| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 94 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 06-02-2549    อ่าน 11835
 นิวัติน์ กาญจนภูมินทร์ จุดพลุ "เครดิตบูโร" แนะลูกค้าสร้างเครดิตก่อนซื้อบ้าน

วิกฤตเศรษฐกิจรอบล่าสุดเป็นบทเรียนที่เจ้าหนี้รวมทั้งลูกหนี้ยากที่จะลืม แต่ท่ามกลางความเลวร้ายซึ่งเป็นผลพวงจากฟองสบู่แตกในครั้งนั้น ก็ทำให้หลายฝ่ายได้หันกลับมาทบทวนและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องผลักดันมาตรการใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดซ้ำรอย อย่างวงการอสังหาริมทรัพย์ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาฯทั้งระบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคนำไปใช้ประโยชน์ ขณะที่วงการสถาบันการเงินก็มีการนำระบบเครดิตบูโร (credit bureau) มาใช้

ปัจจุบันฐานข้อมูลในเครดิตบูโรถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อประเภทต่างๆ ของสถาบันการเงิน ตลอดจนการให้เครดิตแก่ลูกค้าของผู้ประกอบการในหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มว่าการพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้จะยิ่งเข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ

"นิวัติน์ กาญจนภูมินทร์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เล่าถึงที่มาซึ่งเป็นจุดกำเนิดขององค์กรแห่งนี้ บทบาทหน้าที่ในปัจจุบัน พร้อมกับแนะนำบริการ และแท็กติกในการเตรียมการยื่นขอสินเชื่อ ตลอดจนวิธีการเคลียร์หนี้และสร้างเครดิตเพื่อเป็นใบเบิกทางในการทำธุรกรรมต่างๆ ในอนาคต

- คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักเครดิตบูโร

บริษัทข้อมูลเครดิตฯเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 แต่การเริ่มดำเนินการในปี 2546 ก่อนหน้านี้ก็เคยจะมีการตั้งเครดิตบูโรแต่ไม่สำเร็จ บังเอิญเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผลพวงที่ตามมาจะเห็นว่าเกือบทุกประเทศในเอเชียมีการจัดตั้งเครดิตบูโรกันขึ้นมา เพราะพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจที่ฟองสบู่แตกมาจากระบบสินเชื่อของธนาคารมีปัญหา

ก็เลยมีแนวคิดว่าจริงๆ แล้วคนที่ทำธุรกิจด้วยกันจะต้องมีความเท่าเทียมกันในเรื่องของข้อมูล ทั้งผู้ให้สินเชื่อและผู้ขอสินเชื่อ แต่ในอดีตผู้กู้จะมีข้อมูลมากกว่าผู้ให้กู้ ก็คือรู้ประวัติตัวเองอยู่แล้ว แต่ผู้ให้กู้ไม่รู้ประวัติที่แท้จริงของผู้กู้ ก็เลยเกิดไอเดียว่าทำอย่างไรให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความเท่าเทียมกันในด้านข้อมูล

เครดิตบูโรจึงเกิดขึ้นโดยอาศัยหลักของความยินยอม คือการให้เปิดเผย โดยมีแบงก์ชาติ, คลังช่วยผลักดัน กฎหมายฉบับนี้จะบาลานซ์ทั้ง 2 สิ่งเข้าด้วยกัน คือทำอย่างไรให้เศรษฐกิจแกนหลักของระบบเศรษฐกิจ คือระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง และทำอย่างไรให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง

กฎหมายกำหนดให้มีบริษัทข้อมูลเครดิตและมีสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้สินเชื่อที่เป็นกลุ่มน็อนแบงก์ กลุ่มเช่าซื้อ ผู้ออกบัตรเครดิต ผู้ให้สินเชื่อที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายเฉพาะ กลุ่มธุรกิจประภันภัย ฯลฯ เป็นสมาชิก มีหน้าที่ส่งข้อมูลสินเชื่อที่มีอยู่ให้บริษัท เป็นข้อมูลทุกบัญชีตามข้อเท็จจริงของการชำระ ประวัติจริงๆ ว่าเขามีการชำระอย่างไรในแต่ละเดือน แต่ข้อมูลที่ส่งเข้ามาจะไม่ถูกนำไปใช้จนกว่าเจ้าของข้อมูลจะให้ความยินยอม

- มีสถาบันการเงินเป็นสมาชิกเยอะหรือเปล่า

ตอนนี้มี 75 ราย อีกประมาณ 20-30 ราย ไม่ได้เป็นสมาชิก สมาชิกส่งข้อมูลให้เราทุกเดือน แต่คิดว่าข้อมูลที่เรามีในเครดิตบูโรน่าจะมากถึง 80-90%

- อัตราค่าบริการ

คิดค่าสมาชิกเป็นรายเดือน เดือนละ 5 หมื่นบาท และค่าเข้าดูข้อมูล 12 บาทต่อครั้ง แต่จะมีส่วนลดให้สำหรับสมาชิกที่ส่งข้อมูลลูกหนี้ให้เยอะ ส่งข้อมูลเร็ว ตรวจสอบข้อมูลหลายๆ รายการ

- ต่างประเทศนำเครดิตบูโรมาใช้นานแล้ว

มีมานานแล้ว และเขาก็พัฒนาไปไกลมาก เขาทำแม้กระทั่งข้อมูลการจัดอันดับเครดิตลูกค้ารายย่อย (credit scoring) หรือเครดิตสกอริ่ง ในอเมริกา ยุโรปมีมานานแล้ว และเขาก็พัฒนาไปไกลมาก เช่น ใช้ข้อมูลเครดิตในธุรกรรมอื่นๆ อาทิ มีการขายบริการให้เซอร์วิสแล้วให้ผ่อนชำระ เขาไปไกลถึงเรื่องการเช่าอพาร์ตเมนต์ เช่าบ้าน เรื่องของสาธารณูปโภค ถึงเรื่องการสมัครงาน ฯลฯ

อยากบอกว่าจริงๆ แล้วข้อมูลเครดิตเป็นหลักประกันอย่างหนึ่ง มันคือเครดิตของคนแต่ละคน จับต้องไม่ได้ แต่มีแวลู มีแวลูมากกว่ารถหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นหลักประกัน หรือแม้กระทั่งเฮาซิ่ง เครดิตคนเป็นหลักประกันดีกว่าบ้านที่เอาไปจำนองไว้ด้วย

- เราจะมีการพัฒนาไปอย่างนั้นมั้ย

ก็คงต้องใช้เวลา เราก็มองไว้ว่าทำอย่างไรให้คอนซูเมอร์ได้ประโยชน์ เช่น ถ้าเครดิตดีก็ให้เขาได้ลดดอกเบี้ย แต่อย่างแรกต้องมีตัววัดก่อน คือเครดิตสกอริ่ง ถ้ามีและโชว์ตัวเลขอันนี้ออกมามันก็จะมีเกจ์วัด เกจ์อยู่ตรงนี้ ความเสี่ยงอยู่ตรงนี้ ดอกเบี้ยอยู่ตรงนี้ อันนี้ก็จะใช้ได้กับตลาด ตลาดก็จะเริ่มยอมรับ ผู้บริโภคเองเมื่อเห็นว่าตัวเองเครดิตดี เป็นผม ผมก็ต้องเดินหน้าคุยกับสถาบันการเงินว่า ต้องลดดอกเบี้ยให้ผม ไม่งั้นผมจะย้ายไปที่อื่น สำหรับแบงก์ ผมคิดว่าเขาพร้อมที่จะรุกตัวนี้ แต่ขอให้มีเครื่องมือที่ดีที่จะบริหารความเสี่ยง และรู้ว่าอะไรเสี่ยงน้อยอะไรเสี่ยงมาก

- ในส่วนธุรกิจอสังหาฯเคยมีปัญหา

ปัญหาส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวิเคราะห์ข้อมูลไม่ครบ ทำให้แบงก์ไม่กล้าเสี่ยง เพราะฉะนั้นเราจะแก้ในส่วนนี้ โดยจะพยายามจัดอบรมให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่แบงก์เป็นระยะๆ

ประเด็นที่เป็นปัญหาของ 3 สมาคมอสังหาฯ จริงๆ มันไม่ใช่ปัญหา และต้องให้ผู้วิเคราะห์สินเชื่อทำความเข้าใจ อันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาก็ดำเนินการไปบ้างแล้ว

- คนซื้อบ้านควรเตรียมตัวอย่างไร จากที่แบงก์เข้มงวดมากขึ้น

อันหนึ่งคือพอสถาบันการเงินเริ่มระมัดระวังในเรื่องการให้สินเชื่อ การปล่อย 100% ของหลักประกันก็อาจจะลดลง อันที่สองเมื่อดอกเบี้ยขึ้น ค่างวดผ่อนก็ขึ้นตาม ความสามารถผ่อนชำระอาจจะเท่าเดิมหรือน้อยลงกว่าเดิม วงเงินที่สามารถกู้ได้ก็อาจจะน้อยลง เพราะฉะนั้นคนที่คิดจะกู้ซื้อบ้านก็ต้องเริ่มจากออมก่อน ส่วนประวัติสินเชื่อของเราก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างไว้อย่าให้มีปัญหา เพราะมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ

- ถ้าเคยมีปัญหาแล้ว ควรเคลียร์ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน

สมมุติเคยมีปัญหา เคยผิดนัดชำระ แล้วกลับมาชำระแล้วก็ชำระต่อเนื่องตลอด เช่น ปีที่แล้วผมเคยผิดนัด 50 วัน แต่กลับมาชำระปกติ และชำระมาตลอด 1 ปี ระยะเวลาคิดว่า 6 เดือนก็พอสำหรับคนที่ไม่เคยชำระ 90 วัน แล้วกลับมาชำระ เป็นการแสดงเจตนาว่าเขาไม่เบี้ยว ผมคิดว่าประวัติแค่ 6 เดือนอาจจะเหมาะ คือสร้างประวัติให้เห็นว่าเรามีวินัยและสุจริต

- จะตรวจสอบเครดิตตัวเองต้องทำอย่างไร

ไปที่ ธอส. (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) ชั้น 10 เดือน ที่นั่นเรามีบริการข้อมูลเครดิตสำหรับผู้บริโภค ก็มีไปตรวจสอบกันเยอะต่อเดือนประมาณพันกว่าราย ตรวจสอบก็เพื่อให้มั่นใจก่อนที่จะไปยื่นขอสินเชื่อซื้อบ้านหรือสินเชื่อประเภทอื่นๆ

- ขึ้นบัญชีลูกค้าที่มีปัญหานานถึง 5 ปี

เดิมจะมีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าที่มีปัญหาไว้เป็นเวลานาน 5 ปี คือเมื่อเคลียร์หนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีรายชื่ออยู่ในบัญชีอีก 5 ปี จึงจะลบออก แต่ในส่วนนี้เราเสนอขอปรับลดระยะเวลาเหลือเพียงแค่ 3 ปี และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการข้อมูลเครดิตแล้ว เร็วๆ นี้คงจะมีประกาศออกมา ที่ปรับลดให้เพราะเราเห็นว่าต้องให้โอกาสผู้บริโภค เพราะระยะเวลา 5 ปี ดูยาวนานไปนิดหนึ่ง

- อยากจะฝากอะไรถึงผู้บริโภคบ้าง

ผมอยากให้สังคมได้เข้าใจว่าข้อมูลเครดิตมีประโยชน์ต่อเขา ถ้าเขารู้จักรักษาและรู้จักสร้างมัน เพราะเราจะมีหลักประกันบางอย่าง เราไปกู้แบงก์ แบงก์อาจจะไม่ให้กู้ แต่ถ้าเรามีข้อมูลบูโรที่แสดงให้เห็นว่าเรามีประวัติที่ดี มีการชำระที่ดีมาตลอด ไม่จำเป็นต้องมีหลักประกันเขาก็ให้กู้

- อนาคตจะเห็นประโยชน์ชัดเจน

ใช่ครับ และอยากจะบอกผู้บริโภคว่า ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ คือไม่มีใครสามารถเข้าถึงข้อมูลของเขาได้โดยที่เขาไม่ได้ให้ความยินยอม แล้วเขามีสิทธิตรวจสอบข้อมูลของเขา และขอแก้ไขได้ ถ้ามันไม่ถูกต้อง แต่ถ้าถูกต้องแล้วขอลบไม่ได้ เพราะโดยหลักก็คือคนทำธุรกิจธุรกรรมด้วยกันต้องมีข้อมูลที่เท่าเทียมกัน ด้วยความแฟร์ แต่ถ้าเขาไม่อยากเปิดเผยให้ใครก็ไม่ต้องไปยินยอม ก็ไม่มีใครเห็นอยู่แล้ว กฎหมายมันคุ้มครองอยู่แล้ว และขอให้มั่นใจว่าบูโรจะทำหน้าที่ตรงนี้

- หวังผลกำไรจากค่าบริการหรือเปล่า

เรื่องกำไรคงเป็นอันดับรอง จะเห็นว่าอีกด้านหนึ่งของเราก็มีภาครัฐเข้ามาถือหุ้นอยู่ด้วย แบงก์เองก็ไม่ได้หวังกำไร แต่ทำให้เขามีเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยง อันดับแรกคือทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้ตรงนี้รักษาข้อมูลที่อยู่ในระดับที่มีการคุ้มครองข้อมูลที่ดีขึ้น ผมดีใจที่ได้มาทำและเต็มใจมาทำ เพราะเห็นว่ามันมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีประโยชน์ต่อสังคม

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 06-02-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.