| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 48 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!


 

108-1009 ปัญหาในการก่อสร้าง

 

"ร้อยพันปัญหางานก่อสร้าง" นี้ เป็นเอกสารที่รวบรวมขึ้นจากข้อเขียนของคุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ แก่คนทั่วไปโดยทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ สนับสนุนให้เผยแพร่ ต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มีสาระ ประโยชน์ โดยได้จัดแบ่งเป็นหมวด เป็นหมู่ ครึ่งหนึ่งของปัญหา เป็นเรื่องเทคนิค ที่คนในวงการก่อสร้างเท่านั้น ที่จะสนใจ ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง เป็นปัญหาพื้น ๆ ที่คนนอกวงการ น่าจะรู้ไว้ ดังนั้น ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้ตามความสนใจของท่านครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท ์ A.S.A. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 248/1 ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 319-6555 โทรสาร 319-6149

รื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานระบบปรับอากาศ
  แอร์มีกี่ชนิด กี่แบบ และต่างกันอย่างไร
มีคำถามว่า แล้วเจ้าเครื่องปรับอากาศที่เราใช้อยู่ในบ้านเรานี้มีกี่อย่าง กี่ชนิด กี่ระบบ ก็ขอแยกย่อย โดยสังเขป แบบชาวบ้าน ได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. แบบติดหน้าต่าง ( Window Type) เป็นแบบที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในกล่อง ๆ เดียว และติดแขวนไว้ที่ ช่องหน้าต่าง หรือผนังห้อง เป่าลมเย็นเข้าห้อง โผล่ก้น ออกมาระบายความร้อน มีขนาด 8,000 - 30,000 BTU. หรือภาษาชาวบ้านคือ .7-.25 ตัน (ใหญ่กว่านี้ทำไม่ได้ เพราะเครื่องจะใหญ่ และหนักเกินไป ติดตั้งแล้ว ช่องหน้าต่าง หรือผนัง จะรับน้ำหนักไม่ไหว) กินไฟค่อนข้างมาก และมีเสียงดังกว่าทุกระบบ แต่สะดวกในการติดตั้ง สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้งรวดเร็ว
2. แบบแยกส่วน (Split Type) เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แยกส่วนที่เป่าลมเย็น ออกจาก ตัวเครื่องระบายความร้อน ขนาดตั้งแต่ 1-50 ตัน (ขนาด 1-3 ตัน มักไม่มีการ ต่อท่อลม ไปจ่ายหลาย ๆ จุด แต่หากมากกว่านั้น อาจมีการต่อท่อลม ออกจากส่วนเป่าลม ไปจ่ายหลาย ๆ จุด) แอร์ระบบแยกส่วนนี้ ดีตรงที่ ไม่ค่อยมีเสียงดัง (เพราะเครื่องระบายความร้อน โดนแยกออกไปวางไว้ที่อื่น) แต่จะยุ่งยาก ในการติดตั้ง มากกว่า ระบบติดหน้าต่าง เพราะต้องคำนึงถึง การเดินท่อระหว่างเครื่อง ที่แยกส่วน…. ที่สำคัญอย่าลืม ท่อระบายน้ำ จากที่เป่าลมเย็น ( Fan Coil )  ไปทิ้งด้วย
3. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น (Water Chiller) ซึ่งใช้น้ำเป็นตัวกลางในการผลิตความเย็น ใช้สำหรับ อาคารใหญ่ ๆ มีขนาดตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป มีความยุ่งยากในการติดตั้ง แต่จะกินไฟ น้อยกว่าชนิดอื่น ๆ ….สถาปนิก และวิศวกรโครงสร้าง ผู้ออกแบบแต่เริ่มต้น กรุณาอย่าลืม ที่จะจัดเตรียมห้องเครื่อง และโครงสร้าง ที่แข็งแรงเพียงพอ เพื่อวางระบบนี้ด้วยนะครับ (โดยการปรึกษา กับวิศวกรเครื่องกล) สำหรับแอร์ระบบ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า Central Air นั้น ส่วนใหญ่ จะหมายถึงแอร์ระบบสุดท้าย เพราะมี จุดเครื่องระบายความร้อนจุดเดียว แต่ส่งผ่านไปหลายจุด ทั่วทั้งอาคาร แต่บางครั้งแอร์ระบบ Split Type ใหญ่ ๆ ที่ส่งลมเย็นไปได้หลาย ๆ จุด ก็อาจจะเรียกว่าเป็น Central Air ได้เหมือนกัน 

  ห้องปรับอากาศระบบท่อลม จะเย็นสบาย….ระวังติดคาน ?
หลายคนอ่านคำถามแล้วก็คงไม่รู้เรื่อง (ซึ่งก็ไม่น่าจะรู้เรื่อง) ว่าหมายถึงอะไร ….ก็ขอแปลเลยว่า ระบบปรับอากาศ ที่ต้องมีท่อลม วิ่งออกจากตัวเครื่อง เพื่อจ่ายลมเย็น ท่อลมโดยทั่วไป มีขนาดลึกประมาณ 40 เซนติเมตร หากฝ้าเพดานของคุณ มีคานรับพื้นชั้นบนขวางอยู่ เจ้าท่อลมนี้ ก็ไม่สามารถ จะผ่านเข้าไปได้ อาจต้อง มีการเจาะคาน (ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องโต ยุ่งยาก และอาจทำให้ อาคารคุณ วิบัติได้ง่าย ๆ) หรือหยุดท่อลมไว้ เพียงแนวคานเท่านั้น ดังนั้นการออกแบบ ระบบปรับอากาศ ขอให้คำนึง ตั้งแต่ เริ่มต้นการออกแบบ สถาปัตยกรรม และแบบโครงสร้าง อย่าปล่อยให้ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นภายหลัง ตามที่เล่ามา หากพูดให้ลึกเข้าไปอีกนิดว่า นอกจากท่อลมแอร์แล้วเราต้องเตรียมพื้นที่ใต้แผ่นฝ้าเพดาน ไว้สำหรับ อะไรอีก ก็อาจสรุปโดยรวมได้ดังนี้
1. อย่าลืมท่อน้ำ
2. อย่าลืมท่อไฟ (และที่ว่างสำหรับหลอดไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดวงโคมทรงกระบอก ที่ฝังในฝ้า หรือ Down light)
3. อย่าลืมท่อลมปรับอากาศ และระบบปรับอากาศเกี่ยวเนื่อง
4. อย่าลืมท่อลมระบายอากาศ (หากมี)
5. อย่าลืมความหนาของระบบฝ้าเพดาน
6. อย่าลืม ….อย่าลืม ….อย่าลืม

  ใช้เครื่องปรับอากาศให้คุ้ม และถูกวิธี
เจ้าระบบปรับอากาศกลายเป็นสิ่งที่สำคัญไปแล้วในชีวิตเราปัจจุบัน แต่หลายคน อาจยังเข้าใจผิด ใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นเพียง "เครื่องทำความเย็น" ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดหน้าที่ เพราะอาจจะเป็นอันตราย ต่อสุขภาพได้ เพราะการจัดวาง จัดเตรียม ระบบปรับอากาศที่ดี จะต้องประกอบด้วย หน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เพื่อลดอุณหภูมิ
2. ควบคุมความชื้น ไม่ให้แห้งเกินไป (ผิวแตก) หรือ ชื้นเกินไป (เหนอะหนะ)
3. ให้อากาศในห้องเคลื่อนไหว (ทำให้รู้สึกสบายไม่อึดอัด)
4. ทำให้อากาศสะอาด (ป้องกันฝุ่น และอาจช่วยฟอกอากาศบ้าง)
5. มีระบบระบายอากาศ (การถ่ายเทอากาศจากภายนอก)
หากใครใช้ระบบปรับอากาศครบ 5 ข้อข้างบน จึงจะทำให้ระบบปรับอากาศมีความสมบูรณ์ ดังนั้น ใครที่ติดแอร์อยู่ น่าจะสำรวจดูว่า เครื่องหรือระบบปรับอากาศของตนนั้น ทำงานครบทุกหน้าที่หรือไม่ ถ้าไม่ครบ ก็น่าจะปรับปรุงเสีย เพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน เช่นลืมพัดลมระบายอากาศหรือเปล่า เป็นต้น

  ติดตั้งระบบแอร์….อย่าลืมอะไร<
ระบบปรับอากาศเป็นระบบเครื่องกลในอาคารอีกระบบหนึ่งที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งจะต้องมีข้อผิดพลาด บกพร่อง เป็นธรรมดา แต่ที่พบปัญหาความหลงลืมของการติดตั้งและออกแบบระบบนี้บ่อย ๆ ก็คือ :
1. ระบบติดหน้าต่าง(Window Type) มักจะลืมดูความแข็งแรง ของผนังที่รับน้ำหนักเครื่อง และความสั่น สะเทือน ของเครื่องแอร์ทำ ให้กระจก หรือหน้าต่าง ที่อยู่ใกล้ๆ มีเสียงดังน่ารำคาญ
2. ระบบแยกส่วน(Split Type)มักจะลืมท่อระบายน้ำจากเครื่องเป่าลมเย็น(fan Coil) ว่าจะระบายไปทางไหน และหากเป็น เครื่องตั้งพื้นมักลืม(ตัว) เอาเฟอร์นิเจอร์ ไปวางปิดช่องหมุนเวียนอากาศ (Return Air) ทำให้เครื่องทำงานไม่สะดวก
3. ระบบเครื่องใหญ่ (Water Chiller) มักลืมพัดลมระบายอากาศ ช่องหมุนเวียนอากาศ (Return Air) และจัดเตรียมโครงสร้าง ที่แข็งแรงเพียงพอ สำหรับวางเครื่อง ลองหันไปดูแบบที่คุณออกแบบไว้ หรือระบบปรับอากาศรอบ ๆ ตัวคุณ หากมีข้อหลงลืมเหล่านี้ ก็น่าจะจัดการ แก้ไขได้แล้วครับ

  ติดตั้งเครื่องปรับอากาศอย่างมีมาตรฐาน น่าจะมีเบรคเกอร์ 2 จุด
หากที่บ้านหรือสำนักงานของคุณมีเครื่องปรับอากาศส่วนตัวแบบแยกส่วน (Split Type) ส่วนใหญ่จะมีสวิตช์ หรือที่ตัดไฟฟ้า (Load Braker) เพียงตัวเดียว อยู่บริเวณที่คุณใช้เปิดปิดระบบปรับอากาศนั้น …. หากเครื่องปรับอากาศของคุณเสีย คุณก็ให้ช่างเขามาซ่อมแซม ในขณะที่ช่างกำลังง่วนอยู่กับการซ่อมอยู่นั้น คุณ (หรือใครสักคน) เดินเข้ามาในห้องแล้วเปิดสวิตช์แอร์ !!!! ….แน่นอนอาจมีการฆาตกรรมเกิดขึ้น ความผิดพลาดดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น หากคุณ- ผู้ออกแบบ- ช่างติดตั้ง เตรียมระบบไฟฟ้า และเครื่องกลนี้ให้ได้มาตรฐานแต่แรก เนื่องจากตามมาตรฐานวิศวกรรมเขาบอกว่า "เครื่องจักรกลทั่วไปที่ใช้ไฟฟ้า ต้องมีสวิตช์หรือ Load Braker 2 ชุด ชุดแรกเป็นชุดที่บุคคลทั่วไปใช้ประจำวัน ส่วนชุดหลังไว้สำหรับผู้ซ่อมบำรุงใช้" แต่เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก หลายคนจะมองข้ามจุดนี้ไป บางคนคิดว่าสิ้นเปลือง หลายคน (แม้กระทั่ง วิศวกร หลายท่าน) บอกว่าเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตน … ท่านละครับคิดอย่างไร

More...


Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.