| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 73 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-06-2549    อ่าน 11718
 "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" เปิดยุทธศาสตร์พัฒนา กทม. สิ่งแวดล้อมกับเชิงพาณิชย์ต้องไปด้วยกัน

เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ที่ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" เข้ามานั่งบริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะพ่อเมือง

ต้องยอมรับว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมามีผลงานหลายชิ้นที่สร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้กับ เมืองหลวงกรุงเทพฯดูดีขึ้น อาทิ ด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาการจราจร

วินาทีนี้ กทม.ถูกจับตามองอีกครั้งเมื่อทีม ผู้บริหารจากพรรคประชาธิปัตย์ขับเคลื่อนนโยบายประกาศบังคับใช้ "ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร" ฉบับใหม่ได้ทันเงื่อนไขเวลาเดดไลน์ภายใน วันที่ 5 กรกฎาคม 2549 ซึ่งเป็นเดดไลน์ครั้งสุดท้ายหลังจากที่ประกาศล่าช้ามาปีกว่า

ประเด็นคือเมื่อประกาศใช้แล้ว หลายคนมีคำถามว่า ผังเมืองฉบับใหม่นี้จะมีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อการบริหาร กทม. ตามนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่ต้องการให้เป็น "เมืองน่าอยู่" อย่างไรบ้าง ประเด็นสำคัญต่อมาคือผลกระทบที่เกิดกับภาคธุรกิจ ตลอดจนแนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองให้มีทิศทางสอดคล้องกับผังเมืองใหม่

"อภิรักษ์" ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กทม.มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเรื่องการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เน้นเรื่องกระบวนการในการมีส่วนร่วม เพราะเชื่อว่าลำพัง กทม. หากใช้กฎระเบียบบังคับอย่างเดียว ผลสัมฤทธิ์ไม่น่าจะเกิด ปัญหาของกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ และมีคนอยู่ 10 กว่าล้านคน ความสำคัญคือต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

เพราะฉะนั้นทิศทางของ "เมืองน่าอยู่" จะมีเรื่องของการอนุรักษ์พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การ ส่งเสริมการใช้โครงการระบบขนส่งมวลชน การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำมันแพง ปัญหารถติด ซึ่งก็ก่อให้เกิดมลพิษ รวมถึงการเน้นเรื่องคุณภาพชีวิต คุณภาพการศึกษา ยุทธศาสตร์หลักเรามีการพูดชัดเจนในเรื่องการพัฒนาเมือง มีทิศทาง ก็สอดคล้องกับเรื่องการใช้ผังเมืองเป็นหลัก

"จะเห็นว่าในช่วงตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นมา เราจะให้ความสำคัญหลัก 3 เรื่อง คือ ปัญหาการจราจร สิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าในความแออัดโดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาการเพิ่มพื้นที่ สีเขียว ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหาการจัดระเบียบเมืองต่างๆ ตรงนี้ผมคิดว่าเวลามีโครงการต่างๆ มีนโยบายที่ชัดเจนและก็ใช้กระบวนการสำรวจความคิดเห็นและมีการประเมินทุก 3 เดือน"

"อภิรักษ์" แสดงความเชื่อมั่นว่าปัญหาคงไม่หมดไป เพราะรถยังคงติดอยู่ แต่สภาพแวดล้อม ในช่วง 1 ปีกว่าที่ผ่านมามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ยกตัวอย่างจากนโยบายที่มีการตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 30% เป็นอย่างน้อยในกรอบระยะเวลา 4 ปี คำนวณย้อนกลับเป็นค่าเฉลี่ยทุกปีต้องมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 600 กว่าไร่ และเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัดในคอนเซ็ปต์ "เมืองน่าอยู่" ต้องมีพื้นที่สีเขียว 4 ตารางเมตรต่อคน ขณะที่ค่าเฉลี่ยปัจจุบัน กทม.มีพื้นที่สีเขียวประมาณ 2.3 ตารางเมตรต่อคน

ถ้าไปสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่องแรกที่คนพึงพอใจคือเรื่องสิ่งแวดล้อม ตามมาด้วยด้านคุณภาพชีวิต ยกตัวอย่างเรื่องการเพิ่มศูนย์เยาวชนกีฬา การออกกำลังกาย สาธารณสุขในเชิงรุก ปรับระบบการให้บริการโรงพยาบาลใน กทม. และมาตรฐานการศึกษาในสังกัด กทม. คงไม่จำกัดเฉพาะโรงเรียนทั้ง 435 โรงเรียน แต่มีเรื่องการพัฒนาห้องสมุด บ้านหนังสือ

แต่ทว่าเรื่องปัญหาการจราจรยังต้องอาศัยระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก แม้ว่าในปีที่ผ่านมาจะมีบางโครงการที่ช่วยเรื่องการจราจร เช่น โครงการ 5 แยกลาดพร้าว จะเห็นว่าการจราจรในบริเวณใกล้เคียงดีขึ้นเยอะ

"ในการวางแผนนโยบายของ กทม. เรามองควบคู่ไปกับการใช้ผังเมืองเป็นตัวกำหนดทิศทางในการพัฒนา นอกเหนือจากผังเมืองฉบับใหม่ที่ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา เรามีแผนพัฒนา กทม.ให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เป็นกรอบระยะยาว 20 ปี ซึ่งใช้คอนเซ็ปต์ในเรื่องการพัฒนาเหมือนผังเมือง และให้คนเข้าใจและ ปรับตัวโดยไม่จำกัดเฉพาะเรื่องการบังคับใช้กฎหมายโดยผังเมืองอย่างเดียว แต่มีเรื่องนโยบายเข้าไปด้วย เพราะความเป็นจริงถ้าคนไม่ยอมรับ ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ"

แผนการพัฒนาเมืองระยะยาว 20 ปี จึงแบ่งเป็น 5 เฟส เฟสละประมาณ 4 ปี นโยบายแทนที่จะเป็นระดับการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาอย่างเดียว เรามีการพัฒนาในเชิงกลุ่มพื้นที่ด้วย โดยในเขตปกครองพื้นที่ กทม. 50 เขต จะแบ่งเป็น 12 กลุ่มโซน และแต่ละกลุ่มโซนก็มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ เช่น ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ที่เป็นพื้นที่ชั้นใน มีโบราณสถาน ดังนั้นทิศทางการพัฒนาจะสอดคล้องกับผังเมืองที่กำหนดเป็น "สี" สำหรับพื้นที่อนุรักษ์ โครงการก็จะต้องสอดคล้องกัน

ในเขตกลุ่มเศรษฐกิจเมือง เช่น สาทร สีลม พระรามที่ 3 ที่เป็นเศรษฐกิจใหม่ ก็จะส่งเสริมความสะดวก อินฟราสตรักเจอร์ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในแต่ละบริเวณเหมือนเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือในกลุ่มพื้นที่บ้านที่อยู่อาศัย เช่น จตุจักร ลากยาวขึ้นไปถึงหลักสี่ สายไหม ขยายมาอยู่ด้านเหนือ ก็มีระบบสาธารณูปโภค เส้นทางสัญจร การวางระบบสัญจร ซึ่งเป็นแผนแม่บทที่จะช่วยให้การกระจายคนมาตามศูนย์การค้าสะดวก หรือตัวอย่าง "ด้านตะวันออก" ถือว่าเป็นพื้นที่รับน้ำ ก็ต้องกำหนดเป็นพื้นที่สีเขียวทแยงขาว ก็จะสอดคล้องกับทิศทางผังเมือง

ผังเมืองจะพูดถึงการพัฒนาเมืองแต่ไม่ได้พูดถึงการพัฒนาคน เพราะเป็นเรื่องแค่การปลูกสร้าง โซนสี เหมือนเป็นฮาร์ดแวร์ ดังนั้นในแผนพัฒนาเราจะพูดถึงเรื่องตัวคนด้วย ยกตัวอย่างการพัฒนาชุมชนในแต่ละพื้นที่ เช่น หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง เราจะจัดสร้างเป็์น "หนองจอก การ์เด้น ซิตี้" ในยุโรปหลายเมืองมีแบบนี้ ไม่ใช่สร้างตึกหมด แต่เป็นเมืองที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต นั้นๆ เช่น ใน กทม.มีอยู่ 27 เขตที่ทำเกษตรกรรมอยู่ ปลูกข้าว พืชไร่ ประมง อย่างปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติที่บางขุนเทียน แถบนั้นมีพื้นที่ติดอ่าวไทย ถ้าไม่มีการวางผังเมืองก็จะถูกน้ำกัดเซาะ

"อีกพื้นที่ที่จะพัฒนาในระยะยาวคือบริเวณใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ สมัยก่อนมองว่าเป็นย่านอยู่อาศัย อนาคต กทม.จะพัฒนาพื้นที่แถวหนองจอก มีศูนย์อบรมขนาดใหญ่ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการพัฒนาเมือง ที่จะเชื่อมโยงกับเมืองที่เป็นเมืองพี่เมืองน้องกับ กทม.กับสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและสมาคมวิชาชีพต่างๆ เพื่อดูแลการขยายตัวของการพัฒนาเมืองรอบสุวรรณภูมิ"

ในผังเมืองจะมีการกำหนดการพัฒนาที่ชัดเจน ต้องอธิบายเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน กำหนดผังเมืองให้เป็นการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ ศูนย์การเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค พูดง่ายๆ คือกำหนดสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินกับพื้นที่โล่งกว้าง กำหนดชัดเจนว่าพื้นที่ตรงไหนควรมีพื้นที่สีเขียว

จะเป็นการช่วยบอกทิศทางการใช้งบประมาณ พัฒนาเรื่องระบบสาธารณูปโภค ขนส่งมวลชน ผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินก็จะทราบถึงทิศทาง จากที่ผ่านมาการพัฒนาอาจจะเป็นแบบไร้ทิศทาง และเวลาภาครัฐจะมีงบฯส่วนกลางไปพัฒนา อินฟราสตรักเจอร์ก็ไม่สอดคล้อง ยกตัวอย่างในบางพื้นที่ยังไม่มีน้ำประปาใช้ ทำให้การพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดมันไม่เกิดขึ้น

ไฮไลต์ของผังเมือง กทม.ฉบับใหม่ที่มีคำถามระงมถึงก็คือ FAR (อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) กับ OSR (อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม)

"ค่า FAR และ OSR แน่นอนว่ากำหนดเพื่อไม่ให้เมืองแออัด ถ้าบริเวณพื้นที่ชั้นในบางส่วนที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหรือกำหนดให้มีการก่อสร้างอาคารสูงมากเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา แน่นอนว่าผู้ประกอบการอาจจะรู้สึกว่าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาคิดไว้ แต่ผมเองก็ไม่อยากให้มองในมุมว่าผังเมืองฉบับนี้จะทำให้ราคาบ้านสูงขึ้น จริงๆ ก็ไม่จริง เราต้องมองในภาพรวมด้วยว่าพัฒนาแล้วแออัด"

ผู้ว่าฯ กทม.ฉายประเด็นว่า คำว่าแออัดคือ ถ้าวันหนึ่งเกิดเพลิงไหม้ ยิ่งเกิดความเสียหายมากกว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และในที่สุดถ้าเป็นเมืองที่น่าอยู่และเราใช้เงินในการทำสาธารณูปโภคพื้นฐานได้เต็มที่ในภาพรวมน่าจะดีขึ้น แต่การบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่พอ คือลำพังเจ้าหน้าที่ กทม.ไปตรวจจับไปไล่ ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากเห็น

"สิ่งที่อยากเห็นคือความร่วมมือความเข้าใจ ครั้งนี้ก็ดีที่เครือมติชนจัดงานและในส่วนประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งทาง กทม.ก็มีการตั้งศูนย์ให้ความรู้หรือตอบข้อสงสัยเวลาไม่เข้าใจในเรื่องผังเมืองด้วย"

ในระยะยาวเรากำลังมีการจัดสร้างศูนย์นิทรรศการเมือง กทม.ที่บริเวณสำนักผังเมืองถนน วิภาวดีรังสิต ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปีหน้า ศูนย์นี้ในเมืองใหญ่หลายเมือง เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ จะมีเอ็กซิบิชั่นฮอลที่แสดงให้เห็นว่าเมืองจะพัฒนาไปในทิศทางไหนใน 5 ปี 10 ปีข้างหน้า เพื่อให้คนได้เข้าไปดู แบบนี้จะทำให้คนเข้าใจและแม้แต่มีความคิดเห็นแตกต่างก็สามารถแสดงความเห็น

"จริงๆ ผังเมืองฉบับนี้เป็นครั้งแรกที่มีระบบโบนัส ถ้าเอามาใช้ทำพื้นที่สาธารณะกว้างๆ ก็จะใช้ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้นจากเกณฑ์ปกติ เป็นแรงจูงใจอยากให้คนมาพัฒนาอันนี้"

ถึงแม้ผังเมืองฉบับนี้จะประกาศล่าช้าไป 2 ปี จริงๆ ในช่วงทำ มีการเปิดโอกาสให้แสดงความเห็น แน่นอนว่าคงรับฟังไม่ได้หมด แต่เราคงเปิดรับฟังอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเนื่องจากผังเมืองต้องบังคับใช้ไป 5 ปี แต่ในระหว่างนี้เราคงดูว่ามีจุดไหนที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเมืองอาจจะทำให้คนรู้สึกว่าไม่เหมาะสม ซึ่งในข้อเท็จจริงไม่ใช่ เพราะเป็นการวางแผนพัฒนาระยะยาว

ต้องไม่มองว่าผังเมืองเป็นเรื่อง กทม. ถ้าเป็นเรื่องบังคับ ผลจะไม่เกิดตามที่เราต้องการ นั่นคือ เป็นจุดเริ่มต้นที่เปลี่ยนทัศนคติ ผังเมืองไม่ใช่แค่กฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ชีวิตเป็นอยู่ อนาคต 10 ปี 15 ปีข้างหน้าจะเป็นเมืองน่าอยู่ ไม่ใช่เมืองใหญ่โต ทุกคนต้องไปอยู่ตึกสูง แต่หมายถึงเมืองที่รักษาสมดุล ศิลปะโบราณ กับเป็นเมืองที่มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน ย่านธุรกิจ ที่อยู่อาศัย ย่านอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว

ส่วนคนที่ไม่ยอมรับก็คงต้องเปิดโอกาสให้ความรู้ความเข้าใจ คิดว่าในแต่ละปีคงมีการประเมิน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ทำอะไรเลย คงสะท้อนความคิดเห็นเรื่อยๆ และถ้ามีสาระสำคัญก็จะหยิบยกมาพิจารณา แต่ก็อยากให้ใจเย็นๆ เพราะถ้ามีทิศทางชัดเจนในการพัฒนา ประโยชน์ก็อยู่ที่ส่วนรวมและตัวผู้พัฒนาที่ดิน

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 01-06-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.