| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 62 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-02-2549    อ่าน 11827
 ผ่ายุทธศาสตร์ "เทมาเส็ก" ปั้นโมเดลทุนไร้พรมแดน โตข้ามชาติหล่อเลี้ยงสิงคโปร์

นับจากกรณีของการ ขายหุ้นชินคอร์ป ชื่อของ เทมาเส็ก และกลุ่มทุนที่อยู่ในชายคาโฮลดิ้งส์ คัมปะนีรายนี้ ก็ดังถี่ขึ้น เช่น กรณีล่าสุด ที่ค่าย อมตะ คอร์ปอเรชั่น ของ วิกรม กรมดิษฐ์ ประกาศ ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือไฮเทค ปาร์ค ที่จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 200 ไร่ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฮับ) ของประเทศไทย

รายชื่อกลุ่มทุนที่จะมาร่วมกับอมตะคือ บริษัท Arsendar จากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทจูล่ง ซึ่งเป็นโฮลดิ้งของกลุ่มเทมาเส็ก ในอัตราส่วนร้อยละ 51 ต่อ 49 โดยทางอมตะจะเป็นผู้ลงทุนเรื่องที่ดิน ส่วนสิงคโปร์จะสนับสนุนเม็ดเงินและเทคโนโลยี

รูปแบบการลงทุนทางตรงของเทมาเส็ก และการลงทุนโดยขุมข่ายในเครือ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวดังในประเทศไทย เป็นยุทธศาสตร์ส่วนหนึ่งซึ่งฝังอยู่ในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลสิงคโปร์ ภายใต้นโยบายที่เรียกว่า Internationalisation policy ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2537 เพื่อโปรโมตบริษัทในกลุ่มที่เรียกว่า Government Linked Companies :GLCs ซึ่งหมายถึงรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ให้ก้าวสู่ความเป็นองค์กรสากล และผู้เล่นในลักษณะเดียวกับบรรษัทข้ามชาติตะวันตก

ทำไม GLCs ต้องเป็นองค์กรสากล

นับจากก่อตั้งขึ้นในปี 2517 เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ก็มีอิทธิพลอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจสิงคโปร์ เนื่องจากมีบริษัท GLCs อยู่ภายใต้ปีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่ผู้นำสิงคโปร์นับจากลี กวน ยู เรื่อยมาจนถึงโก๊ะ จ๊ก ตง และลี เซียน หลุง ต่างรู้แก่ใจดีว่า ข้อจำกัดที่สิงคโปร์เป็นเศรษฐกิจเล็ก อาจทำให้อนาคตของบริษัทสิงคโปร์ถูกตีกรอบไปด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลให้เกิดขึ้นกับธุรกิจในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกจึงไม่ใช่ทุก GLCs ที่จะได้รับไฟเขียวให้ออกไปเติบโตนอกประเทศ หากพิจารณาจากรายชื่อบริษัทสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จในเวทีภูมิภาค และระดับโลกในเวลานี้ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทในบังเหียนของเทมาเส็ก ที่ เทมาเส็กใช้เป็นแกนในการขยายการลงทุนในธุรกิจหลัก (core business)

ได้แก่ ดีบีเอส โฮลดิงส์ กลุ่มบริษัทเคพเพล กรุ๊ป เอ็นโอแอล รวมถึงพีเอสเอ คอร์ปอเรชั่น สิงคโปร์ แอร์ไลน์ และสิงเทล

บริษัทเหล่านี้ จึงเป็นกองทัพทุนชุดแรกๆ ของสิงคโปร์ที่โลดแล่นในภูมิภาคเอเชีย โดยแบกภารกิจสำคัญของรัฐบาลไปด้วยทุกครั้ง

อาทิ กลุ่มดีบีเอส โฮลดิงส์ เน้นการลงทุนไปในด้านบริการการเงิน ซึ่งมีผลประโยชน์ในไทย และฟิลิปปินส์ ได้แก่ ดีบีเอส แบงก์ ฟิลิปปินส์ และ ดีบีเอส ไทยทนุ แบงก์ ขณะที่กลุ่มบริษัทเคพเพล กรุ๊ป ลงทุนในด้านการบริการด้านพลังงานและไฟฟ้า โดยได้เข้าไปลงทุนสหรัฐ อาเซอร์ไบจัน และฟิลิปปินส์

ในส่วนของการขนส่งทางทะเล กิจการท่าเรือ และลอจิสติกจะมีเอ็นโอแอล และพีเอสเอ คอร์ปอเรชั่น เป็นแกน ซึ่งปัจจุบันได้เข้าไปลงทุนในหลายประเทศ อาทิ โปรตุเกส จีน อิตาลี เยเมน บรูไน อินเดีย และเบลเยียม

อีกกลุ่มหนึ่งคือ สิงเทล ซึ่งเป็นหัวหอกการลงทุนในด้านสื่อสารโทรคมนาคม มีผลประโยชน์ในหลายประเทศ ได้แก่ ในออปตัส ของออสเตรเลีย พีที บูกากา และเทลคอมเซล ของอินโดนีเซีย นิวเซนจูรี อินโฟคอม ของไต้หวัน โกลบ เทเลคอมของฟิลิปปินส์ เอไอเอส ของไทย ภารติ เทเลคอม ของอินเดีย และเบลกาคอม ในเบลเยียม รวมถึงแปซิฟิก บังกลาเทศ เทเลคอม ของบังคลาเทศด้วย

กรณีล่าสุดของการเข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป ส่วนหนึ่งก็เป็นผลดีต่อแผนยกระดับสู่ผู้ให้บริการระดับโลก หรือ Global Operator ของสิงเทลใกล้ความจริงเข้าไปทุกที เพราะเปิดทางให้ยักษ์ใหญ่สื่อสารสิงคโปร์ครอบครองส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้มือถือในตลาดไทยทันทีมากกว่าครึ่งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังๆ เทมาเส็กมีการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างเด่นชัด โดยเข้าไปถือหุ้นในแคพเพล แลนด์ (17%) และแคปิตอลแลนด์ (61%) โดยเฉพาะแคปิตอลแลนด์นั้น มีการลงทุนด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ถือ เป็นเกตเวย์หลักๆ ได้แก่ จีน ไทย และออสเตรเลีย รวมถึงในสิงคโปร์ด้วย สำหรับในประเทศไทย แคปิตอลแลนด์ ตั้งบริษัทร่วมทุนกับกลุ่มทีซีซี แลนด์ ในชื่อ ทีซีซี แคปิตอล แลนด์

ปฏิบัติการของ GLCs ในเครือนั้นชัดเจนว่า การลงทุนแต่ละครั้งของกลุ่มทุน GLCs เทมาเส็กคือ คนกดปุ่มอนุมัติ ด้วยสถานะของนักลงทุนและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน GLCs ประกอบกับกฎหมายสิงคโปร์ ได้กำหนดบทบาทของเทมาเส็กไว้ชัดเจนว่า เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบริหารการลงทุนโดย ตรงในเชิงพาณิชย์ระยะยาวของประเทศสิงคโปร์

กลยุทธ์การเติบโตนอกประเทศของกลุ่มทุนสิงคโปร์ เริ่มปรับยุทธศาสตร์อีกครั้ง หลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า GLCs เน้นการลงทุนในต่างประเทศมากเกินไป ทำให้เศรษฐกิจข้างในมีจุดอ่อน เห็นได้จากการเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงปี 2544-2545 ส่งผลให้เทมาเส็กต้องจัดทำยุทธศาสตร์การลงทุนใหม่ ซึ่งสามารถสร้างสมดุลให้กับการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ของ GLCs ในเครือ เรียกว่า Temasek Charter

ภายใต้ Temasek Charter ได้แบ่งบริษัท GLCs ที่อยู่ภายใต้โฮลดิ้ง ของเทมาเส็ก เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ Group A และ Group B โดยธุรกิจในกลุ่มเอ เป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และบริษัทที่จัดตั้งเพื่อสนองตอบเป้าหมายของนโยบายสาธารณะ เช่น ในตลาดที่มีการผูกขาดโดยธรรมชาติ ซึ่งบทบาทในการลงทุนของ เทมาเส็ก จะคล้ายๆ เข้าไปทำหน้าที่กำกับดูแล

ส่วนการลงทุนในบริษัทกลุ่ม บี บทบาทของ เทมาเส็กจะเป็นเสมือนขุนพลควบคุมภารกิจในการสร้างเศรษฐกิจระหว่างประเทศของกลุ่ม GLCs ที่มีศักยภาพในการเติบโตในภูมิภาค และระดับโลก

การออก Temasek Charter จึงเป็นเสมือนกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ให้บรรลุผล

ประการแรก สนองตอบนโยบายสร้างเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเดินคู่ขนานไปกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ ประการที่สอง นั่นคือ เพื่อสนองตอบนโยบายการออมในประเทศ ซึ่งเป็นการตั้งรับความเป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรจะส่งผลกระทบต่อระดับการออมในประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงคาดหวังว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่บริหารจัดการผ่านเครือข่าย GLCs จะเป็นตัวช่วยของการออม จากการนำรายได้ในต่างประเทศของ GLCs เข้าประเทศ

ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายสนับสนุนการดึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เข้าสู่สิงคโปร์ ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในสาขาบริการ และเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อรักษากิจกรรมภายในประเทศให้ขับเคลื่อนได้ต่อ โดยไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสร้างเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่จะดูดซับโอกาสของการลงทุนในประเทศไปจนหมด

เมื่อเร็วๆ นี้ เทมาเส็กตัดสินใจปรับยุทธศาสตร์การลงทุนอีกครั้ง เป็นลงทุนในประเทศ 1 ใน 3 ลงทุนในเอเชีย 1 ใน 3 และลงทุนในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มโออีซีดีอีก 1 ใน 3 แต่เพื่อไม่ให้ดูเหมือนว่า GLCs สำคัญๆ ลงทุนนอกประเทศมากไป เทมาเส็กจึงตัดสินใจลดการลงทุนผ่าน GLCs แต่ เพิ่มการลงทุนโดยตรงในส่วนของตัวเองให้มากขึ้นแทน เพื่อให้สัดส่วนการลงทุนเป็นไปตามเป้า หมายอย่างสัมฤทธิผลที่สุด

สิ่งที่น่าศึกษามากที่สุดของเทมาเส็กคือ วิธีบริหารจัดการ แม้รูปแบบการลงทุนในต่างประเทศจะมีลักษณะคล้ายๆ การลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั่วไป แต่ก็มีเป้าหมายในการลงทุนชัดเจนว่า ต้องการดำรงสถานะผู้ถือหุ้น ที่สามารถใช้สิทธิในการถือหุ้นของตัวเองได้ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า GLCs สามารถสนองตอบเป้าหมายในการสร้างมูลค่าการถือหุ้นในระยะยาวให้กับ เทมาเส็กได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทที่ทมาเส็กลงทุนจะให้ความสำคัญกับผลประกอบการบรรษัทภิบาลและความสามารถเชิงยุทธศาสตร์ของแต่ละบริษัท

นั่นเป็นเพราะหลักการการสร้างมูลค่าสูงสุดจากการถือหุ้นระยะยาวมีความหมายต่อเทมาเส็กมาก กว่าการกอบโกยผลตอบแทนเข้าบริษัท ต่างกรรมต่างวาระ ผู้บริหารระดับสูงในเทเมเส็กมักจะเน้นย้ำความสำคัญตรงนี้เสมอว่า ผู้ถือหุ้นที่จะได้รับประโยชน์นี้ในที่สุดก็คือ คนทุกรุ่นของสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต "อีกนัยหนึ่งคือ เรามีหน้าที่รับผิดชอบในการสงวนและสร้างมูลค่า ไม่ใช่แค่เพื่อคนในรุ่นปัจจุบัน แต่ยังรวมถึงคนรุ่นใหม่ๆ ในอนาคตด้วย"

ดังนั้น เมื่อเทมาเส็กมีวาระที่ชัดเจนอยู่ในใจอยู่แล้ว จึงเป็นไปได้ที่โมเดลนี้จะถูกนำไปปรับใช้กับทุกบริษัทที่เทมาเส็กเข้าไปลงทุน ทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น GLCs เท่านั้น เพราะเทมาเส็กเป็นกลุ่มทุนที่หวังผลกำไรในเชิงพาณิชย์ จะตัดสินใจลงทุน หรือถอนการลงทุน ก็ล้วนมาจากเหตุผลในเชิงธุรกิจเป็นสำคัญ

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 16-02-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.