| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-03-2549    อ่าน 11351
 รื้อกฎหมายจัดสรร12ประเด็น งัดไม้เด็ดคุ้มครองคนซื้อบ้าน

"กรมที่ดิน" รื้อใหญ่ พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน เสนอแก้ไขรวดเดียว 12 ประเด็น หวังอุดช่องโหว่ข้อกฎหมาย งัดไม้เด็ดสยบเจ้าของโครงการไม่ให้เอาเปรียบผู้ซื้อบ้าน และกำราบลูกบ้านที่ชอบสร้างปัญหาบุกรุกพื้นที่ส่วนกลาง-ใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัย พร้อมเสนอแก้ข้อกำหนดล้อมคอกปัญหาถนนส่วนกลางมีภาระจำยอม และเพิ่มมาตรฐานระบบระบายน้ำ

นายบุญเชิด คิดเห็น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน เปิดเผย "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมที่ดินอยู่ระหว่างเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและข้อกำหนดที่สำคัญๆ ใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1)การแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน และ 2)แก้ไขพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากขึ้น

การเสนอแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินมีประเด็นที่จะแก้ไข 2 ส่วน คือ การแก้ไขข้อ กำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามมาตรา 8 (3) พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน เรื่องการขออนุญาตใช้ถนนเมนหลักในโครงการเป็นทางร่วมกรณีผู้ประกอบการขยายโครงการเฟสใหม่ในพื้นที่ติดกัน เนื่องจากกรมที่ดินได้รับการร้องเรียนจากผู้อยู่อาศัยจำนวนมากว่า ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ถนนเมนหลัก เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตจากลูกบ้านให้ใช้ถนนเมนหลักเป็นทางเข้าออกร่วมกันได้ โดยให้เป็นถนนภาระจำยอม

กรมที่ดินจึงเสนอให้แก้ไขกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับแผนผังการขยายโครงการในอนาคต เพื่อจะได้กำหนดให้โครงการก่อสร้างถนนเมนหลักรองรับการสัญจรไปมาได้เพียงพอ และไม่ส่งผลกระทบต่อลูกบ้าน นอกจากนี้จะเสนอแก้ไขข้อกำหนดเพื่อเพิ่มเติมมาตรฐานระบบระบายน้ำในโครงการให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีการร้องเรียนเข้ามาว่าโครงการจัดสรรบางแห่งทำเลที่ตั้งอยู่ต่ำกว่าแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง อาศัยวิธีติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากโครงการเพื่อระบายน้ำ แทนที่จะถมดินเพื่อให้พื้นที่ก่อสร้างอยู่สูงกว่าแหล่งน้ำ

นายบุญเชิดกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการเสนอปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.จัดสรรฯ ขณะนี้เรื่องยังอยู่ที่กองนิติการ กรมที่ดิน โดยสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯ เสนอแก้ไข 12 เรื่อง คือ 1)มาตรา 4 เพิ่มเติมนิยาม "สาธารณูปโภค" จากปัจจุบันมีเพียงนิยามของคำว่า "บริการสาธารณะ" จึงทำให้เกิดปัญหาว่าอะไรบ้างที่เป็นสาธารณูปโภคในโครงการ และมีผลต่อการค้ำประกันการบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการโอนกรรมสิทธิ์สาธารณูปโภคในโครงการ

2)มาตรา 5 เพิ่มเติมข้อความให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินฯ เช่น โครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ต้องจัดให้มีมาตรฐานการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรฐานที่กำหนดใน พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินฯ

3)มาตรา 44 เพิ่มเติมคำว่า "และ-หรือ" ต่อท้ายข้อความในวงเล็บ 2 เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ กรณีเจ้าของโครงการทำโครงการหลอกๆ ขึ้นมาเสนอคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินไม่อนุมัติโครงการ เช่น การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ซื้อในอัตราสูง

4)เพิ่มเติมบทบัญญัติให้ผู้ซื้อที่ดินจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของแปลงย่อยที่ดินในโครงการ สามารถรวมตัวกันจัดตั้งนิติบุคคลได้ และกำหนดให้ผู้จัดสรรในฐานะเจ้าของโครงการต้องจ่ายเงินสมทบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้ครบ 7% ของค่าก่อสร้างสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่อง

5)เสนอให้ที่ดินสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทันที และให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจในการออกใบแทนและแจ้งการได้มาของที่ดินสาธารณูปโภค เพื่อแก้ปัญหาเจ้าของโครงการไม่ส่งมอบโฉนดที่ดิน หรือไม่โอนทรัพย์สินให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

6)มาตรา 13 เสนอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดสรรฯ หลังกรมโยธาธิการและกรมผังเมืองถูกรวมเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง 7) มาตรา 22 เสนอให้อำนาจคณะกรรมการจัดสรรฯ สามารถวินิจฉัยว่ามีการจัดสรรที่ดินหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหาการหลีกเลี่ยงขออนุญาตจัดสรร

8)เสนอเพิ่มอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรฯ ที่จะสั่งไม่ให้จำหน่ายที่ดินในโครงการได้ กรณีตรวจสอบพบว่าผู้จัดสรรที่ดินกระทำผิดไปจากที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินอนุญาต 9)มาตรา 52 เพิ่ม

เติมคำว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆ..." เพื่อให้ครอบคลุมการเอาผิดถึงผู้ซื้อได้ จากปัจจุบันที่ผู้ซื้อกระทำผิดตาม พ.ร.บ.จัดสรรฯ อาทิ การรุกล้ำพื้นที่ส่วนกลาง

10)เสนอให้มีกฎหมายคุ้มครองไม่ให้ที่ดินสาธารณูปโภคถูกอายัดหรือบังคับคดี เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร 11)กำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดินต้องรังวัดเพื่อแบ่งแปลงที่ดินในโครงการ หากฝ่าฝืนใบอนุญาตจัดสรรจะถูกยกเลิก และ 12)ห้ามไม่ให้ผู้ซื้อใช้ประโยชน์ที่ดินผิดวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัย อาทิ ซื้อที่ดินไปก่อสร้างเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 27-03-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.