| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 203 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 30-03-2549    อ่าน 12316
 เปิดใจนายกสมาคมภูมิสถาปนิก สมหวัง ลีวาณิชย์กูล "แลนด์สเคปเป็น Value Added ของโครงการ"

บนออฟฟิศย่านเพลินจิตที่ตกแต่งแบบเรียบง่ายแต่ดูดี "ประชาชาติธุรกิจ" มีนัดสัมภาษณ์กับ "สมหวัง ลีวาณิชย์กูล" นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อช่วงต่อจาก "รัชฎา ฉันทวิริยะวิทย์" ที่หมดวาระเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นถึงโอกาสและอนาคตของธุรกิจภูมิสถาปนิก วิชาชีพที่นับวันจะยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในวงการอสังหาริมทรัพย์

- ตอนนี้วิชาชีพภูมิสถาปนิกมีบทบาทมากขึ้น

คงต้องอธิบายก่อนว่า "ภูมิสถาปนิก" คือสถาปนิกที่งานเกี่ยวกับการออกแบบภายนอก วิชาชีพนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยและเริ่มมีการจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อประมาณ 20-30 ปีก่อน มาระยะหลังๆ หลายโครงการเริ่มว่าจ้างภูมิสถาปนิกให้เข้าไปช่วยออกแบบงานภูมิสถาปัตย์โครงการ พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ และเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น จากเดิมที่เคยใช้สถาปนิกออกแบบทุกอย่าง ก็เปลี่ยนมาใช้ภูมิสถาปนิกที่เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมในโครงการ วางผังโครงการ โดยเฉพาะโครงการใหญ่ๆ

วิธีการทำงานของเราก็เริ่มต้นตั้งแต่การวางผังโครงการ ถ้าเป็นโครงการแนวราบภูมิสถาปนิกจะมีบทบาทค่อนข้างมาก เช่น การจัดวางถนน รูปแบบการใช้ที่ดิน ความต่อเนื่องของพื้นที่สีเขียว การจัดวางลำดับความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในโครงการที่ต้องการให้มองเห็นก่อนหลัง ส่วนโครงการที่เป็นอาคารสูงบทบาทสำคัญจะอยู่ที่สถาปนิกเป็นหลัก ส่วนภูมิสถาปนิกจะเข้ามาช่วยทางด้านการเว้นที่ว่างระหว่างตัวอาคารเพื่อใช้เป็นพื้นที่สีเขียว โดยหัวใจสำคัญก็คือสถาปนิกทุกคนต้องทำงานเหมือนเป็นทีมเดียวกัน

- เป็นหนึ่งในจุดขายของโครงการด้วย

ใช่ครับ ตอนที่วิชาชีพยังไม่เป็นที่รู้จักในเมืองไทยมากนัก แรกๆ งานออกแบบภายนอก วางผังโครงการก็ใช้สถาปนิกเป็นผู้ออกแบบ แต่บางครั้งก็อาจมีข้อจำกัดเหมือนแพทย์ที่ต้องมีแพทย์เฉพาะทาง เช่น สถาปนิกบางคนอาจจะรู้เรื่องงานโครงสร้างดี แต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ ตัวอย่างนี้จะเห็นได้ชัดในโครงการที่ไม่ได้นำเสนอรูปแบบอาคารเป็นตัวนำ

ถ้าย้อนหลังกลับไปโครงการที่เริ่มหันมาใช้ภูมิสถาปนิก อาทิ โครงการการ์เด้น โฮม วิลเลจ โครงการเมืองเอก โดยมีอาจารย์ "เดชา บุญค้ำ" เป็นผู้ผลักดัน จากจุดนี้เองภูมิสถาปนิกก็เริ่มเป็นที่ยอมรับ จากเดิมที่ไปมุ่งเรื่องการออกแบบบ้านต้องเป็นสไตล์โรมัน ทางเข้าต้องดูแกรนด์หรือโอ่อ่า

ก็เริ่มมาเน้นเรื่องแลนด์สเคป (ภูมิทัศน์) มากขึ้น จนกลายเป็นจุดขายและปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่หลายโครงการขาดไม่ได้

- วันนี้ภูมิสถาปนิกพัฒนาไปแค่ไหน

ผมคิดว่าภูมิสถาปนิกเข้ามาช่วยเรื่องการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีจำนวนภูมิสถาปนิกน้อยมากๆ ปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพประมาณ 20 กว่าบริษัท จำนวน 100 กว่าคนเท่านั้น ส่วนคนที่เรียนจบใหม่เท่าที่ทราบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีภูมิสถาปนิกจบใหม่ปีละ 20 กว่าคน แต่ที่มาทำงานด้านนี้จริงๆ ประมาณ 10-15% และที่ไปทำในสายงานภาครัฐก็น้อยมากๆ อาจเป็นเพราะคนที่เรียนจบมาทางสายปกครองมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่า ส่วนในอนาคตคาดว่าจะมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ เปิดสอนวิชาชีพนี้เพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ก็มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ล่าสุดก็มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ้าจำไม่ผิดนิสิตรุ่นแรกปัจจุบันน่าจะเรียนอยู่ชั้นปี 4

- ในแง่ธุรกิจมีอนาคตมั้ย

ผมคิดว่าวิชาชีพนี้น่าสนใจ ตอนนี้ถ้าเข้าไปในโครงการแล้วสิ่งแวดล้อมดูไม่ดีก็เหมือนโครงการนั้นไม่สมบูรณ์ แม้ว่าสิ่งแวดล้อมในโครงการจะไม่ใช่พื้นที่ขาย แต่ก็ต้องลงทุนเพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาชมโครงการ ตอนนี้พูดได้ว่าทุกโครงการมองเรื่องภูมิสถาปัตย์เป็น "value added" (มูลค่าเพิ่ม) เปรียบเทียบแล้วก็เหมือนเป็นการส่งเสริมการขายทางอ้อม เช่น การวางตำแหน่งของห้องแต่ยูนิตในคอนโดฯ ซึ่งวิวที่มองเห็นต่างกันนั่นหมายราคาห้องก็แตกต่างกันด้วย

ในแง่ของกฎหมาย ถ้าเป็นโครงการที่ต้องยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้ทางการพิจารณา ก็มีที่ทางโครงการสอบถามผ่านเข้ามาทางสมาคม เพื่อขอรายชื่อผู้ประกอบการไปออกแบบและเซ็นใบขออนุญาตสิ่งแวดล้อมในแง่ของงานภูมิสถาปัตย์ จากก่อนหน้านี้สถาปนิกหรือวิศวกรสิ่งแวดล้อมจะเป็นผู้เซ็น ตรงนี้เริ่มมาได้ประมาณ 2 ปี

- ตลาดเป็นอย่างไรบ้าง

ผมคิดว่าคงผูกไปกับการพัฒนาอสังหาฯ และการท่องเที่ยวในประเทศนั้นๆ ซึ่งในเอเชียถือเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีโรงแรมดีๆ เช่น ภูเก็ต บาหลี มัลดีฟ เป็นแม่เหล็กทำให้การท่องเที่ยวในแถบนี้ยังดีแม้จะมีเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่วนการแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างชาติคงต้องมองเป็นเซ็กเตอร์ๆ ผมคิดว่าแต่ละประเทศก็คงอยากได้ไอเดียการออกแบบใหม่ๆ จึงต้องการก็ใช้นักออกแบบจากต่างประเทศ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีนักออกแบบของไทยที่เข้าไปทำงานในต่างประเทศเหมือนกัน ดังนั้นอันดับแรกเราจึงต้องแข่งกับตัวเราเองก่อน คือพัฒนาตัวเอง พัฒนาองค์กร จนถึงจุดที่เราสามารถสื่อสาร แข่งขันได้ ในระยะยาวก็คงต้องสู้กันที่เรื่องการจัดการเท่านั้น เช่นเดียวกับการเปิดเอฟทีเอก็เป็นตัวกระตุ้นอีกอันให้เราต้องพัฒนาบุคลากรให้พร้อม

ส่วนตัวผมเชื่อว่าขณะนี้ทุกบริษัทมีงานเต็มมือกันหมด สำหรับผมซึ่งดูแลบริษัท เบลท์ คอลลิ่นฯ ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ในฮาวายก็มีงานเข้ามาต่อเนื่อง แต่เราพยายามกระจายการรับงาน จุดเด่นของบริษัทเราก็คือพยายามสร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ๆ ผลงานที่ผ่านมา เช่น โครงการวิรันดารีสอร์ท โรงแรมบันยันทรี

ถ้าเป็นที่อยู่อาศัยก็โครงการโนเบิล วาน่า วัชรพล และพระรามที่ 5 คือถ้าดูภายนอกแล้วจะมองไม่ออกว่าเป็นงานออกแบบที่ทำงานร่วมกันหลายบริษัท

- เทรนด์ของงานออกแบบภูมิสถาปัตย์เป็นอย่างไร

ตอนนี้เทรนด์การออกแบบเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ใช่แนวเลียนแบบธรรมชาติ ทรอปิคอลการ์เด้น สวนป่า และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญในงานออกแบบคือเราต้องไม่ตามกระแสเกินไปจนลืมวัฒนธรรมของตัวเอง เหมือนเราเดินเข้าไปในโรงแรมแต่แยกไม่ออกว่ากำลังอยู่ในโรงแรมของประเทศไหน

- วางแผนพัฒนาวิชาชีพเอาไว้อย่างไรบ้าง

หลักๆ มีอยู่ 3 เรื่อง 1) คงต้องเพิ่มจำนวนสมาชิกในสมาคมเพื่อขยายองค์กรและสร้างวิชาชีพนี้ให้เข้มแข็งขึ้น 2) การผนึกกำลังในแง่ของไตรภาคี ทั้งสถาบันการศึกษา สมาคมภูมิสถาปนิกฯ สภาสถาปนิก และ 3) ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ อย่างตอนนี้เราก็ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษามากขึ้น มีการพูดคุยกับหลายสถาบันเพื่อเข้าไปให้การแนะแนว เริ่มเข้าไปปัจฉิมนิเทศในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- มูลค่าตลาด

ตรงนี้ประเมินลำบาก แต่ถ้าเป็นมูลค่างานก็ขึ้นกับขนาดของงานเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3-20% ของมูลค่าโครงการ แต่มั่นใจว่าในอนาคตทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค รวมทั้งโครงการของส่วนราชการจะให้ความสำคัญกับการจัดวางแลนด์สเคปมากขึ้น มูลค่าตลาดก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 30-03-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.