| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 236 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!


 

108-1009 ปัญหาในการก่อสร้าง

 

"ร้อยพันปัญหางานก่อสร้าง" นี้ เป็นเอกสารที่รวบรวมขึ้นจากข้อเขียนของคุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ แก่คนทั่วไปโดยทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ สนับสนุนให้เผยแพร่ ต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มีสาระ ประโยชน์ โดยได้จัดแบ่งเป็นหมวด เป็นหมู่ ครึ่งหนึ่งของปัญหา เป็นเรื่องเทคนิค ที่คนในวงการก่อสร้างเท่านั้น ที่จะสนใจ ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง เป็นปัญหาพื้น ๆ ที่คนนอกวงการ น่าจะรู้ไว้ ดังนั้น ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้ตามความสนใจของท่านครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท ์ A.S.A. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 248/1 ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 319-6555 โทรสาร 319-6149

รื่องน่ารู้เกี่ยวกับบันได
  คุณมีบันไดโปร่ง หน้าต่างรับลม ติดโถงลิฟท์บ้างหรือเปล่า ?
หากคุณมีบันไดโปร่ง (ที่มักออกแบบให้ใช้เป็นบันไดนอกอาคาร จะได้ไม่ต้องติดตั้งระบบอัดอากาศ เวลามีเพลิงไหม้) หรือ มีหน้าต่าง รับลมที่โถงลิฟท์ กรุณาระวังด้วยว่า เวลาฝนตก น้ำฝนมันจะสาดเข้ามา และ ท่วมเข้าไปใน ช่องลิฟท์ หรือช่องท่อไฟฟ้า (ซึ่งมักอยู่ติดกับ โถงลิฟท์)…. แล้วจะดูไม่จืดเชียว

  บันไดที่ดีน่าจะกว้างเท่าไร สูงเท่าไร?
หากไม่ว่ากันตามตัวบทกฎหมาย แต่ว่ากันตามความสบายและความที่น่าจะเป็น บันไดน่าจะมีสัดส่วนดังนี้ :
ชนิดของอาคาร กว้างไม่น้อยกว่า (เมตร) ลูกตั้งสูงไม่เกิน (เซนติเมตร) ลูกนอนไม่น้อยกว่า (เซนติเมตร)
บ้านพักอาศัย 1.00 18.00 27.00
บันไดหลักอาคารใหญ่ 1.50 18.00 27.00
บันไดรองอาคารใหญ่ 1.20 20.00 25.00
บันไดหน้าอาคารใหญ่ 2.00 17.00 30.00

  ออกแบบเขียนแบบบันได อย่าลืมว่า ลูกนอนบริเวณชานพัก จะต้องเยื้องกัน ?
สมัยก่อนการออกแบบส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่ไม่สูงใหญ่มาก ระบบการติดต่อทางตั้ง ก็จะใช้บันได เป็นหลัก แต่เดี๋ยวนี้อาคารสูงใหญ่เกิดขึ้นมากมาย สถาปนิกจึงมักคำนึงเพียงการใช้ลิฟท์ขนส่งทางตั้ง จนคนรุ่นหลัง ๆชักจะออกแบบ-เขียนแบบ บันไดกันไม่เป็นเสียแล้ว ความผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ การเขียนลูกนอนของบันไดบริเวณชานพักทั้งขั้นที่ขึ้นสู่ชานพัก และขั้นจาก ชานพักสู่ชั้นบน มักจะเขียนแบบให้อยู่ระดับ เสมอกัน…. ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงก็คือ ราวบันไดที่วิ่งจากชั้นล่างสู่ชานพัก และจากชานพักสู่ชั้นบน จะมีการหักลงหักขึ้นอย่างรุนแรง เพราะ Slope เปลี่ยนแปลงทันที ทำให้ทำการก่อสร้างไม่ได้ หรือหากทำได้ ก็จะน่าเกลียดมาก จึงขอแนะนำสูตรสำเร็จว่าการออกแบบขั้นบันไดบริเวณชานพัก จะต้องเยื้องกัน 1 ขั้นเสมอ เพื่อให้ราวบันไดดูสวยงามและก่อสร้างได้

  กระไดบ้าน… เหตุไฉนถึงไม่ทำกันให้อยู่ทางทิศตะวันตก?
หากจะว่าเป็นความเชื่อตามคติโบราณก็ไม่ผิด แต่หากแม้นใครไม่เชื่อคนโบราณก็ยังไม่น่าจะเอาบันไดให้มันหันไปทาง ทิศตะวันตกหรอก เพราะแสงแดดตะวันตกมันจะส่องเข้าตา…. แล้วท่านก็มี โอกาส ตกบันไดได้!!

  ระวังบัวเชิงผนังของบันได วิ่งเข้าชนคานข้างบันได แล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ?
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย ๆ แต่เป็นเรื่องที่นักออกแบบที่ดีไม่น่าจะมองข้ามกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ต้องการออกแบบ ให้บันไดของท่านดูสวยงามและนำสายตา ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็คือ คานโครงสร้างที่วิ่งเข้าไปรับชานพักบันได จะอยู่คนละระดับกับคานรับพื้น ซึ่งเมื่อมีการก่อผนังแล้ว อาจเกิดแนวคานปูดโผล่ขึ้นมา และอมขั้นบันไดบางขั้น ทำให้ผนังด้านข้าง กับขั้นบันไดเกิดหลืบ เกิดซอกขึ้น ปัญหาที่จะตามมาก็คือบัวขั้นบันไดที่วิ่งปิดประดับตามขั้นบันได เวลาวิ่งเข้าชนแนวคานนี้ ก็ไม่รู้ว่า จะทำอย่างไร จะเว้นไว้ก็ใช่ที่ จะปิดทับก็ทำไม่ได้ ก็เลยเกิดปัญหาความน่าเกลียดขึ้น… ขอแนะนำว่า หากไม่ต้องการเกิดปัญหานี้ บันไดดังกล่าวไม่น่าจะมีบัวเชิงผนัง หรือหากอยากจะมีบัว ก็น่าจะก่อผนังขอบนอกของคาน เพื่อไม่ให้เกิดแนวคาน ปูดออกมาเป็นปัญหา

More...


Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.