| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 150 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 29-05-2549    อ่าน 11224
 เจ้าของอาคารรับมือกฎหมายใหม่ ตึกสูง2หมื่นแห่งทั่วปท.เสี่ยง"อัคคีภัย"

ตึกสูงโอกาสเสี่ยงสูง วงการวิศวกรรมระบุอาคารกว่า 90% จาก 20,000 แห่งทั่วประเทศที่ต้องถูกตรวจสอบตามกฎหมายเข้าข่ายไม่ปลอดภัย เผยปัญหาอุปกรณ์ใช้งานไม่ได้-บันไดหนีไฟไม่ถูกต้องพบบ่อยสุด จี้เจ้าของอาคารเร่งแก้ไข

แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้าง เปิดเผย "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากมีการประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548 เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ประมาณการว่ามีอาคารสูงที่เข้าข่ายต้องได้รับการตรวจสอบรวมประมาณ 20,000 อาคาร และมีความต้องการผู้มาทำหน้าที่ตรวจสอบอาคารประมาณ 2,000 คน ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ในจำนวนนี้น่าจะมีอาคารถึง 90% หรือประมาณ 18,000 อาคาร ที่ไม่ปลอดภัยหรือเข้าข่ายเสี่ยง

โดยสาเหตุที่อาคารสูงทั่วประเทศส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัยเกิดจาก 3 ส่วน คือ 1)กระบวนการออก แบบอาคาร 2)กระบวนการตรวจสอบระหว่าง ก่อสร้าง และ 3)กระบวนการตรวจสอบอาคารหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ ถือว่ายังไม่ได้มาตรฐาน

สำหรับกรณีการออกแบบอาคาร เป็นที่ทราบกันว่าเมื่อตรวจสอบกันจริงๆ บางอาคารก็ก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ นอกจากนี้ภาครัฐก็ยังไม่มีการกำหนดแบบมาตรฐานการก่อสร้างอาคารที่ชัดเจนออกมา ซึ่งแตกต่างจากในประเทศอเมริกาที่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยอาคาร หรือ national firer protection association (NFPA) ใช้มานานแล้ว และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยทุก 3-4 ปี รวมถึงมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบระหว่างการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด

ส่วนเรื่องการตรวจสอบอาคารหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จถือเป็นเรื่องดีที่มีการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ทำให้อาคารสูงที่ก่อสร้างมานานรวมถึงที่กำลังจะก่อสร้างใหม่ต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบอาคาร เนื่องจากปัญหาที่พบอยู่เสมอจากประสบการณ์ทำงานคือ มีอุปกรณ์พร้อมแต่ไม่ สามารถใช้งานได้ และยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมาก

"สิ่งแรกที่ผมอยากให้เจ้าของอาคารให้ความสำคัญในการปรับปรุงคือ เรื่องทางหนีไฟไว้ล่วงหน้า เพราะชีวิตคนอยู่ตรงนี้ สิ่งที่ถูกต้องก็คือทางหนีไฟต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันควันไฟเข้ามาได้ ส่วนประตูก็ต้องทนไฟและไม่มีช่องให้ควันไฟผ่านเข้ามาได้"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า หลังจากนี้น่าจะมีเงินสะพัดที่เกิดจากการปรับปรุงอาคารสูงไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท จากจำนวนอาคารที่ต้องตรวจสอบทั้ง 20,000 แห่ง เพราะขณะนี้ถือว่าอาคารส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัยแทบจะต้องรื้อใหม่กันหมด ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ระบบอัคคีภัยก็จะได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาอีกอันที่น่าเป็นห่วงคือ ระยะเวลาในการตรวจสอบอาคาร เนื่องจากตามกฎหมายอาคารสูงที่เข้าข่ายตามกฎหมาย จะต้องส่งรายงานการตรวจสอบอาคารให้กับกรมโยธาธิการภายใน 2 ปีนับจากวันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้

โดยความคืบหน้าล่าสุดในการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมผู้ตรวจสอบอาคาร ทราบว่ามีอยู่ 3-4 หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นสถาบันฝึกอบรม อาทิ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ที่จะร่วมกับอีก 3 สมาคมคือ สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหาร ความปลอดภัยอาคาร สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย และสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่อง กลไทย โดยที่ ว.ส.ท.ที่ยื่นขออนุญาตไปแล้ว ขณะที่อีก 3 สมาคมอยู่ระหว่างยื่นขออนุญาตภาย ในเดือนพฤษภาคมนี้ รวมถึงมหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์

อย่างไรก็ตาม คาดว่าตามขั้นตอนกว่าจะได้รับการอนุมัติจากกรมโยธาฯคงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน จากนั้นก็ต้องใช้เวลาในการอบรมผู้ตรวจสอบอาคารอีก 2-3 เดือน และไปทดสอบกับสภาวิศวกรหรือสภาสถาปนิก เมื่อผ่านจึงจะได้รับใบอนุญาตจากกรมโยธาฯ เบ็ดเสร็จแล้วจึงน่าจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 4-5 เดือน หรือประมาณเดือนกันยายน 2549 จึงจะมีผู้ตรวจสอบอาคารรุ่นแรก

จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะผลิตบุคลากรได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากแต่ละสถาบันสามารถรับการอบรมผู้ตรวจสอบอาคารได้เพียง 60 คนต่อรุ่น ส่วนในเชิงของวิธีการตรวจสอบอาคารเชื่อว่าในระยะแรกคงต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร เนื่องจากเพิ่งมีการบังคับใช้กฎหมายเป็นครั้งแรก ประเมินว่าหากเป็นอาคารที่มีพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ต้องใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 30 วัน

"ถ้าเป็นไปได้ในเบื้องต้นผมอยากเสนอกรมโยธาฯให้สิทธิเจ้าของอาคารส่งแบบรายงานการตรวจสอบอาคารเข้ามาก่อน ส่วนกรณีที่อาคารนั้นมีปัญหาต้องปรับปรุงซ่อมแซมมาก อาจอนุโลมให้เขียนรายละเอียดและระยะเวลาในการซ่อมแซมที่ชัดเจนเข้ามาเป็นแนวทางและกลับไปดำเนินการตามนั้น" แหล่งข่าวกล่าว และว่า

หลังจากถึงเวลาต้องส่งแบบรายงานการตรวจสอบอาคาร อยากแนะนำให้แต่ละอาคารมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญไว้ประจำเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพราะผู้ตรวจสอบอาคารมีหน้าที่เพียงชี้ว่าอุปกรณ์แต่ละอย่างได้มาตรฐานความปลอดภัยอาคารหรือไม่ ส่วนถ้าผิดที่โครงสร้างอาคารก็ต้องเป็นภาระของเจ้าของอาคารที่ต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 29-05-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.