| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 93 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 08-05-2549    อ่าน 11887
 แผนแม่บททางด่วน 3 แสนล้าน กทพ.รุก 10 ปี 11 โครงการ

ปริมาณรถยนต์ที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ปัจจุบันปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพ มหานคร (กทม.) และปริมณฑล ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้จะถึงจุดที่ระบบโครงข่ายคมนาคมที่มีอยู่ขณะนี้ไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางด่วน ที่แม้เวลานี้จะเปิดให้บริการถึง 6 เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวม 175.9 กิโลเมตร แต่ดูเหมือนยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง

ล่าสุด การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

จึงได้ทบทวนแผนแม่บททางพิเศษในเขต กทม.และ

ปริมณฑลใหม่ ซึ่งนอกเหนือจาก โครงการรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ที่กำลังจ่อคิวประมูลเร็วๆ นี้แล้ว ยังมีอีกหลายโครงการที่อาจจะต้องตัดสินใจก่อสร้างเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ในการทบทวนแผนแม่บทดังกล่าว กทพ. ได้จัดลำดับความคัญของโครงการทางด่วนสายใหม่ๆ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุนในอนาคตว่า โครงการไหนจะต้องก่อสร้างก่อน-หลัง โดยจะใช้วิธีการพิจารณาจากความพร้อมของโครงการ ทั้งทางด้านวิศวกรรมจราจร ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ฯลฯ

รวมทั้งลักษณะของความต้องการของการเดินทางหรือความหนาแน่นในการเดินทาง และการเชื่อมโยงกับโครงข่ายอื่นๆ ซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจ

นอกจากนี้ ยังถือโอกาสแก้ปัญหาที่คาราคาซังมานานเกี่ยวกับแนวโครงการที่ซ้ำซ้อน หรือใกล้เคียงกับโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรของหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของกรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นต้น เพื่อจะได้มองเห็นภาพรวมทั้งหมด และทำให้แผนการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเชื่อมโยงกันได้ เป้าหมายก็เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หลังมีการทบทวนแผนแม่บท ได้ข้อสรุปว่า กทพ.จะปรับปรุงโครงข่ายทางพิเศษเดิม และนำเสนอเส้นทางใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตอีกด้วย

แผนแม่บทฉบับใหม่นี้ กทพ.กำหนดกรอบเวลาไว้ 10 ปี (2550-2560) จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป โดยจะมีทั้งหมด 11 โครงการ ระยะทาง 180.1 กิโลเมตร ใช้วงเงินลงทุน 309,698 ล้านบาท ซึ่งจากการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ พบว่าทุกโครงการผ่านเกณฑ์ เพราะมีผลตอบแทนมากกว่า 12%

สำหรับ 11 โครงการที่เรียงลำดับตามความสำคัญ ประกอบด้วย 1.ทางพิเศษสายศรีนครินทร์-บางนา-สมุทรปราการ ระยะทาง 13.8 กิโลเมตร เงินลงทุน 25,594 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2550-2551 เปิดบริการปี 2552

2.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 17 กิโลเมตร เงินลงทุน 19,312 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2550-2551 เปิดบริการปี 2552

3.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-ดาวคะนอง ระยะทาง 6.1 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 10,701 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2551-2553 เปิดบริการปี 2553

4.โครงการถนนรวมและกระจายการจราจร หรือซีดีโรด ระยะทาง 2 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 7,508 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2552-2553 เปิดให้บริการปี 2553

5.โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S 2 ระยะทาง 7.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 28,722 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2552-2553 เปิดให้บริการ ปี 2554

6.โครงการทางพิเศษสายบางพูน-ธัญบุรี-วง แหวนรอบนอก ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร วงเงิน ลงทุน 19,000 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2552-2553 เปิดให้บริการปี 2554

7.โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ซึ่งโครงการนี้ กทพ.จะรวมกับโครงการเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก ของกรมทางหลวงเข้าด้วยกัน ซึ่งแนวโครงการจะเริ่มจากวงแหวนรอบนอกตะวันตกมาถึงวงแหวนรอบนอกตะวันออก ระยะทาง 36.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 67,529 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2552-2554 เปิดให้บริการปี 2555

8.โครงการทางพิเศษสุวรรณภูมิ (M 1) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 26,900 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2553-2555 เปิดให้บริการปี 2556

9.โครงการทางพิเศษสายพระรามที่ 2-เพชรเกษม-นนทบุรี (ระบบทางด่วนขั้นที่ 5) ระยะทาง 28.3 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 43,538 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างปี 2554-2556 เปิดให้บริการปี 2557

10.โครงการทางพิเศษสายพระรามที่ 4-ตากสิน-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 20.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 46,145 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2556-2558 เปิดให้บริการปี 2558

11.โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 8.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 14,749 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2557-2558 เปิดให้บริการปี 2558

"บอร์ด กทพ.อนุมัติแผนแม่บทฉบับใหม่นี้แล้ว และอยู่ระหว่างเสนอให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณา เมื่อ สนข.เห็นชอบ จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา จากนั้นเริ่มดำเนินการได้เลย" แหล่งข่าวจาก กทพ. กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ส่วนการลงทุน ขณะนี้ กทพ.ยังไม่ได้ฟันธงชัดเจนว่าจะเป็นรูปแบบไหน ระหว่าง กทพ.ลงทุนก่อสร้างเอง หรือคัดสรรหาเอกชนมาลงทุนก่อสร้างเหมือนกับโครงการวงแหวนด้านใต้ โดยขึ้นอยู่กับรายละเอียดและความเป็นไปได้ของแต่ละโครงการ ที่จะต้องมาประเมินในรายละเอียดอีกครั้ง

ทั้งหมดล้วนเป็นโครงการสำคัญและมีความจำเป็นในการเดินทาง ต้องจับตาดูว่าช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ กทพ.ตั้งเป้าไว้ จะสามารถเข็นโครงการออกมาได้มากน้อยแค่ไหน

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 08-05-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.