| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 368 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!




 

108-1009 ปัญหาในการก่อสร้าง

 

"ร้อยพันปัญหางานก่อสร้าง" นี้ เป็นเอกสารที่รวบรวมขึ้นจากข้อเขียนของคุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ แก่คนทั่วไปโดยทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ สนับสนุนให้เผยแพร่ ต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มีสาระ ประโยชน์ โดยได้จัดแบ่งเป็นหมวด เป็นหมู่ ครึ่งหนึ่งของปัญหา เป็นเรื่องเทคนิค ที่คนในวงการก่อสร้างเท่านั้น ที่จะสนใจ ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง เป็นปัญหาพื้น ๆ ที่คนนอกวงการ น่าจะรู้ไว้ ดังนั้น ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้ตามความสนใจของท่านครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท ์ A.S.A. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 248/1 ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 319-6555 โทรสาร 319-6149

รื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิกและการออบแบบ
  ค่าออกแบบ ….เขาคิดกันอย่างไร (จากเจ้าของโครงการ) ?
ตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ แบ่งประเภทการบริการออกแบบสถาปัตยกรรม ไว้เป็น 6 ประเภท แต่ละประเภทจะมีค่าบริการไม่เท่ากัน และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามงบประมาณ ที่ก่อสร้าง โดยแยกออกโดยสังเขปดังนี้ :
  • ประเภทที่ 1 = ตกแต่งภายใจ, ครุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์
  • ประเภทที่ 2 = พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตร
  • ประเภทที่ 3 = บ้าน (ไม่รวมตกแต่งภายใน)
  • ประเภทที่ 4 = โรงพยาบาล รัฐสภา โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย
  • ประเภทที่ 5 = สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงอุตสาหกรรม
  • ประเภทที่ 6 = โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
โดยแต่ละประเภทแยกค่าบริการตามงบประมาณได้ดังต่อไปนี้ (เป็นร้อยละ)

ประเภท ไม่เกิน10 ล้าน 10 ล้าน-30 ล้าน 30 ล้าน- 50 ล้าน 50 ล้าน-100 ล้าน 100 ล้าน- 200 ล้าน 200 ล้าน-500 ล้าน
1 10.00 7.75 6.50 6.00 5.25 4.50
2 8.50 6.75 5.75 5.50 4.75 4.25
3 7.50 6.00 5.25 5.00 4.50 4.00
4 6.50 5.50 4.75 4.50 4.25 3.75
5 5.50 4.75 4.50 4.25 4.00 3.50
6 4.50 4.25 4.00 3.75 3.50 3.25

ในการคำนวณค่าบริการ ใช้คิดเป็นขั้นตอนของงบประมาณ เช่นอาคารคอนโดมิเนียม มีงบประมาณ 35,000,000 บาท คิดค่าแบบตามประเภทที่ 4 ดังนี้ :
10 ล้านบาทแรก คิด 6.50 % = 650,000 บาท  
20 ล้านบาทแรก คิด 5.50 % = 1,100,000 บาท  
5 ล้านบาทแรก คิด 4.75 % = 237,000 บาท  
รวมค่าบริการทั้งหมด = 1,987500 บาท ( = 5.60 % )

  ค่าออกแบบ ….เขาแบ่งกันอย่างไร (ระหว่างสถาปนิกและวิศวกร) ?
ค่าบริการของสถาปนิกเมื่อได้รับมาจากเจ้าของงานแล้ว จำเป็นที่ต้องแบ่งให้บรรดาวิศวกรต่าง ๆ ที่เข้ามา ร่วมงาน (ไม่เช่นนั้นวิศวกรคงไม่ยอมทำงาน) ซึ่งจะจัดการแบ่งตามวิธีการดังนี้ :

1. เมื่อรับเงินมาสามารถหักค่าใช้จ่ายบางประเภทออกก่อนคือ
    - ค่าประสานงาน (หักไม่เกิน 10%)

    - ค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ (ไม่เกิน 15%)
2. เหลือเงินจากข้างต้นเมื่อไรจะแบ่งกัน โดยแยกประเภทของโครงการเป็น 4 ประเภท คือ
    - ประเภทที่ 1 = บ้าน - ประเภทที่ 2 = อาคารชุด สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน - ประเภทที่ 3 = โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ สนามกีฬาในร่ม- ประเภทที่ 4 = โรงงาน โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
ประเภทของงาน/คน 1 2 3 4
สถาปนิก 65% 60% 55% 50%
วิศวกรโครงสร้าง 20% 20% 22% 26%
วิศวกรสุขาภิบาล 5% 5% 6% 6%
วิศวกรไฟฟ้า 10% 10% 11% 11%
วิศวกรเครื่องกล 0 5% 6% 6%

รายละเอียดเพิ่ม สอบถามได้ที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ …ทันที 

  หากคุณมีปัญหากับสถาปนิก และวิศวกร คุณจะทำอย่างไรดี
ปัญหาที่เกิดขึ้นหากคุณคิดว่าเป็นความบกพร่องในหน้าที่ จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ หรือความสามารถ (ไม่ใช่ เรื่องความสวยความงาม) ที่ไม่อาจตกลงกันได้อีกต่อไปแล้ว และคุณก็ไม่รู้ จะหันหน้าไปพึ่งใคร ขอแนะนำ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ :
1. ร้องทุกข์หรือขอคำปรึกษาจาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นขั้นตอนแรกที่ง่ายที่สุด ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
2. หากขั้นตอนแรกไม่เป็นที่พอใจ หรือหาข้อยุติไม่ได้ ก็ทำเอกสารเป็นทางการ ร้องทุกข์ไปยัง คณะกรรมการ ควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม ( กส.) หรือ คณะกรรมการควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม ( กว.) กระทรวงมหาดไทย
3. หากยังตกลงกันไม่ได้ หรือยังไม่เป็นที่พอใจก็ฟ้องศาลสถิตยุติธรรมเลยครับ

  วิธีโกงค่าแบบสถาปนิก (เรียกมาทำงานฟรี) ทำได้กี่วิธี ?
ออกจะเป็นเรื่องน่าเศร้าที่จะบอกว่า ไม่มีสถาปนิกคนไหนในประเทศไทยที่ไม่เคยโดนโกง ค่าบริการ (ภาษาแสลง เขาเรียกว่า "โดนชักดาบค่าแบบ") หากท่านเป็นคนหนึ่ง ที่อยากจะใช้งานสถาปนิกฟรี ๆ ขอแนะนำดังต่อไปนี้ :
1. โทรศัพท์นัดให้สถาปนิกมาหาท่าน แล้วให้เขาออกความคิดเห็น ให้การบ้านเขากลับไปทำทันที อย่ารั้งรอ (อย่าไปหาเขา ที่สำนักงาน เพราะเขาจะคิดว่า ท่านกระจอก)
2. อย่ารอให้เขาถามเรื่องค่าออกแบบ แต่ท่านต้องรีบถามก่อนว่า ค่าแบบเขาคิดอย่างไร แต่อย่าให้คำตอบ อ้างว่าต้องไปปรึกษาคณะกรรมการก่อน (แล้วทำเสียงว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหา) หากเป็นบ้านพักอาศัย ก็บอกว่าจะไปบอกภรรยา (หรือสามี หรือคุณพ่อคุณแม่) ก่อน
3. หากเป็นโครงการใหญ่ และสถาปนิกที่จะหลอกก็ใหญ่ด้วย ก็บอกเขาว่า เคยให้สถาปนิกจับงานมาแล้ว มีปัญหา… หากสถาปนิกที่ท่านจะหลอก เป็นสถาปนิกเล็ก ก็บอกว่าเคยให้สถาปนิกใหญ่มาแล้ว แต่รำคาญ เพราะไม่ค่อยมีเวลาให้ แล้วฝีมือก็ไม่ดีกว่าตรงไหนเลย
4. เพื่อให้ดูเหมือนจริง ในการติดต่อกับสถาปนิกต้องขอต่อรองค่าออกแบบบ้างนิดหน่อย (ห้ามต่อรองมาก เดี๋ยวเขาจะหนีไป)
5. ห้ามเซ็นชื่อหรือลงนามใด ๆ ทั้งสิ้น (แจกนามบัตรได้)
6. พยายามเอ่ยชื่อคนโน้นคนนี้ในวงการก่อสร้าง (อย่าขี้คุยมากเดี๋ยวเขาจับได้)
7. ถ้าแบบเขาเป็นที่พอใจเมื่อไร ก็พยายามบ่ายเบี่ยงเลิกรา โดยวิธีการต่อค่าแบบ หรือบอกติดปัญหา ในบริษัท- ปัญหาทางบ้าน หรือบอกว่าไม่ชอบแบบ ฯลฯ แล้วเอาแบบความคิดนั้น ไปจ้างคนอื่นเขียน เป็นแบบก่อสร้าง ในราคาถูก ๆ
8. หากต้องการแบบนั้นไป เพื่อวางโครงการกู้เงินกับธนาคาร ถ้าเขาทวงค่าแบบ ก็บอกว่า รอธนาคาร อนุมัติอยู่… เขาจะอายและไม่กล้าทวงไปเอง
9. ต้องพยายามจดจำแบบของเขาให้ได้ พยายามศึกษาและทำความเข้าใจ และพร้อมที่จะโต้ตอบ พูดคุย เรื่องแบบได้ตลอดเวลา
10. สถาปนิกมักชอบแสดงความหรูหรารสนิยมสูง พยายามเอาใจเขา เรื่อนี้ เพื่อจะได้หลอกใช้ไว้นาน ๆ
11. ห้ามพูดหรือไถ่ถามถึงเรื่องทีมงานวิศวกร ไม่เช่นนั้นท่านอาจจะเพิ่มศัตรู และความปวดหัวได้ (สัญชาตญาน ของวิศวกร กับสถาปนิกไม่เหมือนกัน)
12. หากไม่จำเป็นอย่าพยายามให้เขาเขียนแบบจริง แต่สนับสนุนให้เขาเขียนแบบร่างให้ เหมือนแบบจริง ดีกว่า เพราะเมื่อไรที่เขาเขียนแบบจริง เขาจะต้องเก็บเงินให้ได้ลูกเดียว และอาจเกิดปัญหาบ้าเลือด ฟ้องร้องคุณ ให้ปวดสมองได้
หากคุณทำได้ครบ 12 ข้อข้างต้น คุณจะต้องทำได้อีก 100 ทีเดียว…ขอให้คุณโชคดี

  สถาปนิก ต้องมีจรรยาบรรณอะไรบ้าง และแบ่งระดับชั้นกันอย่างไร?
1. ภาคีสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ …. ภ.) ยังถือว่าเป็นสถาปนิกที่ยังมีประสบการณ์น้อยอยู่ สามารถออกแบบ (เซ็นชื่อ ขออนุญาต) อาคารโรงงงานอุตสาหกรรมและห้องแถวได้โดยไม่จำกัด แต่หากเป็นอาคารสาธารณะ หรืออาคารทางวัฒนธรรม หรือบ้านและอาคารพักอาศัย จะออกแบบได้โตไม่เกินกว่า 1,000 ตารางเมตร …. แต่สำหรับงานอำนวยการก่อสร้าง (ควบคุมงาน) นั้น สามารถทำได้ทุกขนาดและทุกชนิด
2. สามัญสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ .… ส.) ถือว่าบารมีแก่กล้าพอแล้วสามารถออกแบบและอำนวยการ ก่อสร้าง ได้ทุกชนิดทุกขนาด โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ยังเป็นคณะกรรมการ ก.ส.ไม่ได้ (หากได้รับเชิญจากทางราชการ)
3. วุฒิสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ …. ว.) ถือว่ามีประสบการณ์สูงสุดทำอะไรต่ออะไรได้ทุกอย่างเหมือนกับสามัญสถาปนิก และสามารถเป็นกรรมการ ก.ส. ได้ด้วย

More...


Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.