| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 69 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-02-2549    อ่าน 12340
 นภดล รมยะรูป ชูระบบ "ไบโอแมส" นำ "ปูนเอเซีย" ฝ่าด่านต้นทุนพุ่ง

บนออฟฟิศสไตล์โมเดิร์นในย่านแหล่งบันเทิงชื่อดังอาร์ซีเอ "ประชาชาติธุรกิจ" มีนัดสัมภาษณ์กับ "นภดล รมยะรูป" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด (มหาชน) ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ถูกปัจจัยลบโถมเข้าใส่อย่างต่อเนื่อง

จึงดูเหมือนว่าวันนี้ภารกิจของเขาในฐานะผู้กุมบังเหียนพนักงาน "ปูนซีเมนต์เอเซีย" กว่า 1,000 คน กำลังเผชิญกับบททดสอบที่ท้าทายอีกครั้ง ไม่ใช่แค่ความท้าทายจากการแข่งขันในธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวางแผนรับมือกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน

โจทย์ใหญ่ทั้งหมดเขาวางแผนรับมือไว้อย่างไร ? คำตอบมีอยู่ในบทสัมภาษณ์นี้

- เรื่องต้นทุนการผลิตปูนเป็นอย่างไรบ้าง

ถ้าเปรียบเทียบต้นทุนเรื่องเชื้อเพลิงคิดเป็นสัดส่วน 25% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่งเมื่อเทียบปี 2548-2547 ปรากฏว่าต้นทุนเชื้อเพลิงในโรงงานแต่ละแห่งขึ้นมาประมาณ 33-35% โดยเชื้อเพลิงที่ขยับราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดก็คือน้ำมัน รองลงมาคือถ่านหิน ลิกไนต์ พวกนี้เวลาน้ำมันขึ้นก็จะขึ้นทั้งหมด ถ้าลงก็ลงทั้งหมด

- ปรับตัวเพื่อรับมืออย่างไร

ที่ผ่านมาเราทางกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ มีการพูดคุยระหว่างโรงปูนด้วยกันในเรื่องการลดต้นทุนดูกันอย่าละเอียด เช่น ระบบขนส่งสินค้า ซึ่งก็ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ในระยะยาวเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็คงไม่สามารถลดลงได้อีก เพราะปัจจุบันอัตราการสูญเสียในการผลิตของโรงงานปูนซีเมนต์เอเซียถือว่าจัดอยู่ในมาตรฐานระดับโลก อย่างเครื่องจักรที่โรงงานสระบุรีก็ปรับปรุงใหม่

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ปรับระบบเชื้อเพลิงที่ใช้การผลิตใหม่ ขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มทดลองนำ "ไบโอแมส" เข้ามาใช้ เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากผลิตผลการเกษตร อาทิ น้ำมันปาล์ม ฯลฯ ปีนี้ก็จะเอามาใช้มากขึ้นอีก

- ยังสามารถลดต้นทุนได้อีกแค่ไหน

ขึ้นอยู่กับเรื่องเชื้อเพลิงและที่ตั้งโรงงานด้วย เพราะเรื่องผลผลิตการเกษตรของเราไม่ค่อยแน่นอน ประเด็นคือต้องหาแหล่งวัตถุดิบที่สามารถป้อนโรงงานได้สม่ำเสมอ และก็ต้องมาดูว่าในระยะยาวจะมีผลกระทบกับเครื่องจักรอย่างไรบ้าง เพราะถ้ามีปัญหาแล้วมันจะเสียหายมากกว่าหลายเท่าตัว คาดว่าในช่วงแรกๆ คงลดได้ประมาณ 4-5% ส่วนระยะยาวน่าจะได้ถึง 10% นั่นเป็นเป้าหมายสูงสุด

ซึ่งอันที่จริงจะใช้ "ไบโอแมส" หรือจะเป็นพวกเชื้อเพลิงจากขยะ (กากของเสียจากปิโตรเลียม) ก็ได้ เช่น น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว แต่ตรงนี้ก็ต้องศึกษาให้ดีเพราะถ้าเกิดวัตถุดิบตัวไหนขาดตลาดก็เป็นไปได้ที่จะราคาแพง

- ต้องใช้เวลาทดลองนานมั้ย

... ตอบลำบาก อย่างเร็วที่สุดคือ 1 ปี รวมๆ คงใช้เวลาประมาณ 2 ปี เพราะกรณีถ้ามีเชื้อเพลิงที่เป็นขยะด้วยเท่ากับต้องมีมลพิษออกมาก ดังนั้นก็ต้องลงทุนติดตั้งเครื่องดักจับมลพิษ และเครื่องจักรแต่ละตัวก็ติดตั้งอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน เบ็ดเสร็จก็อาจต้องใช้เงินลงทุนหลายร้อยล้าน ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงานด้วย

- เรื่องขอปรับราคาปูนจะทำอย่างไรต่อไป

เราก็พยายามอยู่เพราะต้นทุนเพิ่มขึ้นจริงๆ ถ้าถามว่ายังหวังมั้ย... เรามีความหวังเสมอ แต่ต้องยอมรับว่าคงทำอะไรมากไม่ได้ แม้จะเคยขออนุมัติปรับราคากับกรมการค้าภายในแล้ว ที่ทำได้ตอนนี้ก็คงต้องกลับมาดูเรื่องต้นทุน

- ปีนี้จะขอปรับราคาปูนกับกรมการค้าภายในอีกหรือไม่

...เราก็ถามทุกปี แล้วแต่จังหวะปีที่แล้วประมาณ 2-3 ครั้ง เพราะต้องเข้าใจว่าธุรกิจไหนที่ไม่สามารถมีกำไรได้ในระดับหนึ่ง ธุรกิจนั้นก็จะไม่มีเรื่องการวิจัยและพัฒนา (อาร์ แอนด์ ดี) เทรนด์นิ่งโปรโมชั่น และการเก็บเงินทุนเพื่อรักษาความเสี่ยงในการทำธุรกิจ นั่นหมายความว่าจะไม่เกิดการพัฒนา

อย่างการพัฒนาปูนซีเมนต์สูตรใหม่ๆ สักตัว เฉลี่ยต้องใช้งบประมาณ 100-200 ล้านบาท ถือว่าไม่น้อย บางคนอาจจะมองว่าบริษัทมีกำไรตั้ง 1,000 ล้านบาทเศษ แต่พวกนี้ก็ต้องเอามาลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีโปรดักต์ที่คิดไว้เยอะ เพียงแต่อยู่ที่ความเหมาะสมว่าจะเปิดตัวเมื่อไหร่

- ราคาปูนที่ขายอยู่ปัจจุบันเป็นอย่างไร

ถือเป็นยุคที่ราคาต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ทั้งราคาวอลุ่มการขาย ถือว่ายังไม่ได้เข้าสู่จุดฟื้นตัว

- ตอนนี้ภาคไหนที่แข่งราคากันดุเดือด

จริงๆ ก็ดุเดือดทั้งหมด ส่วนเรื่องการวางกลยุทธ์ให้ส่วนลดก็ขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละบริษัท ปัจจุบันเรามีเอเย่นต์ 300 ราย รวมผู้รับเหมาด้วยก็ประมาณ 400 ราย ส่วนลดก็แตกต่างกันแล้วแต่พื้นที่เพราะการขายปูนต้องกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ

เช่น ถ้าเสียเปรียบเรื่องการขนส่งก็อาจจะต้องขายถูกหน่อยเพื่อรักษาลูกค้า แต่หลักๆ พื้นที่ที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของเราอยู่ในภาคตะวันออก และจังหวัดแถบสระบุรีที่ใกล้เคียงที่ตั้งโรงงาน

- มองว่าปูนยังเป็นสินค้าที่มีอนาคตหรือไม่

ผมว่ายังมีแน่ เพราะวันนี้ในงานก่อสร้างถ้าเทียบต้นทุนที่เท่ากันยังไม่มีอะไรมาทดแทนปูนซีเมนต์ได้ แม้จะมีกระจกยิปซัมเข้ามา แต่ความแข็งแรงก็ยังสู้ปูนซีเมนต์ไม่ได้

- เรื่องเมกะโปรเจ็กต์ตั้งเป้าเรื่องแชร์ไว้อย่างไร

ตอบลำบาก เพราะงานก่อสร้างที่อยู่อาศัย กับงานก่อสร้างทางด่วนแมสทรานซิส ระดับการใช้ปูนต่างกัน ทางด่วนจะใช้ปูนมากที่สุด ก็คาดหวังว่าเมื่อได้ส่วนแบ่งในโครงการเมกะโปรเจ็กต์แล้ว ก็คือรักษาระดับมาร์เก็ตแชร์ให้เท่ากับปัจจุบันคือประมาณ 7% ของส่วนแบ่งตลาดทั้งหมด เพราะขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตด้วยและที่สำคัญอุตสาหกรรมนี้กินรวบไม่ได้

เหมือนกับการหุงเสร็จแล้วก็แบ่งกัน ใครจะกินคนเดียวก็ไม่ได้ อย่างโครงการแอร์พอร์ตลิงก์เราก็ได้แชร์ผ่านทางผู้รับเหมามาเหมือนกัน

- ตลาดคอนกรีตผสมเสร็จเป็นอย่างไรบ้าง

ปัจจุบันถ้านับรวมกับบริษัท ชลประทานซีเมนต์ที่เรารวมการบริหารเข้าด้วยกันก็มีทั้งหมด 35 แพลนต์ มีกำลังผลิตปีละ 1 ล้านคิวบิกเมตร ในแง่ภาพรวมตลาดก็ดีขึ้นทุกปี ปัจจุบันตลาดรวมประมาณ 16 คิวบิกเมตร ต่างกับปูนซีเมนต์ที่ดูตลาดโตแบบชะลอตัว

คิดว่าเป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ของคนเปลี่ยนไป จริงๆ คอนกรีตผสมเสร็จควรจะหดตัวตามปูน เดี๋ยวนี้ถ้าเป็นงานเทพื้นที่ตึกแถว อาคารพาณิชย์ก็เรียกรถมาส่งคอนกรีตแทนผสมปูนเอง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ตามต่างจังหวัด เพราะสะดวกรวดเร็วกว่า

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 20-02-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.