| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 94 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 06-03-2549    อ่าน 11607
 มรสุมการเมืองฟาดหาง ช.การช่าง ธุรกิจหลักสะเทือนทั้งยวง

อุณหภูมิของสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังร้อนแรง ผลพวงจากการประกาศยุบสภาของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี กระทบถึงภาคธุรกิจหลากหลายสาขาอย่างถ้วนหน้า เพราะความอึมครึมที่เกิดขึ้นเวลานี้ทำให้นักธุรกิจนักลงทุนจำนวนไม่น้อยพากันชะลอแผนการลงทุน ไม่กล้าตัดสินใจขยายธุรกิจ เพื่อรอดูความชัดเจนว่าปัญหาขัดแย้งทางการเมืองจะลงเอยในทิศทางไหน

เช่นเดียวกับธุรกิจในเครือบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ของ "ปลิว ตรีวิศวเวทย์" ที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ จากความไม่แน่นอนดังกล่าว ด้วยธุรกิจหลักของกลุ่ม ช.การช่าง มาจากงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ และรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจแทบทั้งสิ้น

เมื่อรัฐบาลยุบสภา ย่อมส่งผลให้แผนงานต่างๆ ของกลุ่ม ช.การช่าง ที่เคยแปลนไว้ในปีนี้ และในปีต่อๆ ไป ต้องสะดุดลงตามไปด้วย อย่างน้อยก็ต้องรอจังหวะและรอโอกาสที่จะก้าวเดินต่อไป ยิ่งไม่อาจคาดเดาได้ว่ารัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศชุดต่อไปจะยังเป็นชุดเดิมหรือชุดใหม่ ที่อาจจะพลิกนโยบายจากหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ยิ่งหวาดหวั่นไม่ได้ว่าอนาคตในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จนทำให้ผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบดูแลธุรกิจส่วนต่างๆ ของยักษ์รับเหมารายนี้นิ่งเฉยไม่ได้

บีอีซีแอลรอประเมินสถานการณ์

"สุวิช พึ่งเจริญ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่รัฐบาลประกาศยุบสภา ในส่วนของบีอีซีแอลไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะเป็นการลงทุนที่มีอยู่แล้ว และปัญหาทางการเมืองน่าจะเป็นปัญหาในระยะสั้นๆ ใช้เวลาไม่นาน หลังจากนั้นภาพทุกอย่างจะชัดเจนขึ้น แต่ถ้าสถานการณ์ถูกลากให้ยาวออกไปเรื่อยๆ ก็ไม่แน่ว่าอาจจะมีผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทโดยตรงได้ ซึ่งจะต้องประเมินแผนการดำเนินงานใหม่เป็นระยะๆ

"ปัญหาที่เกิดชึ้นเป็นเรื่องปุ๊บปั๊บ คิดว่าต้องรอดูสถานการณ์สักพักก่อน เราหวังว่าสถานการณ์น่าจะคลี่คลายอย่างรวดเร็ว ตอนนี้คนยังมาใช้บริการทางด่วนอย่างปกติ ยังไม่มีผลกระทบอะไร รายได้ยังคงเดิม วันละ 17-18 ล้านบาท หรือ 8.7 แสนคนต่อวัน"

นายสุวิชกล่าวว่า ที่จะมีผลกระทบต่อบริษัท บ้าง คงเป็นเรื่องของการอนุมัติก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้โครงการเมกะโปรเจ็กต์ เช่น ทางด่วนสายใหม่ เนื่องจากแทนที่รัฐบาลจะได้อนุมัติและเริ่มก่อสร้างได้โดยเร็ว ก็ต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปอีก ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่แล้วรัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างไรหรือไม่ และโครงการต่างๆ จะยังเดินหน้าต่อไปหรือเปล่า ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการคำนวณไว้ในประมาณการรายได้ แต่เป็นแผนงานที่ต้องมีการวางไว้ล่วงหน้า ว่าบริษัทจะต้องเข้าประมูลงานโครงการไหนบ้างอาจต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์

"ที่เห็นชัดๆ ตอนนี้ โครงการจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อาจจะต้องเลื่อนออกไป ต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่อนุมัติ เพราะเรื่องนี้ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตอนนี้ทราบว่ากำลังจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติ ถ้ารัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศเป็นชุดใหม่ไม่ใช่ชุดเดิม ไม่รู้ว่าโครงการนี้จะถูกทบทวนหรือไม่"

บีเอ็มซีแอลเลื่อนขายหุ้น

ขณะที่ "พรพิมล เชิดชูชัย" ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองส่งผลกระทบต่อบริษัท ส่งผลให้แผนการขายหุ้นของบริษัทสะดุด ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมวางแผนไว้ว่าจะขายหุ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองกำลังคุกรุ่นพอดี

นอกจากนี้ ยังกระทบไปถึงการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า ที่บริษัทสนใจจะเสนอตัวเข้าไปลงทุนด้วย เมื่อนโยบายของรัฐบาลในขณะนี้ไม่ชัดเจน แผนงานที่บริษัทวางไว้ว่างานโครงการไหนบ้างที่จะเข้าประมูล ก็ต้องประเมินใหม่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ต้องรอดูความชัดเจนของสถานการณ์ด้านการเมืองก่อน จากนั้นจึงค่อยสรุปแผนงานต่างๆ ออกมา

"การเมืองตอนนี้คาดเดาได้ยากมาก เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบวันต่อวัน ทำให้เราคาดการณ์ไม่ถูกเหมือนกันว่าจะวางแผนยังไงต่อไป คงต้องรอดูความชัดเจนก่อน"

ส่วนบริษัทย่อยทั้ง 3 บริษัท คือ บริษัท ไตรแอดส์ เน็ทเวิร์ค จำกัด บริษัทพื้นที่โฆษณา บริษัท เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์และบริษัท บีเอ็มซีแอล เน็ทเวิร์ค จำกัด ให้เช่าพื้นที่ระบบสื่อสาร ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบอะไร ทุกอย่างยังเหมือนเดิม

ก่อนหน้านี้ "สมบัติ กิจจาลักษณ์" กรรมการผู้จัดการ บีเอ็มซีแอล ให้สัมภาษณ์ว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2549 บริษัทจะเสนอขายหุ้นสามัญให้ประชาชนทั่วไป จำนวน 2,856.23 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 1,315.81 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิม จำนวน 1,540.42 ล้านหุ้น คิดเป็น 23.90% ของทุนจดทะเบียน 11,950 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 7,646.69 ล้านบาท

โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ปริมาณผู้โดยสาร และรองรับการลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าในอนาคต เช่น ปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น ซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 5 ขบวน จากเดิมมีอยู่ 19 ขบวน ชำระหนี้ ซึ่งบริษัทรับภาระดอกเบี้ยปีละ 700 ล้านบาท และเสริมสภาพคล่องเป็นเงินทุนหมุนเวียนใช้จ่ายภายในบริษัท เนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายต่อวันประมาณ 6 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้วันละ 3-4 ล้านบาท

ด้านผลประกอบการของบริษัทปี 2548 (เดือนกันยายน) มีรายได้รวม 695.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่ได้ 445.88 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น จาก 151,225 คนต่อวัน เป็น 179,145 คนต่อวัน และปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 2.5 แสนคนต่อวัน แต่บริษัทยังขาดทุนสะสมอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท คาดว่าจะล้างขาดทุนสะสมได้ภายในปี 2554 และจะมีการปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ในปี 2555

ที่ไม่น่าจะมองข้าม และคงทำให้บีเอ็มซีแอลต้องออกแรงลุ้น คือ การขายหุ้นให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สัดส่วน 25% มูลค่า 2,900 ล้านบาท ซึ่งบีเอ็มซีแอลมีแผนจะนำเงินก้อนนี้มาต่อยอดทางธุรกิจ และเสริมสภาพ คล่อง กรณียังไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้

เพราะในส่วนนี้แม้ ครม.จะไฟเขียวแล้ว แต่ทางปฏิบัติกระทรวงการคลังยังไม่ได้จ่ายเงินให้กับบีเอ็มซีแอลสักสตางค์แดงเดียว ยิ่งมาเจอสถานการณ์ทางการเมืองที่ผันผวนรุนแรงอย่างนี้ ไม่รู้ว่ากระทรวงการคลังจะฉวยจังหวะนี้ยืดการจ่ายเงินออกไปอีกนานแค่ไหน

คาดเดาไม่ได้จริงๆ ว่า กลุ่ม ช.การช่างจะพลิกสถานการณ์สู้อย่างไร ในยามมรสุมกำลังรุมเร้า

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 06-03-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.