| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 208 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!


 

108-1009 ปัญหาในการก่อสร้าง

 

"ร้อยพันปัญหางานก่อสร้าง" นี้ เป็นเอกสารที่รวบรวมขึ้นจากข้อเขียนของคุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ แก่คนทั่วไปโดยทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ สนับสนุนให้เผยแพร่ ต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มีสาระ ประโยชน์ โดยได้จัดแบ่งเป็นหมวด เป็นหมู่ ครึ่งหนึ่งของปัญหา เป็นเรื่องเทคนิค ที่คนในวงการก่อสร้างเท่านั้น ที่จะสนใจ ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง เป็นปัญหาพื้น ๆ ที่คนนอกวงการ น่าจะรู้ไว้ ดังนั้น ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้ตามความสนใจของท่านครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท ์ A.S.A. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 248/1 ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 319-6555 โทรสาร 319-6149

รื่องน่ารู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง
  หากคุณได้พิมพ์เขียวมา 1 ฉบับ และมีเวลา 10 นาที ทำอย่างไรจึงจะ (พอ) รู้ว่า แบบพิมพ์เขียวก่อสร้างในมือคุณนั้น…. มีมาตรฐานเพียงไร ?
เป็นปัญหาที่ท้าทายและหาเรื่องมาก ๆ ปัญหาหนึ่ง ในที่นี้สมมุติว่าคุณไม่ใช่สถาปนิก หรือวิศวกรเสียด้วย แต่ต้องการตรวจเช็คจริง ๆ ก็ลองตรวจเช็คดังนี้ :
1. ดูหัวกระดาษว่ามีชื่อสถาปนิกหรือวิศวกรหรือเปล่า
2. ตรวจเช็คดูว่าแบบมีครบทุกแบบหรือไม่ ทั้งแบบสถาปัตย์ แบบโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบสุขาภิบาล และไฟฟ้า
3. ตรวจเช็คในผังใหญ่รวมทั้งโครงการ ว่ามีการแสดงตำแหน่งของบ่อเกรอะ บ่อบำบัด ทางระบายน้ำ และบ่อพักน้ำหรือไม่
4. หากเป็นไปได้ (น่าเป็นไปได้) ตรวจดูว่าบ่อน้ำหรือบ่อเกรอะในผังสุขาภิบาลนั้น สามารถวางลงได้จริง กับแบบฐานราก (ติดฐานราก) ในแบบโครงสร้างหรือเปล่า (มักเกิดกับโครงการใหญ่ ๆ ที่คนทำงาน ไม่ประสานงานกัน)
5. หากเป็นอาคารสูง ดูว่าช่องเปิดหมายเลขเดียวกันด้านนอกอาคาร ชั้นล่าง ๆ กับชั้นที่เกินชั้น 15 ไป มีความหนาของกระจกเท่ากันหรือไม่
6. หากเป็นอาคารสูง ดูที่ช่องบันไดชั้น 3 เป็นต้นไป (บันไดอยู่ในอาคาร) มีช่องแสดงว่า เป็นช่องเครื่อง อัดอากาศ ครบทุกชั้นหรือไม่
7. ตรวจดูผังเสาของแบบทุกชนิด (สถาปัตย์ โครงสร้าง ไฟฟ้า สุขาภิบาล) ว่าตำแหน่งเสาในแบบ แต่ละชุดนั้น ตรงกันหรือไม่
8. หากรู้เรื่องกฎหมายการก่อสร้างบ้างลองตรวจเช็คดูเช่น ระยะถอยร่นทุกด้าน หรือ ช่องขนาด-จำนวน ช่องเปิด ของที่จอดรถ เป็นต้น
9. ตรวจเช็คในแบบสถาปัตยกรรมเรื่อง โครงสร้างที่อยู่บนพื้นดิน เช่น ถนน รั้ว ลานเทอเรส ฯลฯ มีรายละเอียด แสดงในแบบโครงสร้างหรือไม่ (ส่วนใหญ่มักจะลืม)
10. ดูความเรียบร้อยและการตั้งใจทำของแบบพิมพ์เขียว
หากมีการตรวจเช็คทั้ง 10 ข้อนี้ (ใน 10 นาที) แล้วพบว่าผิดไปเกินกว่า 5 ข้อ ก็ขอให้….ปลง ;


  5 M. (ห้าเอ็ม) คืออะไรในวงการก่อสร้าง ?
หากท่านมีปัญหาในการก่อสร้าง มีทฤษฎีเก่าแก่อันหนึ่งที่ใช้กันมานมนานซึ่งอาจจะช่วยท่าน ในการ หาสาเหตุที่มา (เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกจุด) ทฤษฎีอันนั้นก็คือ "5 M." (บางคนบอกว่ามี 4 ก็ไม่ผิด) คือ : 1. MAN 2. MONEY 3. MACHINE 4. MATERIAL 5. MANAGEMENT หากดูปัญหาว่ามีปัญหาที่จุดใด แล้วแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างจริงใจ …มันอาจช่วยคุณได้

  ควบคุมการก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารใหญ่ จุดไหนบ้างไม่ให้โครงการล่าช้า ?
ในการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูง มีงาน (Activity) มากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง งานทุกงาน จะต้อง สอดประสานกัน เป็นอย่างดี งานโครงการจึงไม่ล่าช้าออกไป …. ก็เพราะว่ามีงานหลายงาน เข้ามาเกี่ยวข้อง หากวางแผนงาน หรือมองงานไม่ทะลุ เร่งงานในจุดที่ไม่สำคัญ ก็จะทำให้โครงการก่อสร้างนั้น ล่าช้า ออกไปอีก แต่ถ้าท่านไม่ค่อยรู้เรื่อง การวางแผน หรือไม่มีเวลาจริง ๆ ขอแนะนำให้ที่มองจุดสำคัญ 3 จุดดังนี้ : 1. ระยะเริ่มโครงการ ให้มองที่จำนวนคอนกรีตที่ใช้ยังไม่ต้องสนใจอย่างอื่นมาก ตรวจเช็คว่า ใช้คอนกรีตไปตามแผนหรือไม่ 2. ระยะกลางโครงการ มองที่จำนวนพื้นที่ผนังว่าดำเนินการไปตามแผนหรือไม่ เนื่องจากงานผนัง จะเป็นตัวชี้นำ ให้งานระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งให้ทัน ตรวจเช็คด้วยจำนวนตารางเมตร หรือจำนวนชั้นของอาคาร 3. ระยะสุดท้ายโครงการ มองที่ระบบตกแต่งพื้นว่าติดงานอะไร หรือทำได้ตามแผนที่วางไว้ หรือไม่ ( วัดเป็นตารางเมตร) เพราะพื้น จะเป็นงาน หลังสุด ที่โครงสร้าง - ผนัง - ฝ้าเพดาน - ไฟฟ้า - สุขาภิบาล - ลิฟท์ จะต้องเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ "คน" ….การวางแผนใดก็ดีอย่าลืม "คน" เป็นอันขาด

  การทำ Cost Control คืออะไร ?
การทำ Cost Control คือการควบคุมงบประมาณให้ "ใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด และเป็นไปตามที่วางแผนเอาไว้" ไม่ใช่แปลว่า "การลดราคา" ดังนั้นหัวใจของการทำ Cost Control คือ การวางแผน งบประมาณ ให้ถูกต้อง แต่แรก หากเมื่อเกิดปัญหาแล้วต้องหาสาเหตุให้พบก่อน หากสาเหตุ มาจากการตั้งงบประมาณผิดแต่แรก ถึงจะหันมาทำ Cost Saving หั่นราคาลงไปให้ได้ (ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องสูญเสียอะไรบางอย่าง ไปเป็นการ แลกเปลี่ยน) การทำ Cost Control มีข้อคิดที่น่าสนใจ ในการทำงานหลายข้อ (เฉพาะตัวอย่าง เท่านั้น ให้เขียนทั้งหมดต้องร่วม 200 หน้า) 1. ต้องทำงบประมาณตอนเริ่มต้นอย่างดีที่สุด อย่าหมายน้ำบ่อหน้า อย่าเสี่ยง หรือตั้งงบประมาณถูก ๆ เพื่อให้เจ้าของงาน ตัดสินใจลงทุน (แล้วเลิกภายหลัง) 2. หากตั้งงบประมาณ (Estimate Budgeting) ไม่เป็น อย่าอายที่จะถามผู้รู้ หรือเสียดายเงิน จ้างที่ปรึกษา เพราะนอกจาก เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ ที่วิเศษด้วย … และต้องเชื่อเขานะ… อย่าดื้อเงียบ 3. การทำ Cost Control อย่าทำเป็นจุด ๆ ต้องคิดอะไรทั้งระบบ เช่น ระบบเสาเข็ม ต้องคิดถึงฐานราก- ขุดดิน- Sheet Pile- ถมดิน …. หากคิดถึงระบบปูพื้นผิว ต้องคิดถึงการเตรียมพื้นผิว- วัสดุปูพื้น- การขัด- การเคลือบผิว- การบำรุงรักษา ในขณะยังก่อสร้างไม่เสร็จ …. หากคิดถึงระบบผนัง ต้องคิดถึงน้ำหนัก- การติดตั้ง- การทำพื้นผิว- กำลังคน เป็นต้น 4. ก่อนการทำ Cost Control หากเป็นไปได้น่าจะตรวจเช็คความเป็นไปได้ของโครงการเสียก่อน (Feasibility Study) หากโครงการเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่น่าจะเสียเวลาทำ Cost Control 5. ศึกษาก่อนและมองการณ์ไกลเสมอว่า ณ เวลาที่ทำการก่อสร้างนั้น อะไรกำลังจะเกิดขึ้น วัสดุอุปกรณ์ อะไรจะขาด แรงงานเป็นอย่างไร เพราะเวลาที่ทำ Cost Control ครั้งแรก ๆ อาจจะห่างจากระยะเวลา ที่ทำงานจริง ตั้งหลายเดือน (หรือเป็นปี) 6.การทำ Cost Control ที่ดี จะต้องมองที่วิธีการทำงาน หรือแนวทางการทำงาน (รวมถึงการใช้เครื่อง จักรกล) มากกว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 7. อย่าหมายมั่นหรือมั่นใจนักกับความสามารถของคนที่จะมาทำการก่อสร้างรวมถึงเครื่องจักร ที่อาจจะ ยังหาคนใช้เป็นยาก Cost Control เป็นเรื่องที่น่าสนุก แต่มักไม่ค่อยมีใครกล้าประกาศตัวทำจริง ๆ เพราะเป็นมุมอับเล็ก ๆ ที่สถาปนิก ไม่กล้าเปิดเผย ว่าตัวเองไม่รู้เรื่อง ทั้งที่ไม่มีใครน่าจะรู้ดี มากกว่าสถาปนิก (เพราะคุณเป็นคน จับโครงการคนแรก) ข้อคิดข้อสุดท้าย สำหรับคนที่คิดจะจับงาน Cost Control คือ…. หากคุณคิดราคา ค่าก่อสร้างไม่เป็น (Estimate ไม่เป็น) แล้วไม่เคยทำงานหน้า Site ในหน่วยงาน แถมที่สำคัญ.. เกิดมา ไม่เคยล้มเหลว ผิดพลาดเรื่อง Cost เลย ขอแนะนำด้วยความหวังดีว่า …. วินาทีนี้ คุณอย่าเพิ่งทำ Cost Control เลย

  ราคาอาคารเปลี่ยนแปลงตามความสูงได้อย่างไร?
เป็นปัญหาที่หลายคนตอบไม่ค่อยได้ หรือหากตอบได้ก็ไม่ค่อยกระจ่าง เพราะความสูงกับราคาของอาคาร มักเป็นสิ่ง ไม่ค่อยตายตัว แต่หากจำเป็น ที่ต้องสรุปออกมา ก็อาจสรุปได้ว่า …. หากอาคาร ที่มีลักษณะ คล้ายกัน และมีพื้นที่อาคาร (Construction Area) เท่า ๆ กัน …. ราคาน่าจะแตกต่าง จากถูกที่สุด ไปหา แพงที่สุด ดังนี้ : 1. อาคาร 2-5 ชั้นถูกที่สุด เพราะระบบโครงสร้างเป็นระบบง่าย ๆ ธรรมดา พื้นที่หลังคา กับระบบสุขาภิบาล สามารถรวมกัน เป็นเพียง 1-2 ชุดก็เพียงพอ เพราะสามารถรวมกันทางตั้ง และระยะ ลาดเอียงได้ง่าย 2. อาคารชั้นเดียวแพงกว่าบ้านหลายชั้น เพราะอาคารชั้นเดียวจะมีหลังคาใหญ่กว่าอาคารหลายชั้น เมื่อเปรียบเทียบ กับพื้นที่อาคาร แต่บ้านชั้นเดียว อาจได้เปรียบว่า ไม่จำเป็นต้องมีบันได อาจทำให้อัตราส่วน ของพื้นที่ ประโยชน์ใช้สอย (Functional Area) มีมากกว่าอาคารหลายชั้นได้ 3. อาคาร 5-10 ชั้นแพงมากขึ้น เนื่องเพราะเริ่มเป็นอาคารสูงแล้ว ระบบโครงสร้างเปลี่ยนไป (เช่นแรงลม เข้ามากระทบมากขึ้น จาก 80 Kg/sqm. มาเป็น 120 Kg/sqm.) ต้องมีถังน้ำบนหลังคา ต้องมีลิฟท์ ระบบอัดอากาศ ในบันได ต้องมีบันไดหนีไฟ อาจจะต้องมีหม้อแปลงไฟฟ้า การก่อสร้าง ต้องการความระมัดระวัง มากขึ้น เป็นต้น 4. อาคาร 10-20 ชั้นแพงขึ้นอีก เพราะว่าตอนนี้กลายเป็นอาคารสูงเต็มรูปแบบ แรงลม ซึ่งเป็นปัจจัย สำคัญ วิ่งเข้าปะทะเป็น 150-160 Kg/sqm. การก่อสร้างยากขึ้น เริ่มสร้างปัญหา กับบ้านข้างเคียง ต้องใช้อุปกรณ์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ ในการทำงาน 5. อาคาร 20-30 ชั้นแพงขึ้นอีก ถูกจำกัดเรืองความสามารถ ของผู้ก่อสร้างแล้ว อุปกรณ์การก่อสร้าง มากขึ้น เสาเข็มที่เคยใช้ เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process) ซึ่งรับน้ำหนัก ได้ประมาณ 120 ตัน/ต้น ก็ใช้ไม่ได้แล้ว (เพราะต้องใช้มากเกินขนาดของฐานราก) ต้องใช้ เสาเข็ม เจาะเปียก (Wet Process) แทน การก่อสร้างยากขึ้นเป็นลำดับ ใช้เวลาก่อสร้างนาน ราคาวัสดุ- แรงงานเปลี่ยนแปลง อัตราเสี่ยงสูง ปัญหารอบด้าน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาของคน) จะมีมากขึ้นและเป็นปัญหาใหญ่ 6. อาคารสูงกว่า 30 ชั้น … นับในขณะนี้เรียกได้ว่าเป็นอาคารพิเศษแล้ว ทุกฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้บริหารการก่อสร้าง ผู้ส่งวัสดุอุปกรณ์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้องมีความสามารถ พิเศษทุกคน การขออนุญาตก่อสร้าง กับทางราชการยากขึ้น จำนวนที่จอดรถ ภายในอาคาร อาจต้องการ เกินกว่า 10 ชั้น ทำให้ต้องย้ายไปอยู่ใต้ดินบางส่วน หรือเพิ่มอุปกรณ์ พิเศษ เข้าไป 7. อาคารใต้ดิน นับเป็นอาคารที่แพงที่สุด เพราะต้องใช้วิทยาการเข้าไปต่อสู้กับธรรมชาติมากที่สุด ยิ่งสร้างลึกเท่าไร ราคาก็จะยิ่งแพงขึ้นเท่านั้น …ทั้งหมดนี้เป็นการคาดการณ์ แต่น่าจะมีความเชื่อถือได้ไม่น้อยกว่า 70%

More...


Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.