเลย

- แสดงว่าตึกสูงส่วนใหญ่เสี่ยง

ถ้าเป็นในกรุงเทพฯ ที่ถือว่าเสี่ยงก็ 80% ถ้าเป็นอาคารทั่วประเทศประมาณ 20,000 แห่ง ผมว่า 90% หรือมีประมาณ 18,000 แห่งที่ไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย

- ปัญหาแบบไหนที่พบมากที่สุด

เคสของโรงแรมจอมเทียน พัทยา ที่เคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เมื่อหลายปีก่อน ผมมีโอกาสเข้าไปตรวจสอบอาคารประมาณ 3 วัน พบว่าอาคารนี้สร้างถูกต้องตามกฎหมายแต่โชคไม่ดีที่เกิดไฟไหม้ เพราะสิ่งที่น่ากลัวคือทางหนีไฟที่นี่เป็น "กับดักมนุษย์" คำนี้ฟังแล้วน่ากลัวนะ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าทางที่ทำไว้สำหรับให้หนีปลอดภัยหรือไม่

ตอนนั้นผมได้มีโอกาสเจอกับเจ้าของอาคาร เขายืนยันว่าเป็นอาคารที่ปลอดภัยที่สุดเพราะใช้วิศวกร สถาปนิกระดับแถวหน้า แต่พอตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่คอร์ริดอร์ (ระเบียง) ของโรงแรม ถ้าเป็นอาคารที่ปลอดภัยจริงๆ จะมีการซ่อนประตูกันไฟไว้ระหว่างช่อง และตามปกติประตูจะต้องถูกแม่เหล็กดูดไว้ไม่ให้ปิด แต่เวลาไฟไหม้แม่เหล็กนี้จะหยุดทำงานประตูก็จะปิดลงเพื่อกันไฟเพื่อให้คนมีเวลาหนีออกจากอาคาร ตรงนี้เป็นการป้องกันที่สแตนดาร์ดมาก ซึ่งตามหลักบานประตูต้องทำจากอุปกรณ์ป้องกันไฟทั้งหมด และต้องไม่มีช่องให้ควันไฟเล็ดลอดออกมาได้ แต่ความจริงคือประตูมีช่องห่างจากพื้นประมาณ 1 นิ้ว อันนี้เสร็จเลย...

- อาคารประเภทไหนที่เสี่ยงมากๆ

ตามปกติไฟจะลุกลามขึ้นที่สูง ดังนั้น อาคารไหนยิ่งสูงยิ่งเสี่ยง รวมถึงอาคารที่วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ดี

ตรงนี้จะมีประเด็นถามกันมากว่า กฎหมายระบุถึงมาตรฐานความปลอดภัยในอาคารแต่ละประเภทหรือเปล่า คำตอบก็คือกฎหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ละเอียด ในทางปฏิบัติจึงต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการตัดสิน วันนี้กฎหมายจึงต้องเข้มแข็ง ส่วนผู้ตรวจสอบอาคารก็ต้องไม่ใช้อำนาจที่มีอยู่ไปบีบใคร ต้องมุ่งทำงานเพื่อให้อาคารนั้นปลอดภัยจริงๆ

- มีตัวอย่างตึกไหนบ้างที่ปลอดภัย

ผมเคยไปตรวจสอบโรงแรมเพนนินซูล่า ถนนเจริญนคร ต้องยกเครดิตให้เป็นอาคารที่ปลอดภัยที่สุด แต่ที่น่าตกใจคือโรงแรมชื่อดังแห่งหนึ่งในย่านเพลินจิต รวมไปถึงอาคารหอประชุมกองทัพเรือ ปรากฏว่าระบบที่ใช้ในการป้องกันอัคคีภัยถูกปิดไว้หมดเลย และบางส่วนก็อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้ ทั้งที่เป็นอาคารสำหรับต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

- อาคารที่ปลอดภัยต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

อาคารที่ปลอดภัยต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกันคือ 1) การออกแบบ ซึ่งบ้านเรายังบกพร่องอยู่ เนื่องจากการออกกฎหมายไม่มีมาตรฐานการก่อสร้างมาอ้างอิงทำให้วิศวกรหรือสถาปนิกต้องออกแบบโดยใช้ประสบการณ์เป็นหลัก แต่เท่าที่ทราบตอนนี้ทาง วสท. (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์) กำลังพยายามทำมาตรฐานตรงนี้ ส่วนเรื่องการกำหนดมาตรฐานการออกแบบอาคาร หรือ "บิลดิ้ง โค้ด" ทราบว่าทางกรมโยธาธิการและผังเมืองก็กำลังทำเช่นกัน แต่มาตรฐานที่ออกมาจะเป็นอย่างไรก็เป็นจุดที่ยังกังวลอยู่

2) การก่อสร้าง ถ้าเป็นโครงการในต่างประเทศ ระหว่างก่อสร้างอาคารจะมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐมาตรวจสอบว่าตรงตามแบบที่กำหนดหรือไม่ ส่วนของเราก็อย่างที่ทราบๆ กันว่าเวลาตรวจสอบกันจริงๆ แบบที่ขอก่อสร้างกับบ้านที่สร้างจริงมักไม่ตรงกัน และ 3) การตรวจสอบอาคารหลังจากสร้างเสร็จ ซึ่งอดีตไม่มีกฎหมายบังคับ เพิ่งมีกฎหมายออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว ตรงนี้ถือเป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้อาคารที่ก่อสร้างไปแล้วและที่กำลังจะก่อสร้างใหม่ในอนาคตต้องถูกตรวจสอบ

- จะเริ่มตรวจสอบอาคารเมื่อไหร่

ตามกฎหมาย อาคารที่เข้าข่ายทั้ง 9 ประเภทต้องส่งแบบรายงานการตรวจสอบอาคารประมาณเดือนธันวาคม 2550 ดังนั้นอย่างช้าควรจะเริ่มทยอยตรวจสอบอาคารภายในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องก็คือผู้ตรวจสอบอาคารที่ผ่านการสอบและขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย

ซึ่งจริงๆ แล้ว ในอดีตมีหน่วยงานบางแห่ง เช่น วสท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อบรมผู้ตรวจสอบอาคารมาก่อน แต่อบรมเฉพาะหลักสูตรเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย ขณะที่กฎหมายที่ออกมามีการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องสุขอนามัย สิ่งอำนวยความสะดวก เท่ากับต้องมาอบรมกันใหม่ ดังนั้น บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบอาคารในตอนนี้จึงถือว่ามีน้อยมากๆ

- ประเมินค่าใช้จ่ายทั้งระบบเป็นอย่างไร

ผมว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท จากทั้งหมด 20,000 อาคาร เพราะยังไม่เคยมีการตรวจสอบเลย เรื่องความปลอดภัยเป็นการลงทุนที่จำเป็นต้องจัดให้มี ฉะนั้น ในเมื่อเป็นเรื่องใหม่ที่รัฐบาลกำหนดให้ประเทศไทยมีการบังคับในเรื่องการตรวจสอบอาคาร ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัยและน่าจะทำให้ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัยเติบโตขึ้นด้วย

- การตรวจสอบต้องใช้เวลาแค่ไหน

ช่วงแรกคิดว่าคงต้องใช้เวลาพอสมควร ยกตัวอย่างถ้าเป็นอาคารขนาด 10,000 ตารางเมตร คงจะประมาณ 1 เดือน แต่สำหรับต่างประเทศจะใช้เวลาน้อยกว่า เพราะระหว่างก่อสร้างเขามีมาตรฐานกำหนดชัดเจน การตรวจสอบจึงง่ายเพราะแค่เช็กว่าอุปกรณ์ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้หรือไม่ แต่สำหรับตึกสูงในประเทศไทย อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการรื้อใหญ่เรื่องความปลอดภัยอาคาร ดังนั้นเบื้องต้นถ้าแต่ละอาคารมีวิศวกรประจำอยู่ด้วยก็จะง่ายขึ้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 08-06-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.