| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 347 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!


 

108-1009 ปัญหาในการก่อสร้าง

 

"ร้อยพันปัญหางานก่อสร้าง" นี้ เป็นเอกสารที่รวบรวมขึ้นจากข้อเขียนของคุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ แก่คนทั่วไปโดยทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ สนับสนุนให้เผยแพร่ ต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มีสาระ ประโยชน์ โดยได้จัดแบ่งเป็นหมวด เป็นหมู่ ครึ่งหนึ่งของปัญหา เป็นเรื่องเทคนิค ที่คนในวงการก่อสร้างเท่านั้น ที่จะสนใจ ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง เป็นปัญหาพื้น ๆ ที่คนนอกวงการ น่าจะรู้ไว้ ดังนั้น ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้ตามความสนใจของท่านครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท ์ A.S.A. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 248/1 ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 319-6555 โทรสาร 319-6149

รื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง กระจก
  อาคารสูงที่ท่านออกแบบ ให้ กระจกประตู หน้าต่างด้านนอกอาคาร หนาเท่ากันทั้งตึกนั้น อาจทำให้ท่าน กลายเป็นฆาตกรได้ เป็นอย่างดีเชียว !!
การก่อสร้างอาคาร เป็นการนำเอาวิทยาการและเทคโนโลยีไปฝืนธรรมชาติ การออกแบบอาคารสูง ยิ่งเป็นการ ฝืนกฎธรรมชาติ หนักเข้าไปอีก เพราะมีสิ่งสำคัญ ที่เข้ามากระทบอาคาร มากกว่า อาคารเตี้ยก็ คือ "แรงปะทะของลม (Win Load)" ซึ่งจะมีกำลัง แรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออาคารสูงขึ้นไป การที่สถาปนิก ใช้กระจกด้านนอกอาคาร มีความหนาเหมือนกันหมด กระจกชั้นล่าง ๆ ที่ไม่มีแรงลม เข้ามากระทำ จะอยู่ได้ แต่กระจกชั้นสูง ๆ ที่มีแรงลมเข้าไปกระทบ จะทนไม่ไหว อันตรายสูงสุด จะเกิดขึ้น ตอนที่มีพายุ และท่านเปิดประตู เข้าห้อง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตึกที่มีช่องโล่งตรงกลางตึก) ความอัดอากาศภายใน และภายนอก จะแตกต่างกันมาก กระจกที่ท่านออกแบบไว้นั้น มีโอกาสแตก และ …. "บินมาตัดคอท่าน !!!!!"

เพื่อความสบายใจ และสบายตัวของท่าน มีสูตรง่าย ๆ ในการกำหนดความหนา ของกระจก (แบบธรรมดา : Float Glass) ตามขนาดของช่องเปิด และความสูงของอาคาร ไว้ดังต่อไปนี้
ขนาดช่องเปิด
(เป็น ต.ร.ม.)
ชั้น 1 - 4
(0.11 m.)
ชั้น 5 - 10
(11.30 m.)
ชั้น 10 - 30
(30 m. up)
1.00 6 mm. 6 mm. 6 mm.
2.00 6 mm. 6 mm. 6 mm.
3.00 6 mm. 6 mm. 8 mm.
4.00 6 mm. 8 mm. 8 mm.
5.00 6 mm. 8 mm. 10 mm.
6.00 8 mm. 10 mm. 10 mm.
7.00 8 mm. 10 mm. 12 mm.
8.00 8 mm. 12 mm. 12 mm.
9.00 10 mm. 12 mm. 12 mm.
10.00 10 mm. 12 mm. (ห้ามใช้)
11.00 10 mm. 12 mm. (ห้ามใช้)
12.00 12 mm. (ห้ามใช้) (ห้ามใช้)
13.00 12 mm. (ห้ามใช้) (ห้ามใช้)
14.00 12 mm. (ห้ามใช้) (ห้ามใช้)
15.00 12 mm. (ห้ามใช้) (ห้ามใช้)
16.00 12 mm. (ห้ามใช้) (ห้ามใช้)
17.00 (ห้ามใช้) (ห้ามใช้) (ห้ามใช้)
แต่หากจะให้ดีกว่านี้ น่าจะติดต่อปรึกษากับบริษัทขายกระจกโดยตรงจะดีกว่า เพราะ หากต้องการ ใช้ช่องเปิด ขนาดใหญ่โต และวงเล็บว่าห้ามใช้ อาจจะต้องเปลี่ยน ชนิดของกระจก เป็นอย่างอื่นเช่น Tempered หรือ Laminated Glass เป็นต้น

  อย่าออกแบบบานเกล็ดกระจกให้กว้างมากนัก !
บานเกล็ดกระจก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรับมุมได้) ไม่น่าจะออกแบบให้มีความกว้าง ของช่องบานมากนัก เพราะกระจก จะรับน้ำหนักตัวเอง ไม่ไหว (โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการรับน้ำหนัก ตามแนวนอน) จะแอ่น หรือแตกหักได้ …. แต่หากคิด จะใช้กระจกที่หนาขึ้น เพื่อไม่ให้แอ่น ก็ระวัง อุปกรณ์ปรับมุม จะรับน้ำหนัก ของกระจกไม่ไหว … แม้คิดจะใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ ที่แข็งแรง พอรับน้ำหนักกระจกได้ ก็ขอให้เกรงใจ คนที่ต้องมาหมุน เปิดปิด ว่าเขาจะลำบากเพียงไร (อาจจะเป็น ตัวท่านเองก็ได้) … .ดังนั้น เพื่อไม่ให้ยุ่งยาก วุ่นวายนักหนา …. ก็อย่าใช้บานเกล็ด ที่มีขนาดโตกว่า 90 ซม. เลย หากขนาดช่องโตมากกว่านั้น ก็แบ่งออก เป็น 2 ช่องดีกว่า

  บานประตูไม้อัดบิดงอ….จะแก้ไขได้อย่างไร ?
(แก้ไขไม่ได้ ต้องทิ้งไปแล้วเอาบานใหม่เข้ามาเปลี่ยนแทน)

  กระจกมีกี่ชนิด แล้วจะเลือกใช้อย่างไร ?
กระจกมีหลายชนิดแน่นอน แต่หากเราจะแบ่งความแข็งแรงของกระจกเพื่อการใช้งานให้ถูกที่ และไม่บินลงมา ทำอันตราย ก็น่าจะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ :
1. กระจกธรรมดา หรือที่เรียกภาษาเทคนิคว่า Anneal Glass เวลาแตกจะเป็นปากปลาฉลาม ซึ่งอันตราย แต่ยังโชคดี ที่รอยแตกจะวิ่งเข้าสู่กรอบ ทำให้ส่วนใหญ่ ยังไม่หล่นลงมาโดยทันทีทันใด มองจากภายนอกไม่เป็นลอนดูเรียบสวยงาม
2. กระจก Tempered คือเอากระจกธรรมดามาทำให้ร้อนเกือบหลอมละลายใหม่ แล้วทำให้เย็น จะเป็นการ เพิ่มความแข็งแรง เวลาแตกจะแตกกระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ ไม่เป็นอันตรายมาก แต่จะไม่มีรอยแยกวิ่งเข้ากรอบ ทำให้เมื่อแตกแล้วจะร่วงหล่นลงมาทันที ดูจากภายนอกจะเป็นลอนเล็กน้อย จึงดูหลอกตา ในบางมุมมอง
3. กระจก Heat Strengthen จะคล้ายกับกระจกสองอย่างแรกปนกัน โดยนำกระจกธรรมดามาให้ความร้อน (แต่ไม่ถึงขนาด Tempered Glass) จึงมีความแข็งแรงมากขึ้น (ไม่เท่ากับ Tempered) เวลาแตกจะแตกแบบ Float มองดูภายนอกเป็นลอนบ้างบางครั้ง แต่ไม่มาก
4. กระจก Laminated ซึ่งความจริงไม่น่าจะนำมาเปรียบเทียบกับกระจกทั้ง 3 อย่างแรก เพราะไม่ใช่แตกต่างกัน ที่วิธีการผลิต แต่เป็นการเอากระจก (อะไรก็ได้) มารีด ประกบติดกัน ด้วยแผ่นฟิล์ม ทำให้เกิด ความแข็งแรงมากขึ้น เวลาแตก.. แผ่นฟิล์มจะทำหน้าที่ยึดติด ไม่ให้ร่วงหล่นลงมาได้
จากกระจกที่แบ่งตามความแข็งแรงในการใช้ดังกล่าวข้างต้น ก็อาจจะแยกกระจก ออกเป็นไปตาม ความสวยงาม หรือผ่านวิธีกรรมอื่น ๆ ได้อีกต่อไป เช่นทำให้ออกมา เป็นกระจกกรองแสง กระจก สะท้อนแสง กระจกเงา ฯลฯ …. แต่นั่นคงไม่ใช่ ความสำคัญประการแรก เนื่องจากเราสามารถ นำกระจก Float, Tempered, Heat Strengthen, หรือ Laminated มาทำเป็นกระจกตัดแสง กระจกสะท้อนแสง หรือกระจกเงาได้ไม่ยากนัก

  อย่าติดพัดลมระบายอากาศบนผ้าม่าน
ความหลงลืมอีกอย่างที่มักเกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมการเอาไว้ก่อนก็คือ การติดตั้งผ้าม่านเต็มช่องเปิด (ประตู- หน้าต่าง) แล้วลืมเผื่อช่อง สำหรับติดตั้ง พัดลมระบายอากาศ ทำให้เวลาจะเปิดพัดลมต้อง รูดม่านก่อน ลำบาก และไม่น่าดู …. ดังนั้นหากจะติดพัดลมระบายอากาศตรงไหน ตรวจดูก่อนว่า มีม่านหรือไม่ หากมี ก็ขอให้ออกแบบเตรียมไว้ก่อนด้วย

More...



Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.