| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-03-2549    อ่าน 11490
 กทม.รีดภาษีโรงเรือน-รถไฟใต้ดิน กระทบชิ่งค้าปลีก"เมโทรมอลล์"

รฟม.อ๊วก กทม.บี้เก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ย้อนหลัง 2 ปี ตั้งแต่เปิดให้บริการในปี"47 เผยแอบซุ่มเงียบเจรจาหลังรู้ข่าวกำลังจะถูกแจ็กพอต ยื่นข้อเสนอขอยกเว้นไม่เสียภาษีหรือยืดเวลาจัดเก็บออกไปอีกระยะ อ้างรายได้ต่อปียังน้อย แค่ 10 ล้านบาท ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ฟากบีเอ็มซีแอลโดนรีดด้วยต้องควักกระเป๋าจ่ายส่วนพื้นที่ค้าปลีก ขณะที่ ทอท.-กรมทางหลวงอ่วม กทม.เล็งฟ้องร้องฐานขี้เหนียวค้างชำระภาษีก้อนโต

แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วงนี้ กทม.กำลังเร่งจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ของปีงบประมาณ 2549 จากผู้ที่อยู่ในข่ายจะต้องเสียภาษีทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้มีนโยบายที่จะเรียกเก็บจากหน่วยงานที่ยังค้างจ่าย

ภาษีโรงเรือนและที่ดินมาเป็นเวลานาน หากดำเนินการเสร็จเรียบร้อยและสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามแผนที่วางไว้ จะทำให้ กทม.มีรายได้จากเก็บภาษีมากขึ้นจากปีที่งบประมาณ 2548 ที่มีรายได้ 36,000 ล้านบาท

สำหรับหน่วยงานที่ค้างจ่ายภาษีกับ กทม. เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ค้างจ่ายอยู่วงเงิน 1,483 ล้านบาท ล่าสุด เรื่องอยู่ที่สำนักกฎหมายและคดีของ กทม. และกำลังเตรียมจะดำเนินคดีฟ้องร้อง

นอกจากนี้มีกรมทางหลวง ค้างจ่ายอยู่วงเงิน 142 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่ประเมินเมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2548 ที่ผ่านมา โดยทางกรมทางหลวงไม่ยอมจ่าย ทั้งที่เคยส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความไปแล้ว และกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า กทม.สามารถเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากกรมทางหลวงจากการก่อสร้างโครงการโทลล์เวย์ได้ เพราะมีการจัดเก็บรายได้ ทำให้มีรายได้เกิดขึ้น จึงต้องจ่ายภาษีให้กับ กทม. แต่ทางกรมทางหลวงไม่ยอม และอยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์กรณีดังกล่าว

"ในส่วนของหน่วยงานอื่น อย่างการทางพิเศษฯ กรณีให้เช่าพื้นที่ใต้ทางด่วน เพิ่งมาชำระส่วนที่ค้างอยู่เมื่อปีที่แล้ว ส่วนบีทีเอสจ่ายมาตลอดทุกปีไม่มีค้าง"

แหล่งข่าวกล่าวว่านอกจากหน่วยงานข้างต้นแล้ว กทม.จะเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ รฟม.มายื่นแบบเสียภาษี ซึ่งจะต้องมายื่นภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้ว รฟม.จะต้องมายื่นเสียภาษีตั้งแต่ปีที่เปิดให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงเมื่อปีเศษที่ผ่านมาแล้ว

"ส่วนพื้นที่ที่มีการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เราได้เรียกเก็บจากบริษัทที่รับสัมปทาน คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือบีเอ็มซีแอล เพราะตามสัญญาของ รฟม.ที่ทำกับบีเอ็มซีแอล ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ของบีเอ็มซีแอลที่จะต้องจ่ายภาษีในส่วนนี้ ล่าสุด บริษัทได้ยื่นแบบเสียภาษีมาบางส่วนแล้ว แต่ยังไม่หมด จะต้องยื่นให้เสร็จเรียบร้อยภายในปีนี้เช่นเดียวกัน"

แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า รฟม.อยู่ระหว่างติดต่อประสานและเจรจากับ กทม.อย่างไม่เป็นทางการ โดยจะไม่ขอเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในส่วนของอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน เนื่องจากมองว่า เป็นหน่วยงานภาครัฐเหมือนกัน และโครงการที่ รฟม. ก่อสร้างขึ้นถือเป็นการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคเพื่อให้บริการกับประชาชน จึงน่าจะได้รับการยกเว้นภาษี หรือมิฉะนั้นก็ขอเวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะจ่ายภาษีให้ กทม.

เนื่องจากปัจจุบัน รฟม.มีรายได้จากการดำเนินการโดยเฉพาะค่าโดยสารและพัฒนาเชิงพาณิชย์ไม่มากนักในแต่ละปี ตกปีละ 10 กว่าล้านบาทเท่านั้น ถ้านำมาจ่ายภาษีให้กับ กทม.หมด จะทำให้ รฟม.ไม่มีเงินสำรองไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพราะเงินงบประมาณที่ได้จากรัฐบาลในแต่ละปีไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ยังมีภาระต้องนำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ที่กู้เงินมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2550 นี้ ได้มีการตั้งงบประมาณสำหรับไว้เสียภาษีแล้ว เป็นวงเงินหลายสิบล้านบาท โดยเงินก้อนดังกล่าวจะจ่ายภาษีทั้งที่ค้างจ่ายอยู่และจ่ายงวดปีปัจจุบันด้วย เพราะ รฟม.ต้องเริ่มจ่ายภาษีตั้งแต่ปีที่เปิดให้บริการ คือ ปี 2547 แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้จ่าย เพราะอยู่ในช่วงประเมินตัวเลข โดยจะนำมาเปรียบเทียบกับของวงเงินจ่ายภาษีของรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 20-03-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.